ผลการทำแท้งไม่ปลอดภัย

ผลการทำแท้งไม่ปลอดภัย

 

            การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย หมายถึง การทำแท้งโดยผู้ที่ไม่มีความชำนาญทางการแพทย์ ใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมหรือไม่สะอาด และการทำแท้งในอายุครรภ์ที่มากเกิน3 เดือน ยกเว้นกรณีที่ทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทำในสถานพยาบาลที่มีอุปกรณ์ครบครัน

 

ผลกระทบจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย

 

            เนื่องจากการทำแท้งในสังคมไทยส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสาเหตุนี้จึงต้องเสี่ยงชีวิตและสุขภาพกับการบริการทำแท้งที่ไม่แน่ชัดว่าแพทย์หรือใครเป็นผู้ทำให้และใช้วิธีการอะไร

 

            จากการสำรวจของกรมอนามัยพบว่าในปี 2542 มีผู้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐเนื่องมาจากการทำแท้งและการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยมากถึง 45,990 คน มีรายละเอียดดังนี้

 

            – อายุครรภ์เฉลี่ยทำแท้งคือประมาณ 13 สัปดาห์ (การทำแท้งภายใน 12 สัปดาห์แรกจะปลอดภัยมากที่สุด)

 

            – วิธีการทำแท้งที่ใช้ ได้แก่ การสอดอุปกรณ์ของแข็งหรือฉีดของเหลวเข้าทางช่องคลอด ซึ่งพบถึงร้อยละ 46.9

 

            – ร้อยละ 13.6 เป็นการเหน็บยาทางช่องคลอด

 

            – ร้อยละ 11.6 รับประทานยาเม็ด

 

            – และร้อยละ 11 บีบนวดบริเวณหน้าท้อง ซึ่งล้วนเป็นวิธีที่เสี่ยงต่ออันตรายและการติดเชื้อทั้งสิ้น

 

            – ร้อยละ 28.8 ของผู้ที่ทำแท้งมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้แก่ การติดเชื้อและมดลูกทะลุ

 

            – มีผู้เสียชีวิตจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยร้อยละ 0.3

 

            ข้อมูลนี้เรียกได้ว่าเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งเพราะยังไม่รวมข้อมูลจากสถานพยาบาลของเอกชน…อาการแทรกซ้อนเล็กน้อยที่ไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ตลอดจนข้อมูลการตายและการบาดเจ็บที่ไม่ได้ถูกจดนับว่ามาจากการทำแท้งที่ไม่ปลอด-ภัย สรุปได้ว่า จำนวนผู้หญิงที่ได้รับผลกระทบจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยมีมากกว่าที่เราศึกษารวบรวมได้ในปัจจุบัน

 

 

 

 

 

ที่มา : มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส)

 

 

Update:23-11-53

อัพเดทเนื้อหาโดย : ณัฏฐ์ ตุ้มภู่

Shares:
QR Code :
QR Code