‘ปิดช่องว่างบริการสุขภาพ’สร้างสุขภาวะดีผู้สูงอายุ

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์


 'ปิดช่องว่างบริการสุขภาพ'สร้างสุขภาวะดีผู้สูงอายุ thaihealth


แฟ้มภาพ


อีก 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ ถึงแม้ว่าระบบบริการสุขภาพและความคุ้มครองด้านหลักประกันสุขภาพของไทยจะครบถ้วน แต่ยังพบว่ามีความเหลื่อมล้ำและช่องว่างด้านการเข้าถึงบริการสุขภาพในผู้สูงอายุอยู่ไม่น้อย


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ร่วมมือกับกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารโลกสำนักงานประเทศไทย ศูนย์อนามัยที่ 9 กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย และสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทยได้จัดเวทีสัมมนา "ปิดช่องว่างการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของผู้สูงอายุ : ความเป็นธรรมทางสุขภาพและความครอบคลุมทางสังคมในประเทศไทย" ด้วยความมุ่งหวังว่า จะลดความเหลื่อมล้ำ และปิดช่องว่างในการเข้าถึงการรับบริการสุขภาพ ความคุ้มครองด้านหลักประกันสุขภาพ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิต และสุขภาวะที่ดีในผู้สูงอายุ


ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รักษาการผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส. กล่าวบนเวทีสัมมนาว่า ปัจจุบันมีผู้สูงอายุคิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 10 ล้านคน และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทยต้องพัฒนาระบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ในด้านสุขภาพและการส่ง 'ปิดช่องว่างบริการสุขภาพ'สร้างสุขภาวะดีผู้สูงอายุ thaihealthเสริมสุขภาพ การป้องกันและการรักษาโรคในผู้สูงอายุ รวมถึงการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุทุกช่วงวัยในระยะยาว


ดร.ประกาศิตกล่าวต่อว่า การพัฒนาด้านเศรษฐกิจหรือการสร้างความมั่นคงทางรายได้ก็จำเป็น แล้วยังมีด้านสังคม ไม่ว่าจะเป็นได้รับการคุ้มครองทางสังคม การเข้าถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตลอดจนการเข้าถึงกิจกรรมหรือเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้มีด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่เป็นภาระของสังคม การรองรับระบบสังคมผู้สูงอายุหรือผู้สูงวัยไม่ได้หมายถึงการพัฒนาเฉพาะระบบกลุ่มประชากรผู้สูงอายุเพียงเท่านั้น แต่หมายถึงการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมของประชากรไทยในทุกช่วงวัย เพื่อเข้าสู่วัยสูงอายุอย่างเหมาะสมและมีคุณภาพในอนาคต


"สสส.ที่มีภารกิจในการกระตุ้นสานเสริมพลัง ได้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนและพัฒนาภาคีเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในการสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกๆ ด้าน เพื่อให้สังคมและประชาชนไทยพร้อมรับมือสังคมสูงวัยที่จะมาถึงในอีกไม่ช้านี้" ดร.ประกาศิตกล่าว


ด้าน ดร.สุทยุต โอสรประสพ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนามนุษย์ ธนาคารโลก สำนักงานประเทศไทย ได้นำเสนอรายงาน "ปิดช่องว่างการเข้าถึงบริการทางสุขภาพของผู้สูงอายุ : ความเป็นธรรมทางสุขภาพและความครอบคลุมทางสังคมในประเทศไทย" ว่า ระบบประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบ คือ กองทุนประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบสวัสดิการราชการ ประกันสังคมของไทยมีความครบถ้วน แต่กลับมีช่องว่างในการเข้าถึงการบริการสุขภาพ โดยพบว่ายังมีความเหลื่อมล้ำในการใช้บริการด้านสุขภาพและความคุ้มครองด้านการเงิน ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจน และผู้สูงอายุวัยปลาย คือช่วงวัย 80 ปีขึ้นไป ซึ่งอาศัยอยู่ในชนบทโดยเฉพาะ


ดร.สุทยุตเสริมว่า ผู้สูงอายุที่เข้าไม่ถึงการบริการสุขภาพ ส่วนใหญ่เกิดจากรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายการเดินทาง 'ปิดช่องว่างบริการสุขภาพ'สร้างสุขภาวะดีผู้สูงอายุ thaihealth อีกทั้งไม่ได้รับการเอื้ออำนวยด้านการเดินทางจากบ้านไปยังสถานพยาบาล และไม่มีระบบขนส่งสาธารณะที่ดี สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอุปสรรคในการเข้าถึงการบริการสุขภาพ ทั้งที่จริงแล้วเป็นสวัสดิการสังคมที่ผู้สูงอายุควรได้รับการคุ้มครอง จากผลการศึกษาดังกล่าว ทำให้เกิดนโยบายทางเลือกเพื่อนำมาปรับใช้ให้ผู้สูงอายุเข้าถึงบริการสุขภาพ และลดภาระค่าใช้จ่ายที่สูงเกินความจำเป็น


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรให้ความสำคัญและส่งเสริมการเข้าถึงบริการสุขภาพ มีบริการรถฉุกเฉินชุมชนและพาหนะรับส่งผู้สูงอายุจากบ้านไปยังสถานพยาบาล รวมทั้งมีอาสาสมัครประจำหมู่บ้านที่สามารถช่วยเหลือผู้สูงอายุในเบื้องต้นได้ โดยผ่านการเยี่ยมเยือนตามบ้าน จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ออกกำลังกาย พร้อมให้ความรู้ด้านดูแลสุขภาพและป้องกันโรค


นอกจากนี้ การดูแลผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มคนยากจนควรได้รับความสำคัญเพื่อพัฒนาการให้บริการทางสุขภาพและสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับสำหรับผู้ที่ต้องการมากที่สุด อีกทั้งควรมีบริการเยี่ยมบ้านโดยเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ และเพิ่มมาตรการที่เอื้ออำนวยต่อการเดินทางของผู้สูงอายุที่ยากจนไปยังสถานพยาบาลอีกด้วย.


"มีช่องว่างในการเข้าถึงบริการสุขภาพ พบยังเหลื่อมล้ำใช้บริการด้านสุขภาพและความคุ้มครองด้านการเงิน ส่งผลกระทบต่อกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจน และผู้สูงอายุวัย 80 ปีขึ้นไปในชนบท…"

Shares:
QR Code :
QR Code