ปั้นนักวิทย์ฯป้อนชุมชนทะลุหมื่น!

ปั้นนักวิทย์ฯป้อนชุมชนทะลุหมื่น! ปั้นนักวิทย์ฯป้อนชุมชนทะลุหมื่น!

โครงการ (เชิง) วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า ปั้นเยาวชนนักวิทย์ เสริมทักษะ สร้างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ สู่ชุมชน  

นายชายกร สินธุสัยนายชายกร สินธุสัย นักวิชาการศูนย์พันธุ์วิศวกรรมและเทคโนโลยีแห่งชาติ (ไบโอเทค) ผู้จัดการโครงการ (เชิง) วิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาพที่ดีกว่า กล่าวว่า หลังจากที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และไบโอเทคร่วมกันพัฒนาบุคลากรด้านการศึกษาผ่านการทำกิจกรรมโครงงานวิทย์ฯ ตั้งแต่ช่วงกลางปี 50-ปัจจุบัน โครงการได้เดินสายไปจัดกิจกรรมในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พร้อมๆ กับการอบรมพัฒนาศักยภาพให้แก่ครูต้นแบบและนักเรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

รวมถึงการร่วมแก้ปัญหาให้กับชุมชนและพัฒนาคุณภาพชีวิตในหลายประเด็น อาทิ สิ่งแวดล้อม โภชนาการ สุขลักษณะในโรงเรียน การฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น ฯลฯ ทั้งนี้เกิดสถาบันการศึกษาร่วมเครือข่ายกว่า 250 โรง มีนักเรียนผู้ร่วมกิจกรรมมากกว่า 10,000 คน

นายชายกร สินธุสัย กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามสิ่งที่โครงการได้เน้นในช่วงระยะสุดท้ายนี้คือการที่กิจกรรมสามารถพัฒนาต่อไปได้เองแม้จะไม่มีการสนับสนุนจาก สสส. โดยอาจจะไปเชื่อมโยงกับกลไกอื่นๆ ที่มีอยู่ในชุมชน อาทิ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ให้ได้มากขึ้น

ปั้นนักวิทย์ฯป้อนชุมชนทะลุหมื่น!หลังจากกิจกรรมที่ผ่านมาได้สร้างองค์ความรู้และช่วยทบทวนสิ่งที่ขาดหายไปให้กลับมา เช่น โครงการเสื้อชูชีพจากผักตบชวาของโรงเรียนนครไทย จ.พิษณุโลก ที่ผนวกระหว่างแนวทางจำกัดขยะในชุมชนกับความคิดสร้างสรรค์เตรียมความพร้อมรับมือปัญหาอุทกภัย ซึ่งมีแนวโน้มจะนำไปสู่การพัฒนาโดยมีหน่วยงานในท้องถิ่นให้การสนับสนุน โครงการคอนโดเพาะถั่วงอกระบบหยดน้ำ ที่มีแรงขับเคลื่อนมาจากความต้องการของชุมชน ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากร้านค้าในโรงเรียนและในชุมชน

เราได้องค์ความรู้ที่หลากหลาย ที่ผ่านมาแม้โครงการฯ จะมีสาระด้านวิทยาศาสตร์เป็นตัวหลัก แต่ความสำคัญคือการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งแวดล้อม อาหาร สุขนิสัย เป็นต้น

นอกจากนี้ กิจกรรมจะไม่จำกัดเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น เพราะองค์ความรู้สามารถเชื่อมโยงไปถึงเรื่องอื่นๆ ได้ เหมือนตอนที่เราอบรมครูในเรื่องการใช้สื่อคลิปวิดีโอทั่วๆ ไป เชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ หรือเข้าสู่กระบวนการฝกทักษะในด้านการทำความเข้าใจสังคม สุขภาวะทางปัญญาได้

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์บางกอกทูเดย์

Shares:
QR Code :
QR Code