“ปลุกสำนึกเยาวชน” ฟื้นชาติพันธุ์

ที่มา: เว็บไซต์ไทยพีอาร์ม


ภาพประกอบจากสำนักข่าวอิสรา


“ปลุกสำนึกเยาวชน” ฟื้นชาติพันธุ์ thaihealth


ปัจจัยในเรื่องภูมิหลังด้านประวัติศาสตร์ของชุมชนถือเป็นช่องทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การสืบค้นเรื่องราวต้นกำเนิดของบรรพบุรุษในสมัยอดีต โดยเฉพาะพื้นเพความเป็นมาด้านต่าง ๆ ทั้งเรื่องประเพณี วัฒนธรรม และการอนุรักษ์สืบสาน ซึ่งหลายพื้นที่มักหลงลืมไปตามกาลเวลา


เพราะเรื่องราวในอดีต มักขาดการส่งต่อสืบทอด หลายพื้นที่ไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องราวอันทรงคุณค่าของชุมชน แต่ก็มีไม่น้อยที่พยายามบันทึกเรื่องราวในอดีต หากขาดกระบวนการทำงานที่เป็นขั้นตอน…นั่นจึงทำให้บางเรื่องราวที่ควรจะส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นจึงขาดช่วงที่จังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) พบว่าการส่งต่อเรื่องราวในอดีตจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ใช่แค่การให้คนรุ่นใหม่ศึกษาเรื่องราวจากตำรา เพราะนั่นจะทำให้พวกเขาไม่เข้าใจ ไม่เห็นคุณค่า กระทั่งไม่ยากสืบทอด และรักษาหากแต่กระบวนการที่ศรีษะเกษใช้ปลุก "สำนึกพลเมือง" ของคนรุ่นใหม่ด้วยการจูงมือก้าวไปด้วยกันกับความเป็น "ชาติพันธุ์" ของตน


ทั้งนี้ รุ่งวิชิต คำงาม หัวหน้าโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ กล่าวว่า จังหวัดศรีสะเกษ มีกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กวย กูย ส่วย ลาว เขมร เยอ และไทย เป็นความลงตัวของการทำงานพัฒนาคน "เพราะทุกกลุ่มล้วนมีวิถีชีวิตที่ไม่แตกต่างกันมากนัก อันเนื่องมาจากปัจจัยหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป และนี่ก็เป็นเป็น "โจทย์" สำคัญต่อ "กระบวนการพัฒนาเยาวชน" ที่พี่เลี้ยง“ปลุกสำนึกเยาวชน” ฟื้นชาติพันธุ์ thaihealthโครงการต้องตระหนัก"


ทั้งนี้ โครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษ มีทีมพี่เลี้ยงโครงการฯ อีก 4 คน ได้แก่ นางปราณี ระงับภัย นายประมวล ดวงนิล นางสาวเบ็ญจมาภรณ์ แดนอินทร์ และนางสาวเพ็ญศรี ชิตบุตร ซึ่งแต่ละคนจะดูแลและเป็นพี่เลี้ยงรับผิดชอบโครงการของน้องๆเยาวชน แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเด็นที่ผ่านการคัดเลือกเข้ามา โดยแบ่งเป็น 3 ประเด็นได้แก่ ด้านสังคมวัฒนธรรม ด้านสัมมาอาชีพชุมชน และด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม


ซึ่งโจทย์การทำงานของทีมจะยึดถือการใช้ "องค์ความรู้" ในการทำโครงการเป็นหลัก เพื่อสร้างการเรียนรู้และซึมซับในความเป็นชาติพันธุ์ดั้งเดิมของตน ประจวบเหมาะกับพื้นที่ศรีสะเกษมีนัยยะในเรื่องวิถีชีวิตของชาติพันธุ์แต่ละกลุ่มที่ไม่แตกต่างกันมากนักไม่ว่าจะเป็น ภาษา วัฒนธรรม หรือการดำเนินชีวิต


ดังนั้นการเปิดพื้นที่และการสร้างโอกาสการเรียนรู้ร่วมกันของกลุ่มเยาวชนผ่านโครงการที่เขาคิดเอง ลงมือทำเองจากฐานความรู้ความเข้าใจในบริบทชุมชน โดยมีคำแนะนำจากปราชญ์ชาวบ้าน ผู้เฒ่าผู้แก่ รวมถึงพี่เลี้ยงโครงการที่ถ่ายทอดผ่าน "องค์ความรู้" ให้เกิดความกระจ่างชัด จึงเป็นเรื่องที่ทีมพี่เลี้ยงพึงตระหนัก รวมถึงการสอดแทรกสำนึกพลเมืองเข้าไปในการทำงานของเด็กและเยาวชนด้วย


โดยเชื่อว่า "กระบวนการ" ดังกล่าว จะนำไปสู่ "ความเข้าใจในความต่างระหว่างเขาและเรา" ซึ่งถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพเยาวชนในแต่ละพื้นที่ได้อย่างลงตัว เช่นเดียวกับทีมพี่เลี้ยงทั้ง 4 คน ที่แสดงความคิดเห็นว่า ความหลากหลายทางชาติพันธุ์คือ สิ่งที่ทีมต้องกลับมาทบทวนและขบคิด ถึงความคาบเกี่ยวเพราะเป็นประเด็นค่อนข้างอ่อนไหวสำหรับเด็กบางคน เพราะการสร้างการ"ยอมรับ" ในชาติพันธุ์ของคนรุ่นใหม่ที่บางคนมองว่าเป็นความ "คร่ำครึ" แม้จะไม่ได้เป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่ง่ายนักที่จะปลูกฝังให้เด็กรุ่นใหม่รักและหวงแหนในชาติพันธุ์ของตน นั่นหมายรวมไปถึงการ "ฟื้นฟู" ความเป็นชาติพันธุ์และการอนุรักษ์ความเป็นชาติพันธุ์ของตัวเองด้วย


ขณะเดียวกันบทบาทของการเป็นพี่เลี้ยง ยังต้องตีโจทย์ให้แตกโดยเฉพาะโครงการที่เป็นเรื่องนามธรรมเช่น เรื่องที่เกี่ยวโยงกับสังคมวัฒนธรรมที่เด็กและเยาวชนนำเสนอมา ซึ่งนอกจากจะต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาและการทำกิจกรรมกับชุมชนแล้ว ในฐานะพี่เลี้ยงจะต้องพาเด็กและเยาวชนให้เข้าถึง "สำนึกพลเมือง" ด้วยการเติมเต็ม"บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ" ซึ่งเป็นสิ่งที่พี่เลี้ยงพื้นที่ไม่ควรมองข้าม เพราะเยาวชนเปรียบเสมือนเป็น"ฐานกำลัง" สำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนชุมชนให้มีการจัดกระบวนการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต ซึ่งองค์ประกอบเหล่านี้จะนำไปสู่การยกระดับประชากรที่สมดุลได้ในที่สุด


อย่างไรก็ตาม แม้กระบวนการพัฒนาเยาวชนของโครงการพัฒนาเยาวชนพลเมืองดีศรีสะเกษเพิ่งเริ่มต้นในก้าวย่างของปีที่ 2 แต่ความเคลื่อนไหวของคนกลุ่มหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่า "พี่เลี้ยง" หรือ "โคช" ยังคงเดินหน้าสานต่องานแบบก้าวต่อก้าว เพื่อส่งต่อการทำงานให้กับเด็กและเยาวชนจากรุ่นสู่รุ่นในการพัฒนาท้องถิ่นที่เข้มแข็ง มากกว่าการจำแนกถึงความแตกต่างในเรื่องชาติพันธุ์.

Shares:
QR Code :
QR Code