ประเทศไทยจะรับมืออย่างไรกับแรงงานที่หายไป

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


ประเทศไทยจะรับมืออย่างไรกับแรงงานที่หายไป thaihealth


จัดสัมมนา หัวข้อ "ประเทศไทยจะรับมืออย่างไรกับแรงงานที่หายไป"


เมื่อวันศุกร์ที่ 19 ก.ค. ที่ผ่านมา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนา หัวข้อ "ประเทศไทยจะรับมืออย่างไรกับแรงงานที่หายไป" ร่วมกับ สถาบันนโยบาย สาธารณะและการพัฒนา โดยเชิญวิทยากรจากหน่วยงานวิจัยของดิอิโคโนมิสต์ (EIC) กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข   สสส. ร่วมนำเสนอข้อมูลและอภิปรายด้วย


วิทยากรจาก EIC คาดว่า คนในวัยทำงานของไทยจะลดลงไป 6 ล้านคน เหลือเพียง 37 ล้านคนในช่วง 20 ปี คือปี ค.ศ.2015 ถึง 2035 จึงเป็นประเด็นที่รัฐจะต้องพิจารณาว่า จะใช้มาตรการใดในการรับมือกับแรงงานที่ลดลง โดยมีทางเลือก 4 อย่างคือ การวางนโยบายเรื่องแรงงานอพยพ การดูแลสวัสดิการโดยเฉพาะการวางแผนเพื่อการเกษียณอายุ การเปลี่ยนแปลงผลิตภาพ เช่น การนำระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์มาช่วย และนโยบายเรื่องการศึกษาและการสร้างทักษะเพื่อรองรับลักษณะงานในอนาคต


จากการศึกษาของสถาบันนโยบายสาธารณะและการพัฒนา ซึ่งทำการสำรวจร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรอายุระหว่าง 19-49 ปี จำนวน 34.36 ล้านคน แต่งงานหรือมีคู่แล้ว 54% และเป็นโสด 39.09% โดยในกลุ่มที่แต่งงานแล้ว ครึ่งหนึ่งมีบุตร ในขณะที่อีกครึ่งหนึ่งไม่มีบุตร ในกลุ่มนี้มีคนที่ไม่ได้ทำงานประมาณ 7.6 ล้านคน โดย 20% เคยทำงานแต่หยุดทำ เพราะต้องดูแลบุตร หรือพ่อแม่ ฯลฯ จึงทำให้แรงงานไทยหายไปอีกส่วนหนึ่ง


จากการสำรวจบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ 119 บริษัท ซึ่งมีมูลค่า ตลาดรวม 41% ของมูลค่าตลาดรวม พบว่าบริษัทส่วนใหญ่วางแผนจะรับมือกับแรงงานที่จะลดลงไปด้วยการฝึกทักษะใหม่ ฝึกทักษะที่สูงขึ้น (reskill / upskill) ซึ่งวิทยากรกล่าวว่า ปัญหาคือการศึกษากับความต้องการของตลาดแรงงานไม่ตรงกัน และการฝึกทักษะใหม่ หรือฝึกทักษะที่สูงขึ้นนั้น ทำได้ไม่ง่าย


ทั้งนี้ ความรู้ด้านดิจิทัล หรือ Digital Literacy เป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับแรงงานในอนาคต และการเรียนไม่จำเป็นต้องเรียนเยอะ แต่จำเป็นต้องสอนให้รู้จักวิธีการเรียนรู้ ตรงกับงานวิจัยพนักงานที่เรียนรู้ในงานได้มากกว่า และดีกว่า จะสามารถยกระดับฐานะของตัวเองและของประเทศได้มากกว่า

Shares:
QR Code :
QR Code