ประชารัฐร่วมใจ พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง

ที่มา : เว็บไซต์แนวหน้า 


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


ประชารัฐร่วมใจ พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง thaihealth


แฟ้มภาพ


สถิติที่พบว่า ปัจจุบันคนไทยมีอายุยาวขึ้นและคนทั่วโลกส่วนใหญ่ก็มีอายุมากขึ้น น่าจะมาจากการที่มนุษย์รู้จักการนำเอาความรู้วิชาการเกี่ยวกับการรักษาดูแลสุขภาพ มาใช้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง


ดังจะเห็นได้ว่า แต่ก่อนคนเราจะดูแลสุขภาพ เมื่อมีปัญหาต้องแก้ไข แต่ปัจจุบันปัญหาของสุขภาพ หรือโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ได้


ตั้งรับที่จะแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดขึ้นเท่านั้น แต่มนุษย์ก้าวออกไปข้างหน้า แทนที่จะแก้เมื่อปัญหาเกิดกลับมีการส่งเสริมควบคุม ป้องกันก่อนจะเกิดเป็นปัญหา โดยกำหนดเป้าหมายให้กว้างขวางครอบคลุมมากขึ้น จากการรักษากลายเป็นส่งเสริม ป้องกัน และควบคุม ไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งถือว่าเป็นการทำงานเชิงรุกแทนที่จะตั้งรับอยู่กับที่เหมือนเก่าก่อน


ยิ่งโดยเฉพาะล่าสุด ภาครัฐได้มีการทำงานในรูปแบบของประชารัฐ ยิ่งทำให้ การทำงานของแต่ละภาคส่วนกลมกลืนกันอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ในส่วนของการทำงานแบบประชารัฐทางด้านสุขภาพอนามัย ได้มีความร่วมมือของ 4 หัวเรือใหญ่ คือ กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กระทรวงมหาดไทย สำนักหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการประชารัฐร่วมใจ พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง thaihealthสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่อง “คณะกรรมการบริหารระบบสุขภาพอำเภอ” ซึ่งเป็นกลไกการทำงานระดับอำเภอระหว่าง ผอ.โรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ และนายอำเภอ จาก 73 พื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมกันพัฒนาระบบสุขภาพในเขตเมือง โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง รวมเป็น ประชารัฐร่วมใจ พัฒนาบริการ ระบบสุขภาพภายในอำเภอ


“ประชารัฐร่วมใจ พัฒนาบริการ โดยระบบสุขภาพอำเภอ” คือก้าวสำคัญของการจัดระบบสุขภาพโดยเน้น “พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพให้ตรงตามสภาพพื้นที่ ในแต่ละท้องถิ่น ทั่วไทย


นพ.โสภณ เมฆธน ปลัด สธ. ประธานในพิธีเปิดโครงการดังกล่าว เปิดเผยว่า ปัจจุบันคำว่าสุขภาพมีความหมายที่กว้างขึ้น ทั้งกาย ใจ ปัญญา สังคม มีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพที่ดี ฉะนั้นเรื่องสุขภาพแค่หน่วยงานสาธารณสุขคงดูแลไม่พอ จำเป็นต้องมีระบบสุขภาพในระดับอำเภอ และคนที่จะดูแลได้ดีจะต้องเป็นคณะกรรมการจากหลายภาคส่วน ร่วมกันคิดร่วมกันดูแล และความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นจุดสำคัญที่ทุกภาคส่วนได้ดำเนินงานร่วมกัน โดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เข้าถึงระบบบริการสุขภาพอย่างเท่าเทียม ด้วยการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ประชาสังคม เอกชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งในระบบสุขภาพอำเภอ (DistrictsHealth System : DHS) ซึ่งจะมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและระบบสุขภาพอำเภอ ทำหน้าที่จัดการระบบสุขภาพอำเภอให้เหมาะสมกับความต้องการพื้นที่ รวมถึงจัดการทรัพยากรด้านบุคลากร เทคโนโลยี สารสนเทศ องค์ความรู้ และงบประมาณร่วมกัน ให้เป็นระบบบริการสุขภาพที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น โดยเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน


ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กล่าวถึงการสนับสนุนการดำเนินงานภายใต้โครงการนี้ ว่า ระบบสุขภาพหมายถึงการจะทำอย่างไรก็ได้ให้ประชาชนมีความสุข ซึ่งสอดคล้องกับการทำงานของ สสส. ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน และไม่ได้อยู่แค่การบริการสุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงการทำงานเชื่อมโยงกับภาคส่วนต่างๆ กับการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ของกระทรวงมหาดไทย ความเชื่อมโยงต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า ระบบสุขภาพอำเภอ เพราะพื้นที่ระดับอำเภอมีความลงตัวหลายอย่างที่ประชารัฐร่วมใจ พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง thaihealthพร้อมจะรองรับการดำเนินงานที่มีความหลายหลาก โดยเฉพาะทรัพยากรสาธารณสุขที่เข้มแข็ง สสส.ได้เห็นความสำคัญในการพัฒนาระบบในเชิงวิชาการมาก่อนและหนุนเสริมการสร้างต้นแบบการดูแลสุขภาพในอำเภอ ซึ่งกำลังขยายเครือข่ายไปทั่วประเทศ ขณะนี้ก็ได้มีส่วนสนับสนุนระบบสุขภาพอำเภอให้มีความเข้มแข็งและสามารถเป็นแกนนำได้ ส่วนการทำงานของอำเภอหากมีปัญหาในด้านที่ สสส.มีแผนงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัญหาการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคจากเหล้า บุหรี่ สุขภาพเด็กประถมวัยและสุขภาพผู้สูงอายุ เหล่านี้สสส. สามารถสนับสนุนทั้งด้านวิชาการและเครือข่ายเข้าไปช่วยหนุนเสริมการแก้ปัญหาต่างๆ ในเชิงระบบของคณะกรรมการบริหารระบบสุขภาพอำเภอได้ทันที


ขณะที่ นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผอ.สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ (สสส.) บอกว่า ประชาชนจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบสุขภาพอำเภอ เพราะทรัพยากรแต่ละพื้นที่มีข้อจำกัดแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นระบบสุขภาพอำเภอจะเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล ทั้งมิติเศรษฐกิจ มิติสังคม บริบทแต่ละพื้นที่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นเครื่องมือในการทำงานที่ง่ายขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด แต่สุดท้ายประชาชนก็ต้องเป็นผู้ร่วมดูแล อย่างทีมหมอครอบครัว ที่ สสส.ได้สนับสนุนทั้งองค์ความรู้ เครือข่ายและเงินทุน ก็สามารถนำไปเสริมระบบสุขภาพอำเภอได้


การทำงานให้ไปในทิศทางเดียวกัน ที่เรียกกว่า ประชารัฐจะเป็นทั้งการพัฒนาเชิงรุก การส่งเสริมและพยายามใช้ต้นทุนทางสังคมที่มีอยู่ โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ที่น่าจับตามองอย่างมากที่สุดในเวลานี้

Shares:
QR Code :
QR Code