ประกวดออกแบบสินค้าสุขภาวะ“SOOK Design Contest”

/data/content/26466/cms/e_bgnprty23689.jpg


          สสส.–สกส. ประกาศผลผู้ชนะ “SOOK Design Contest 2014” เวทีแชร์ไอเดียผลิตภัณฑ์สร้างเสริมสุขภาวะ ทีมนักศึกษาจาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คว้ารางวัลชนะเลิศ


          เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 ที่ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนันสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)    นางเบญจมาภรณ์  ลิมปิษเฐียร ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวว่า สสส. และสำนักงานสร้างเสริมกิจกรรมเพื่อสังคม (สกส.) จัดงานประกาศผลรางวัล “SOOK Design Contest 2014 ”  โดยเชิญชวนนิสิตนักศึกษาจากทุกสถาบัน ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์สร้างสุขภาวะที่เหมาะแก่การวางจำหน่ายใน “SOOK SHOP” ซึ่งเป็นร้านจำหน่ายสินค้าสุขภาวะสสส. ในหัวข้อ “Food Fit for Fun” โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศได้แก่ ทีม Ready to Eat จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับผลงาน “ผ้าเช็ดตัวสุขกาย”  ได้รับใบประกาศเกียรติคุณพร้อมเงินรางวัล 35,000 บาท


/data/content/26466/cms/e_abgimorvz178.jpg


          รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม F&F จากมหาวิทยาลัยมหิดล กับผลงาน “My Style Diary” ได้รับใบประกาศเกียรติคุณพร้อมเงินรางวัล 20,000


/data/content/26466/cms/e_cdhnrsuvw369.jpg


          รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ นางสาวโศภิษฐา ธัญประทีป จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับผลงาน “Eatvel” ได้รับใบประกาศเกียรติคุณพร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท


/data/content/26466/cms/e_abdlrsz13456.jpg


          ซึ่งผู้เข้าร่วมประกวดในโครงการฯกว่า 180 คน ได้เข้าอบรมความรู้ด้านสุขภาวะ ภาพลักษณ์และเป้าหมายของแบรนด์ SOOK โดยผู้เชี่ยวชาญจาก สสส. พร้อมทั้งอบรมด้านการออกแบบโดยวิทยากรจาก Teak Research และคัดเลือก 30 ทีม เพื่ออบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยวิทยากรจากสถาบันต่างๆ อาทิ ศูนย์นวัตกรรมด้านการออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


          นายอดิศร ศุภวัฒนกุล นักวิจัยด้านการออกแบบ บริษัท Teak Research คณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า  เกณฑ์การตัดสินผลงานนิสิตนักศึกษาในโครงการฯ คือ ต้องเหมาะสมในการวางจำหน่ายในร้าน “SOOK SHOP” ซึ่งเป็นศูนย์รวมสินค้าที่สร้างเสริมสุขภาวะ  มีแนวทางต่อยอดทางเทคโนโลยีและการตลาด ซึ่งโครงการฯนี้เป็นจุดเริ่มต้นในการเปิดมุมมอง นักออกแบบรุ่นใหม่ให้เห็นความสำคัญของสินค้า ที่ส่งเสริมสุขภาวะมากขึ้น


/data/content/26466/cms/e_bcdnqsvwxy45.jpg


          นางสาวพรกมล ประภาพรวรกุล หรือน้องฟ้า หนึ่งในสมาชิกทีม Ready to Eat ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ กล่าวว่า ผลงาน “ผ้าเช็ดตัวสุขกาย” ได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งใกล้ตัวอย่างผ้าเช็ดตัว ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวัดรอบเอวได้ เพื่อเป็นการเช็คสุขภาพด้วยตนเองอย่างง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน โดยมีมาตรวัดพิมพ์ลายบนผืนผ้า และทีมได้ออกแบบผ้าเช็ดตัวสำหรับเด็ก รวมถึงผ้าขาวม้าเพื่อวัดรอบเอวด้วย จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว สำหรับวิธีการใช้งาน เริ่มจากพันผ้าเช็ดตัวรอบตัวที่ระดับสะดือ โดยให้ปลายผ้าเช็ดตัว ด้านที่เป็นเลขศูนย์ หรือมีแถบวัดเข้าด้านในตัว จากนั้นอ่านค่ารอบเอวของคุณจากตำแหน่งที่ลูกศรบนแถบวัดชี้ ซึ่งไม่ควรเกินค่าที่คิดได้ ถ้าเกินนั่นแสดงว่าถึงเวลาต้องลดน้ำหนักแล้ว 


          ด้านนางสาวนัสริน ช่วยรอด หรือน้องนัส บอกว่า “รอบเอวไม่ควรเกินครึ่งของความสูง” เพราะรอบเอวที่เกิน 80 เซนติเมตรในผู้หญิงหรือ เกิน 90 เซนติเมตรในผู้ชาย เป็นตัวบ่งบอกโอกาสเสี่ยงโรคต่างๆ เพิ่มขึ้น และการวัดรอบเอว จึงเป็นวิธีประเมินความเสี่ยงโรคดังกล่าวที่ใช้ง่าย วัดเมื่อไหร่ก็ได้ตามต้องการ โดยผู้ใช้จะสามารถสังเกตและวัดรอบเอวของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีชุดช่วยแนะนำการวัดรอบเอว และมีผ้าเช็ดตัวแบบอื่นๆ สำหรับการใช้ในรูปแบบต่างๆ ด้วย


          เช่นเดียวกับนายเจนทัด เจนพานิชการ หรือน้องปราชญ์ กล่าวเสริมว่า สินค้าจะมีอยู่ 4 ประเภท คือ ผ้าขนหนูสำหรับผู้ใหญ่ ผ้าขนหนูลายการ์ตูนสำหรับเด็ก ผ้าขาวม้า และอุปกรณ์ DIY แถบผ้าที่สามารถนำไปติดกับผ้าขนหนูที่มีอยู่แล้ว ส่วนรางวัลชนะเลิศที่ได้รับครั้งนี้  รู้สึกดีใจมากและเกินกว่าที่หวังเอาไว้ และยินดีหากแนวคิดนี้จะถูกนำไปผลิตเป็นสินค้าจริง เพื่อสุขภาวะของคนในสังคมไทยต่อไป


 


/data/content/26466/cms/e_aiknoprtuw78.jpg


          ทั้งนี้ ผู้เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย ประกอบด้วย 1. ทีม Spunie “อุปกรณ์เตือนลดน้ำหนักระหว่างรับประทานอาหาร”  2. ทีม Ready to eat ผลงาน “สุขกาย” ผ้าเช็ดตัวสังเกตตนเอง 3. ทีม H THREE O ผลงาน“DrinkDong” แก้วน้ำเตือนการดื่มน้ำ 4. ทีม O ree O ผลงาน “ปฎิทินส่งสุข”  5.ทีม Cigasuga ผลงาน “Lamoon Sugar” ชุดกำหนดปริมาณการบริโภคน้ำตาล 6. ทีม คน Cool Cool  ผลงาน “UDrink” อุปกรณ์เตือนการดื่มน้ำ 7. ทีม F&F ผลงาน “My style diary” ไดอารี่เกม ช่วยรักษาสุขภาพ 8. ทีม mArchitect ผลงาน “Halsa” นาฬิกาบันทึกจำนวนแคลลอรี่ 9. ทีม โศภิษฐา ผลงาน “ข้าวสุข” ทัพพีตักข้าววัดจำนวนพลังงาน 10. ทีม Healthy Easy ผลงาน “Healthy Planner” สมุดบันทึกเพื่อการรักษาสุขภาพ


 


          ที่มา : สำนักข่าวสร้างสุข

Shares:
QR Code :
QR Code