ปทุมรัตต์รุด งานบวชปลอดเหล้า เต็มพื้นที่

ประกาศชัด อย่าปล่อยให้ลูกหลานทั้งเมาทั้งบวช

 

ปทุมรัตต์รุด งานบวชปลอดเหล้า เต็มพื้นที่

 

          “พระอุปัชฌาย์ปทุมรัตต์ ประกาศชัดงานบวชปลอดเหล้า อย่าปล่อยให้ลูกหลานเรา ทั้งเมาทั้งบวชนี่เป็นวาทะที่เป็นการประกาศชัดเจนว่า ต่อไปงานบวชในพื้นที่ อ.ปทุมรัตต์ ซึ่งมีทั้งหมด 8 ตำบล จะเป็นการจัดงานบวชปลอดเหล้า เพราะเล็งเห็นว่า งานบวชเป็นงานที่เป็นประเพณีอันดีงามในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมาช้านานว่า ลูกผู้ชายจะต้องบวชเพื่อเป็นการตอบแทนคุณบิดามารดา แต่ในปัจจุบันกลับกลายเป็นงานที่เต็มไปด้วยการมอมเมาด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยิ่งน่าเศร้าใจมากกว่านั้นคือ บางครั้งบางทีคนที่จะบวชรู้สึกว่า จะต้องเข้าไปอยู่ใต้ร่มกาสาวพัตรแล้ว จะไม่มีโอกาสได้ลิ้มลองรสสุราเมรัยไปอีกยาวนานจนกว่าจะสึก ก็เลยต้องมีการส่งท้ายกันมากเป็นพิเศษ บางคนถึงขั้นเมามายจนไม่รู้สึกตัว แต่จำเป็นต้องเข้ารับศีลจากพระอุปัชฌาย์เพื่อทำการบวช ทำให้ภาพพจน์เสียหายอย่างมาก เป็นงานบุญแต่ถูกมอมเมาด้วยเหล้า จึงเป็นเรื่องที่จะต้องช่วยกันทุกภาคส่วน เพื่อดึงเอาประเพณีอันดีงามนี้กลับคืนมา

 

          ทั้งหมดนี้เป็นที่มาของการจัดงานสัมมนาเรื่อง ชาวปทุมรัตต์กับงานบวชปลอดเหล้า ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 25 ก.พ. 53 ณ วัดโพธิการราม ต.โพนสูง อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด โดยเนื้อหาของการสัมมนาครั้งนี้จะเน้น หนักในเรื่องกระบวนการการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ และผู้เข้าร่วมสัมมนาทุกคน มีการแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดหาวิธีการในการขับเคลื่อนงานบวชปลอดเหล้าในพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ ที่มีทั้งหมด 10 ตำบล โดยมีผู้เข้าร่วมงานทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักเรียน ตำรวจ วัฒนธรรมฯ ผอ.โรงเรียน นายอำเภอปทุมรัตต์ ประชาชนทั่วไป พระสงฆ์พัฒนาทั้ง 10 ตำบลในพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ และพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ และจังหวัดนครราชสีมา มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานนี้ด้วย ผลสรุปจากเวทีพอจะสรุปออกมาได้คร่าวๆ ดังนี้

 

ปทุมรัตต์รุด งานบวชปลอดเหล้า เต็มพื้นที่

 

แนวทางการทำงานบวชปลอดเหล้า

 

วิธีการดำเนินงาน

 

1.จัดให้มีการประชาสัมพันธ์เป็นป้าย หรือวิทยุชุมชนทุกหมู่บ้าน ให้รับทราบโดยทั่วกันในทุกตำบลทุกหมู่บ้าน

 

2.อบรมให้ความรู้ผู้นำหมู่บ้าน ให้เป็นแบบอย่างแก่ลูกบ้าน และเพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

3.ทุกครั้งที่มีงาน การ์ดเชิญของเจ้าภาพงานบวช ต้องระบุอย่างชัดเจนว่า เป็นงานบวชปลอดเหล้า

 

4.ทำการประชาคมร่วมกันในชุมชน เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกันในชุมชนและต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

 

5.พระอุปัชฌาย์จะไม่ทำการบวชให้ หากในงานมีการเลี้ยงเหล้า โดยเฉพาะนาคที่จะบวช ต้องไม่ดื่มเหล้า

 

6.การทำงานต้องร่วมมือกันระหว่าง หมู่บ้าน วัด โรงเรียนเพราะมีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่มากที่สุด

 

7.ต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อดำเนินงานอย่างชัดเจน

 

8.สนับสนุนงานที่เป็นงานบวชปลอดเหล้า และมีการมอบประกาศเกียรติคุณเพื่อเป็นกำลังใจเจ้าภาพ

 

9.มีการกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามประชามติ

 

10.มีการบูรณาการกับหน่วยงานราชการเพื่อการขับเคลื่อนงาน

 

11.พื้นที่ต้องมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนในการดำเนินงาน และต้องเข้มแข็ง

 

          ในงานได้รับเกียรติจากท่านสนั่น วรินทราวาท นายอำเภอปทุมรัตต์ ได้ให้แนวคิดการทำงานและเสนอแนะแนวทางที่จะขับเคลื่อนต่อไปในอนาคต ซึ่งท่านจะให้ความสำคัญในเรื่องของเด็กและเยาวชนอย่างมาก เนื่องจากเด็กเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการเป็นนักดื่มหน้าใหม่ต่อไปในอนาคต ทำอย่างไรที่เราจะสกัดกั้นนักดื่มหน้าใหม่ให้ได้ และท่านเองพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมทุกกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมในพื้นที่ของท่านอย่างจริงจัง และนอกจากนี้ยังมีผู้ประสานงานเครือข่ายงดเหล้า ภาคกลาง นายทนง บูรณพิสุทธิ์ และผู้ประสานงานสคล.ส่วนกลาง นายประญัติ เกรัมย์ และผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอีสานตอนล่าง นายบำรุง เป็นสุข ร่วมสะท้อนแนวคิดและเสนอแนะแนว ทางด้วย

 

 ปทุมรัตต์รุด งานบวชปลอดเหล้า เต็มพื้นที่

 

 

 

 

 

 

ที่มา : เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอีสานตอนล่าง

 

 

update 26-02-53

 

อัพเดทเนื้อหาโดย : อารยา สิงห์สวัสดิ์

Shares:
QR Code :
QR Code