ปฏิรูปสื่อเปลี่ยนแปลงสังคม

ปฏิรูปสื่อ สร้างพื้นที่สร้างสรรค์เปลี่ยนแปลงสังคม thaihealth


"สื่อที่ดีสำหรับเด็กควรเป็นไปตามพัฒนาการ เพราะเด็กแต่ละช่วงวัยจะมีพัฒนาการแตกต่างกันออกไป หากผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง บีบบังคับให้เด็กอยู่ในกรอบมากเกินไป จะก่อให้เกิดปัญหาเรื่องพัฒนาการเด็กที่ช้าลงซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องแนะนำหรืออธิบายให้ผู้ปกครองเข้าใจ ไม่เช่นนั้นจะเป็นการปิดกั้นกระบวนการเรียนรู้ของตัวเด็กเอง"รศ.จุมพล รอดคำดี ประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ สภาปฏิรูปแห่งชาติ กล่าวถึงพัฒนาการของเด็กต่อการรับสื่อภายในงาน "มหกรรมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ภายใต้แนวคิดเด็กบันดาลใจ คิดได้ คิดเป็น"


รศ.จุมพล กล่าวถึงทิศทางการรับสื่ออย่างสร้างสรรค์ของเด็กว่า ปัจจุบันสื่อสำหรับเด็กมีทั้งเหมาะสมและไม่เหมาะสม ซึ่งบางส่วนจะต้องพัฒนาและทำความเข้าใจต่อพัฒนาการของเด็ก เพราะเด็กที่จะเจริญเติบโตต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แต่เขาไม่สามารถวิเคราะห์ได้ดีเท่ากับผู้ใหญ่ แต่นั่นเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ หากสื่อนำเสนอสิ่งที่ดีและได้รับคำแนะนำจากผู้ปกครองเขาจะเติบโตและจดจำสิ่งเหล่านั้นต่อไป


"นอกจากนั้นการสร้างพื้นที่เรียนรู้สื่ออย่างสร้างสรรค์ จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสแสดงออกและสร้างประสบการณ์เรียนรู้ให้เกิดความเข้าใจในการใช้สื่อให้เป็นประโยชน์ หากเด็กได้รับการปลูกฝังให้รู้เท่าทันสื่อเขาจะได้เรียนรู้ว่า สื่อที่ดีควรเป็นอย่างไร รวมถึงการได้รับโอกาสจากผู้ใหญ่ในการมีส่วนร่วมสร้างสรรค์สื่อจะช่วยเสริมสร้างความปฏิรูปสื่อ สร้างพื้นที่สร้างสรรค์เปลี่ยนแปลงสังคม thaihealthเข้าใจมากยิ่งขึ้น"รศ.จุมพล กล่าวเสริม


ด้าน รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวผ่านเวทีเสวนาทิศทางการปฏิรูปสื่อประเทศไทย: มิติการมีส่วนร่วมกับการสร้างเด็กไทยคิดได้ คิดเป็น ว่าจุดสำคัญของแนวทางการปฏิรูปสื่อ คือเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน สังคม และส่งเสริมเรื่องการรู้เท่าทันสื่อ หรือการปรับตัวอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากกระแสการปฏิรูป ซึ่งเป็นโอกาสเตรียมความแข็งแรงของเครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อว่าจะใช้โอกาสนี้ทำให้เกิดรูปธรรมอย่างไรได้บ้าง เช่นการสอดแทรกในการเรียนการสอนโดยที่ไม่ต้องจัดเป็นวิชาเรียนเฉพาะ ทั้งแง่มุมด้านสังคม ทัศนคติต่างๆที่ผ่านสื่อมากมายทั้ง วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึงสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ซึ่งการสอนให้เด็กมีวิจารณญาณและจิตสำนึกในการใช้สื่อ เช่น การโพสต์หรือแชร์สิ่งต่างๆ จะเกิดผลกระทบตามมาอย่างไรบ้าง โดยสามารถแนะนำได้ในการเรียนการสอน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรู้เท่าทันสื่ออย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น


ขณะที่ นายพิริยะ ทองสอน เลขาธิการมูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน กล่าวว่าสื่อมีหลายช่องทาง ทำให้เกิดทางเลือกมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องดีที่สื่อต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับสื่อรวมถึงสื่อทางโซเชียลมิเดียที่มีการส่งต่อข่าวสารอย่างรวดเร็ว จะส่งผลให้การปฏิรูปง่ายขึ้น หากจะให้เด็กมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สื่อที่ดีนั้น จะต้องแนะนำการใช้สื่อที่ถูกต้อง และเปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้เท่าทันสื่ออย่างหลากหลาย รวมทั้งต้องมีพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออกทางความคิดได้อย่างเต็มที่อีกด้วย


นอกจากนี้ ภายในงานยังมีพิธีมอบรางวัล ประกาศเกียรติคุณส่งเสริมสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชน และปฏิรูปสื่อ สร้างพื้นที่สร้างสรรค์เปลี่ยนแปลงสังคม thaihealthครอบครัว 4 สาขาได้แก่ 1.รางวัลสาขาสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน 10 รางวัล 2.รางวัลสาขาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ 21 ศูนย์ 3.รางวัลประกวดสื่อสร้างสรรค์อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน 3 รางวัล และ 4.รางวัลสาขา Active citizen 15 โครงการ โดยนางสุดใจ พรหมเกิด ผู้จัดการแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน อธิบายเพิ่มว่า การประกาศรางวัลเกียรติคุณเพื่อเป็นกำลังใจให้กับคนทำงานและเพื่อเป็นการขยายกำลังใจไปสู่คนทำงานอื่นเพิ่มพื้นที่การทำสื่อสร้างสรรค์ให้มากขึ้น ซึ่งสิ่งที่เน้นในการมอบรางวัล คือการสร้างสื่อที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงด้วยการทำให้ชุมชนท้องถิ่นหันมาสนใจและสนับสนุนการแก้ปัญหา


"สิ่งที่สำคัญคือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เช่น ในศูนย์เด็กเล็กที่การผลิตสื่อส่งผลให้ครูเริ่มปิดทีวีและใช้สื่ออื่นในการกระตุ้นพัฒนาการเด็กอย่างเหมาะสม หรือ การทำสื่อเพื่อกระตุ้นการอ่าน ซึ่งทำให้เด็กเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและใช้การอ่านทำประโยชน์ด้วยการอ่านหนังสือให้ผู้ป่วย และส่งเสริมการอ่านในชุมชนให้เพิ่มขึ้น หรือ การสร้างสื่อสร้างสรรค์ที่เปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนในชุมชนให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ทำจนสามารถลดปัญหาในชุมชน การทะเลาะวิวาทลง  อีกทั้งยังพบว่าหลายโครงการได้เป็นต้นแบบของพื้นที่อื่นๆ ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้นำไปพัฒนาต่อ อย่างไรก็ตาม การสร้างสื่อของผู้ที่ได้รับรางวัลเกียรติคุณในครั้งนี้พบว่าเป็นตัวอย่างสำหรับผู้ทำสื่อสร้างสรรค์ และสามารถเป็นต้นแบบในการทำงานได้" นางสุดใจทิ้งท้าย


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

Shares:
QR Code :
QR Code