ปฏิรูประบบงานวิจัยเพื่อแก้โจทย์ประเทศไทย

สร้างองค์ความรู้ ต่อยอดพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง

 

 

 ปฏิรูประบบงานวิจัยเพื่อแก้โจทย์ประเทศไทย

 

          เป็นการแสดงบทบาทและความรับผิดชอบที่น่าสนใจของคณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา ที่ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การปฏิรูประบบวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 8 พ.ย. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ อาคารรัฐสภา 2 โดยระบุถึงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ก่อนนำไปพัฒนาและปรับปรุงระบบวิจัยของประเทศไทย

 

          ระบบวิจัย หรือการวิจัย หมายถึง กระบวนการค้นคว้าความรู้ ความจริง อย่างเป็นระบบวิเคราะห์และตีความ ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ (รศ.ดร.พะยอม วงศ์สารศรี) ซึ่งมีประโยชน์มากมายตั้งแต่ช่วยเสริมสร้างความรู้ทางวิชาการ ช่วยในการวินิจฉัยปัญหาของสังคมโดยรวม ได้แก่ ต้นเหตุของปัญหาในเรื่องที่จำทำวิจัย แนวทางและวิธีการแก้ปัญหานั้นๆ ช่วยผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในการวินิจฉัยปัญหา การคิดตามประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานหรือบุคคลในหน่วยงาน และช่วยให้ผู้วางแผนหรือผู้กำหนดนโยบายสามารถวางแผน หรือกำหนดนโยบายจากรากฐานที่เชื่อถือได้

 

          หากเรามีวิธีการวิจัยหรือระบบการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ย่อมหมายความว่าประเทศไทยจะมีเครื่องมือในการขับเคลื่อน พัฒนาประเทศที่ทรงคุณค่ามหาศาลเช่นกัน น่าจะสามารถกล่าวได้ว่า ระบบวิจัยที่ดีจะช่วยทำให้เราเกาถูกที่คัน หรือแก้ปัญหาหรือแก้โจทย์ของประเทศไทยได้ถูกทิศถูกทางโดยไม่ต้องเสียเวลาลองผิดลองถูกนั่นเอง

 

          เวิร์คช้อปในประเด็นของการปฏิรูประบบวิจัย ผมจึงขอยกมือสนับสนุนเป็นกรณีพิเศษครับ ส่วนหลังการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว จะมีการนำผลที่ได้ไปดำเนินการต่อยอดตามที่ได้ตั้งใจระบุวัตถุประสงค์ไว้ในการสัมมนาหรือไม่นั้น ผมคิดว่าเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายครับ ไม่ใช่แต่เฉพาะกรรมาธิการวุฒิสภา หรือเพียงแค่รัฐบาลเท่านั้น เพราะบางเรื่องบางราว เราต้องยอมรับนะครับว่า คนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่มีโอกาสคิด (เพราะถูกยัดเยียดโดย “ใบสั่ง”) ในบางครั้ง

 

          เท่าที่ประมวลจากงานการสัมมนา ดูเหมือนระบบการวิจัยบ้านเรามีอุปสรรคปัญหาหลายประการ อาทิ 1. ยุทธศาสตร์หรือนโยบายและแผนวิจัยแห่งชาติในปัจจุบันยังขาดความชัดเจน ขาดทิศทาง ขาดการมีส่วนร่วมในการจัดทำ 2. งบประมาณเพื่อการวิจัยยังไม่เพียงพอ 3. ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในระบบวิจัยในสัดส่วนที่ต่ำ 4. โครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่เพียงพอ 5. สถาบันวิจัยส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการเรียนการสอน และสถาบันวิจัยเฉพาะทางมีน้อย 6. ปัญหาด้านปริมาณและคุณภาพของบุคลากรด้านวิจัย และปัญหาการสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้ได้นักวิจัยมืออาชีพ 7. คุณภาพและมาตรฐานของงานวิจัยที่ยังไม่สูงพอ 8. การขาดความตระหนักในความสำคัญของการวิจัย และไม่ได้ใช้การศึกษาวิจัยอย่างเป็นระบบในการแก้ปัญหา และ 9. การขาดการกระตุ้นให้เห็นคุณค่าและประโยชน์ของการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการขับเคลื่อนสังคมฐานความรู้

 

          ที่น่าสนใจคือ ปัญหาทั้งหมดข้างต้น ผู้เกี่ยวข้องและผู้บริหารบ้านเมืองตระหนักรู้อยู่แก่ใจดี

 

          เห็นได้จากการที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ก้าวต่อไปของการปฏิรูประบบวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยอย่างยั่งยืน” ในงานสัมมนาครั้งนี้ว่า ปัญหาด้านระบบการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ปัญหาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยด้านปริมาณนั้น 1. ขาดแคลนบุคลากร ซึ่งสัดส่วนนักวิจัยในประเทศไทย ปี พ.ศ.2550 มีจำนวนคิดเป็นร้อยละ 3.39 คนต่อจำนวนประชากร 10,000 – 20,000 คนต่อจำนวนประชากรทั้งประเทศ ขณะที่จำนวนนักวิจัยกว่าร้อยละ 65 เป็นนักวิจัยที่อยู่ในสถาบันอุดมศึกษา ถือเป็นตัวเลขที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ 2. ขาดงบประมาณในการสนับสนุนการวิจัย ปัจจุบันประเทศไทยมีงบประมาณการวิจัยอยู่ที่ร้อยละ 0.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ซึ่งจะมีการผลักดันให้เป็นร้อยละ 1 ของ GDP ให้ได้ และจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อม 9 แห่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยนอกจากนี้จะมีการกระตุ้นให้เกิดการวิจัยในภาคเอกชนมากขึ้น โดยใช้มาตรการด้านภาษีเป็นแรงจูงใจ

 

          ข้อมูลและการแสดงความคิดเห็นของทุกคนบนเวทีสัมมนารวมทั้งนายกรัฐมนตรี ตอกย้ำครับว่า งานการวิจัยจะสามารถตอบโจทย์ของการปฏิรูปประเทศไทยไปในทิศทางที่พึงปรารถนาได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นดูเหมือนว่า ปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ จะต้องเป็น “เจ้าภาพ” งานชิ้นสำคัญดังกล่าว ด้วยการสร้างคนให้คิดเป็น หรือผลิตภัณฑ์วิจัยที่เน้นการต่อยอดองค์ทางความรู้ และเน้นการวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสังคมประเทศ ไม่ใช่มุ่งเฉพาะแต่การเรียนการสอนอย่างที่นิยมกระทำกันมาในอดีตจนถึงวันนี้

 

 ปฏิรูประบบงานวิจัยเพื่อแก้โจทย์ประเทศไทย

 

          ความจริงแล้วบทบาทของมหาวิทยาลัยต่องานวิจัยนั้น เป็นประเด็นที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ประธานสมัชชาปฏิรูป มักจะพูดถึงแทบทุกครั้งเมื่อมีการประชุมหรือระดมสมองเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประเทศน่าอยู่ที่สุดในโลก เพราะอาจารย์เล็งเห็นว่า มหาวิทยาลัยในแต่ละจังหวัดหรือแต่ละชุมชนทั่วประเทศ หากเอาตัวเองออกจากกรอบที่ใช้วิชาการเป็นที่ตั้งในการเรียนการสอน โดยเอาภาคปฏิบัติเป็นตัวนำแล้ว ก็จะช่วยสร้างชุมชนเข้มแข็งได้อย่างดีเยี่ยม

 

          ผมจำได้ว่า อาจารย์ประเวศเคยเสนออยู่เสมอว่ามหาวิทยาลัยในแต่ละพื้นที่หากรู้จักเชื่อมโยงกับชุมชน ด้วยการใช้งานวิจัยได้ ต่อไปอำนาจจากส่วนกลางก็จะถูกกระจายสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้นตามลำดับปัญหาความเหลื่อมล้ำก็จะค่อยๆ จางลง เพราะทุกปัญหาสามารถแก้ได้ในระดับชุมชน

 

          ทั้งนี้อาจารย์ประเวศยังกล่าวถึงงานวิจัยด้วยว่า การวิจัยที่ดีไม่ใช่นักวิจัยเข้าไปตามชุมชนแล้วก็ออกมาเขียนผลงานเพื่อเอาตำแหน่งทางวิชาการ แล้วชุมชนเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงการวิจัยที่ถูกต้องชาวบ้านต้องมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์ร่วมกัน เกิดองค์ความรู้พร้อมกันแล้วนำไปต่อยอดพัฒนาบริหารชุมชนต่อไป

 

          ครับ..ผมก็หวังเหลือเกินว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งเริ่มรวมตัวกันเป็นมหาวิทยาลัยตามโครงการเพื่อการวิจัยของประเทศแล้วนั้น จะได้ตั้งมหาวิทยาลัยที่มีความพร้อม 9 แห่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัย นอกจากนี้จะมีการกระตุ้นให้เกิดการวิจัยในภาคเอกชนมากขึ้น โดยใช้มาตรการด้านภาษีเป็นแรงจูงใจ

 

          ข้อมูลและการแสดงความคิดเห็นของทุกคนบนเวทีสัมมนารวมทั้งนายกรัฐมนตรี ตอกย้ำครับว่า งานการวิจัยจะสามารถตอบโจทย์ ของการปฏิรูปประเทศไทยไปในทิศทางที่พึงปรารถนาได้ ทั้งนี้ทั้งนั้นดูเหมือนว่า ปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่า สถาบันการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ จะต้องเป็น “เจ้าภาพ” งานชิ้นสำคัญดังกล่าว ด้วยการสร้างคนให้คิดเป็น หรือผลิตนักวิจัยที่เน้นการต่อยอดองค์ทางความรู้ และเน้นการวิจัยที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและสังคมประเทศ ไม่ใช่มุ่งเฉพาะแต่การเรียนการสอนอย่างที่นิยมกระทำกันมาในอดีตจนถึงวันนี้

 

          ความจริงแล้ว บทบาทของมหาวิทยาลัยต่องานวิจัยนั้น เป็นประเด็นที่อาจารย์หมอประเวศ วะสี ประธานสมัชชาปฏิรูป มักจะพูดถึงแทบทุกครั้งเมื่อมีการประชุมหรือระดมสมองเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประเทศน่าอยู่ที่สุดในโลก เพราะอาจารย์เล็งเห็นว่า มหาวิทยาลัยในแต่ละจังหวัดหรือแต่ละชุมชนทั่วประเทศ หากเอาตัวเองออกจากกรอบที่ใช้วิชาการเป็นที่ตั้งในการเรียนการสอน โดยเอาภาคปฏิบัติเป็นตัวนำแล้ว ก็จะช่วยสร้างชุมชนเข้มแข็งได้อย่างดีเยี่ยม

 

          ผมจำได้ว่า อาจารย์ประเวศเคยเสนออยู่เสมอว่า มหาวิทยาลัยในแต่ละพื้นที่หากรู้จักเชื่อมโยงกับชุมชน ด้วยการใช้งานวิจัยได้ ต่อไปอำนาจจากส่วนกลางก็จะถูกกระจายสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้นตามลำดับปัญหาความเหลื่อมล้ำก็จะค่อยๆ จางลง เพราะทุกปัญหาสามารถแก้ได้ในระดับชุมชน

 

          ทั้งนี้อาจารย์ประเวศยังกล่าวถึงงานวิจัยด้วยว่า การวิจัยที่ดีไม่ใช่นักวิจัยเข้าไปตามชุมชนแล้วก็ออกมาเขียนผลงานเพื่อเอาตำแหน่งทางวิชาการ แล้วชุมชนเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง การวิจัยที่ถูกต้องชาวบ้านต้องมีส่วนร่วมและได้ประโยชน์ร่วมกัน เกิดองค์ความรู้พร้อมกันแล้วนำไปต่อยอดพัฒนาบริหารชุมชนต่อไป

 

          ครับ..ผมก็หวังเหลือเกินว่า มหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งเริ่มรวมตัวกันเป็นมหาวิทยาลัยตามโครงการเพื่อการวิจัยของประเทศแล้วนั้น จะได้แสดงบทบาทในการเป็นผู้นำในการปฏิรูปประเทศไทยด้วยการใช้ระบบระเบียบวิธีวิจัยเป็นโรดแม็พ ซึ่งถือเป็นแผนที่นำทางที่มีประสิทธิภาพใครก็มาแอบอ้างสร้างภาพไม่ได้อย่างแน่นอน

 

 

 

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ โดย นายใฝ่ฝัน..ปฏิรูป

 

 

Update : 18-11-53

อัพเดทเนื้อหาโดย : กิตติภานันทร์ ลีจันทึก

 

Shares:
QR Code :
QR Code