‘บุหรี่เถื่อน’ งานท้าทายประเทศไทย
ปัญหาใต้ดินที่สังคมต้องเร่งแก้ไข
หลังการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ซิกาแรตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา อัตราการสูบบุหรี่ของประชาชนได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกันรายได้รัฐที่มาจากภาษีสรรพสามิตยาสูบก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน สถานการณ์ที่น่ายินดีอย่างนี้ ได้นำไปสู่โจทย์ใหม่ที่ท้าทายมากขึ้นสำหรับคนทำงานด้านบุหรี่ ทั้งภาคประชาชน และภาครัฐ ที่ต้องร่วมกันตอบโจทย์นี้ในการประชุมวิชาการ “บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ” ครั้งที่ 8 ที่ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ร่วมกับองค์กรภาคีต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เครือข่ายวิชาชีพสุขภาพเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลฯ จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการนำเสนอข้อมูลผลกระทบต่อการบริโภคบุหรี่
ซึ่ง ดร.ศรัณญา เบญจกุล จากสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำขึ้นหลังจากรัฐบาลได้ประกาศขึ้นภาษีสรรพสามิตยาสูบจากเดิม ร้อยละ 80 เป็น ร้อยละ 85 พบว่าการขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำอย่างชัดเจนอย่างไรก็ตาม ดร.ชลธาร วิศรุตวงศ์ จากกรมสรรพสามิต ได้ชี้ว่า การเพิ่มขึ้นของภาษีสรรพสามิตดังกล่าว ส่งผลให้มีแนวโน้มการขยายตัวของบุหรี่เถื่อนที่เพิ่มมากขึ้น อย่างน้อยร้อยละ 10-15 ทั้งในรูปของบุหรี่เถื่อน และบุหรี่ที่ไม่เสียภาษี เพราะการขึ้นภาษีทำให้คนมองหาบุหรี่ราคาถูก การค้าบุหรี่เถื่อนจึงขยายตัว
กล่าวได้ว่าบุหรี่เถื่อนเป็นปัญหา “ใต้ดิน” ที่สังคมไทยยังมองเห็นภาพไม่ชัดเจน ทั้งที่เป็นแหล่งที่ป้อนสินค้าไปถึงมือผู้บริโภคอย่างสำคัญ หากพิจารณาถึงมูลค่าตลาดของบุหรี่ปกติที่ประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาท งานวิจัยที่ผ่านมาพบว่าตลาดบุหรี่เถื่อนมีมูลค่าสูงอย่างน้อย 3-4 พันล้านบาทเลยทีเดียว
ดร.ชลธาร ระบุว่า ช่องทางการนำเข้าบุหรี่เถื่อนส่วนใหญ่มาจาก ประเทศชายแดนรอบ ๆ ประเทศไทยทางตะวันออก และตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ รวมถึงภาคใต้ ที่มีการพบบุหรี่ปลอมที่ทำได้เหมือนกับต้นแบบ อย่างมาก รูปแบบการลักลอบนำเข้ามีทั้งมาในรูปกองทัพมด บุหรี่ปลอม และการลักลอบผ่านทางเข้ามา โดยส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการของผู้มีอิทธิพล และมีปริมาณการลักลอบนำเข้าค่อนข้างสูงงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งของ ดร.ภิฤดี ภวนานนท์ จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่เปรียบเทียบปริมาณนำเข้ายาสูบของประเทศไทยกับปริมาณส่งออกยาสูบของประเทศต้นทางก็ชี้ว่า รายงานการส่งออกบุหรี่จากประเทศต้นทาง และรายงานการนำเข้าบุหรี่ของประเทศไทยมีส่วนต่างถึงประมาณร้อยละ 15-83 หรือเท่ากับบุหรี่ประมาณ 21-514 ล้านซอง
ส่วนต่างนี้สะท้อนถึงปริมาณบุหรี่เลี่ยงภาษีจากการส่งออกบุหรี่ระหว่างประเทศคู่ค้ามายังประเทศไทยข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลที่ นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงต่อสื่อมวลชนเมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า หลังการขึ้นภาษีสรรพสามิตครั้งนี้ มีการจับกุมบุหรี่เถื่อนเพิ่มเป็นเท่าตัว รวมทั้งชี้ว่า
ทั้งนี้ สถานการณ์การค้าบุหรี่เถื่อนและบุหรี่ปลอมในปัจจุบันมีพื้นที่แพร่กระจาย ตลอดแนวชายแดนด้านประเทศกัมพูชาตั้งแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงภาคตะวันออก ตามจุดผ่อนปรนต่าง ๆ เป็นระยะทางกว่า 165 กม. เป็นจุดที่พบบุหรี่เถื่อนและบุหรี่ปลอมและตรวจจับได้มากที่สุดปรากฏการณ์ที่สะท้อนผ่านงานวิจัยเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า แม้การควบคุมการบริโภคบุหรี่ ด้วยมาตรการทางภาษีด้วยการขึ้นภาษีดังที่ผ่านมา แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จได้ในระดับหนึ่งแล้วก็ตาม แต่การใช้เครื่องมือทางภาษีโดด ๆ นั้นไม่ทำให้การควบคุมยาสูบเกิดผลเต็มที่ ตราบเท่าที่ยังไม่สามารถจัดการกับบุหรี่เถื่อนได้
ดร.ชลธาร ชี้ว่า การดำเนินการควบคุมบุหรี่เถื่อนของไทยที่มีอยู่ ยังอยู่ในรูปแบบเดิม ๆ ซึ่งไม่เพียงพอที่จะควบคุมการขยายตัวของบุหรี่เถื่อนได้ ยิ่งฐานภาษีสรรพสามิตเพิ่มมากขึ้นการขยายตัวบุหรี่เถื่อนยิ่งเพิ่มมากขึ้น เพราะมีมูลค่าตลาดที่สูงมากจูงใจดังที่กล่าวไปแล้วด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ จึงจะจัดการประชุมเรื่องสถานการณ์บุหรี่เถื่อนในประเทศไทยและต่างประเทศ ในวันที่ 25 พ.ย. 2552 เวลา 09.00-12.00 น. ณ โรงแรมเอเชีย ราชเทวี เพื่อหาข้อสรุปทางเลือกเชิงนโยบายในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ โดยมีนายแพทย์หทัย ชิตานนท์ เป็นผู้ดำเนินการอภิปรายการควบคุมบุหรี่เถื่อนไม่เพียงช่วยให้มาตรการควบคุมยาสูบในภาพรวมของประเทศไทยเข้มแข็งขึ้น แต่ยังผลเชิงบวกต่อรายได้ของภาครัฐ ควบคู่ไปกับการทำให้จำนวนผู้บริโภคยาสูบที่ลดลงมากขึ้น.ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
Update: 14-11-52
อัพเดทเนื้อหาโดย: ณัฏฐ์ ตุ้มภู่