บีบ เก็บ ตุนน้ำนม เมื่อแม่จะไปทำงาน

         เตรียมตัวอย่างไรเมื่อแม่จะไปทำงาน การบีบ เก็บ ตุน ขนส่งน้ำนม


         เริ่มเก็บน้ำนมเมื่อลูกอายุ 1 เดือนไปแล้ว และเก็บอย่างสม่ำเสมอหัดบีบเก็บหรือปั๊มนมให้ชำนาญก่อนไปทำงานอยู่ที่ทำงาน ปั๊มน้ำนมให้เกลี้ยงเต้าทุก 3 ชั่วโมง แช่ตู้เย็น หรือกระติกน้ำแข็งไว้ใส่กระติกน้ำแข็งขนกลับบ้าน แล้วรีบแช่ตู้เย็นเลยค่ะ


         ช่วงที่คุณแม่อยู่ระหว่างลาคลอด ให้ลูกดูดนมบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วง 2 เดือนแรก เพื่อให้สร้างน้ำนมเพิ่มขึ้น อย่าให้นมผสมหรือดูดจุกนมเพื่อหวังให้ลูกชินนะคะ เพราะลูกอาจจะติดจุกนมจนไม่ยอมดูดนมแม่เลยก็ได้


/data/content/25321/cms/e_efgjkmpstwx4.jpg


         การเก็บสต๊อคนม


         โดยทั่วไปแล้วน้ำนมคุณแม่จะอยู่ตัว เริ่มเก็บน้ำนมได้เป็นเรื่องเป็นราวเมื่อลูกอายุครบ 1 เดือนไปแล้ว จากนั้นหัดบีบเก็บหรือปั๊มนมให้ชำนาญ เมื่อมีน้ำนมมากพอ อาจเริ่มเก็บนมบีบในตู้แช่แข็งเพื่อตุนไว้ ถ้าที่บ้านมีตู้เย็นประตูเดียว อาจเก็บล่วงหน้าได้ 2 อาทิตย์ แต่ถ้าเป็นตู้เย็น 2 ประตู ก็เตรียมเก็บไว้ล่วงหน้า3 เดือนได้เลยค่ะใหม่ ๆ ก็เริ่มปั๊มหรือบีบเก็บหลังจากลูกดูดนมอิ่มแล้ว ถ้าน้ำนมไหลดีขึ้น ระหว่างที่ลูกดูดข้างหนึ่ง มีน้ำนมไหลจากอีกข้าง ก็จะปั๊มไปด้วยก็ได้ ระยะแรกอาจจะยังปั๊มไม่ได้มากนัก แต่ทำไปสักพักร่างกายจะปรับตัวสร้างน้ำนมเพิ่มขึ้นถ้าลูกไม่ทานนมนานเกิน 3 ชั่วโมง หรือรู้สึกว่านมกำลังจะคัด ให้ปั๊มน้ำนมเก็บไว้ได้ อย่ารอให้นมคัด เพราะเมื่อนมคัด ร่างกายจะลดปริมาณการสร้างน้ำนมลง ถ้าน้ำนมที่ได้แต่ละครั้งมีปริมาณน้อย ให้เก็บไว้ใต้ช่องแช่แข็งก่อน อย่าเพิ่งฟรีส รวมนมที่เก็บในวันเดียวกันใส่ในถุงหรือภาชนะเดิมให้มากพอสำหรับ 1 มื้อ แล้วแช่ฟรีสค่ะ แต่ต้องระวังเรื่องความสะอาดระหว่างเติมนม และอย่าเอาออกมาข้างนอกนานด้วยนะคะ


         ฝึกลูกให้กินนมด้วยวิธีอื่นจากคนเลี้ยง


         1-2 อาทิตย์สุดท้ายก่อนคุณแม่ไปทำงาน ฝึกให้ลูกคุ้นเคยกับพี่เลี้ยงเด็ก และให้พี่เลี้ยงเป็นคนป้อน ถ้าพี่เลี้ยงเป็นคนที่ลูกไม่คุ้นเคยมาก่อน ก็มีวิธีฝึกอย่างค่อยเป็นค่อยไป – วันแรก ในช่วงที่ยังไม่ใช่เวลาให้นมลูก ปล่อยให้ลูกอยู่กับคนเลี้ยงนานประมาณ 1 ชั่วโมง โดยแม่ต้องไม่อยู่ใกล้จนได้ยินเสียงหรือได้กลิ่นนะคะ เพราะลูกจะหาแต่แม่แน่นอน- วันต่อๆ มา ให้ลูกอยู่กับคนเลี้ยงนานขึ้นๆ และให้ป้อนนมแม่ที่เก็บไว้จากแก้ว ซึ่งจะช่วยให้ลูกกับพี่เลี้ยงค่อยๆ คุ้นเคยกันมากขึ้นอาจจะ ให้พี่เลี้ยงไปฝึกป้อนนมจากแก้วที่คลินิกนมแม่ของโรงพยาบาลก็ได้ค่ะ ศึกษารายละเอียดจากหัวข้อ “ แม่จะต้องไปทำงานแล้ว ลูกยังไม่ยอมดูดนมแม่จากขวด หรือจากถ้วย ” และหัวข้อ “วิธีกินนมจากแก้วและหลอด + ข้อดี ”


         เมื่อไปทำงาน- ก่อนจะไปทำงานให้ลูกดูดนมแม่ให้ได้มากที่สุด- ขณะคุณแม่อยู่ในที่ทำงาน ให้บีบนมเก็บน้ำนม ถ้าได้ทุก 3 ชั่วโมงก็จะดี ในช่วงสาย หลังอาหารเที่ยง และบ่าย หากทิ้งไว้นานกว่านั้น จะทำให้กระบวนการสร้างน้ำนมลดลงเรื่อย ๆ เป็นผลให้นมสต๊อคไม่พอกินนะคะ ควรบีบเก็บให้เกลี้ยงเต้า ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที แต่ถ้ามีเวลาน้อย อาจใช้สูตร 5-15-5 คือเวลาสายและบ่าย บีบนมนาน 5 นาที เพื่อป้องกันนมคัด (อาจบีบทิ้งหรือบีบเก็บก็ได้) ช่วงพักกลางวัน บีบนาน 15-20 นาทีเพื่อเก็บ และเมื่อลูกโตขึ้น เริ่มกินอาหารอื่น กินนมแม่น้อยลง ก็อาจลดเหลือวันละ 2 ครั้ง- ให้คนเลี้ยงป้อนนมมื้อสุดท้ายก่อนเวลาที่แม่จะกลับสัก 2-3 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกหิวพอดีกับเวลาที่แม่กลับบ้าน- ในเวลาที่อยู่กับลูกให้นมลูกจากอกอย่างเดียว เพราะการที่ลูกดูดจากอกเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนมที่ดีที่สุดค่ะ


         สถานที่สามารถเก็บน้ำนมนอกบ้านได้


         สถานประกอบการที่ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมี ห้อง / มุมนมแม่ ไว้ให้คุณแม่เก็บน้ำนมได้ในระหว่างวันค่ะ ห้อง / มุมนมแม่นี้ ควรประกอบด้วย ห้องที่เป็นสัดส่วน มิดชิด สงบเงียบ คนไม่พลุกพล่าน โต๊ะ เก้าอี้ที่นั่งสบาย ปลั๊กไฟ อ่างล้างมือ และสบู่ กระดาษหรือผ้าเช็ดมือ +ตู้เย็น- หากไม่มีห้อง / มุมนมแม่ ลองมองหาสถานที่สงบ เช่น ห้องพยาบาล ห้องประชุม ห้องเก็บของ หรือบางท่านจะนั่งหันหลังเข้าฝาผนังและปั๊มน้ำนม- ห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะก็สามารถใช้ได้ (เมื่อจำเป็น) โดยคุณแม่ต้องล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาด และหลีกเลี่ยงการสัมผัสฝาส้วม ประตูโดยตรง (จับผ่านกระดาษทิชชูแทน)- คุณแม่ที่เดินทางเป็นเวลานานอาจปั๊มน้ำนมในรถได้


         การเก็บรักษาน้ำนมระหว่างวัน


         มองหาตู้เย็นไว้แช่น้ำนมนะคะ ปกติแล้วสถานประกอบการจะมีตู้เย็นใน ห้องนมแม่ ห้องพยาบาล ห้องเตรียมอาหาร ส่วนใหญ่จะไม่มีของสกปรก (เหม็น) สามารถใช้ได้ค่ะ- หากหาตู้เย็นที่แยกเป็นสัดส่วนไม่ได้ ลองมองดูตู้แช่น้ำดื่ม (น้ำอัดลม) ตู้แช่ไอติม ตู้แช่น้ำแข็ง จะพบได้ในร้านอาหาร ลองเจรจาดูนะคะส่วนใหญ่จะอนุญาตค่ะ แนะนำว่าให้แช่ทั้งกระติก โดยใส่ถุงเก็บน้ำนมลงไปในกระติกแล้วเปิดแง้มไว้ เพื่อให้ได้รับความเย็น แต่หลบจากสายตาคนค่ะ (คนจะสงสัยและมาจับ)- หากไม่มีตู้แช่จริง ๆ ให้ใส่ถุงเก็บน้ำนมลงในกระติก และใส่น้ำแข็ง +เกลือ น้ำแข็งแห้ง หรือ ice pack (ระวังอย่าให้สัมผัสถุงโดยตรง) ใส่กระติกน้ำแข็ง นำกลับบ้าน แล้วรีบเข้าตู้เย็นโดยเร็วค่ะ


 


 


         ที่มา : มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย


         ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code