บางชันโมเดล คืนความสุขหมู่บ้านไร้แผ่นดิน

       “บางชันโมเดล”  มุ่งยกระดับประเด็นคนไทยไร้เอกสารสิทธิครอบครองที่ดินและไร้สิทธิในการประกอบอาชีพ


/data/content/25520/cms/e_dhkorstvw345.png


        เมื่อวันที่ 23 ส.ค. ที่ผ่านมา ที่ วัดบางชันหมู่บ้านปากน้ำเวฬุ หมู่ 2 ต.บางชัน อ.ขลุง จ.จันทบุรี ภาครัฐ เอกชน และชาวบ้าน เข้าร่วมอบรมหลักสูตรบริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง (บสส.) รุ่นที่ 5 สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในหัวข้อ “บางชันโมเดล : คืนความสุขให้หมู่บ้านไร้แผ่นดิน” มุ่งยกระดับประเด็นคนไทยไร้เอกสารสิทธิครอบครองที่ดินและไร้สิทธิในการประกอบอาชีพกว่า 600 หมู่บ้านตลอดแนวชายฝั่งทะเลกว่า 2,000 กิโลเมตรทั่วประเทศขึ้นสู่พิจารณาในระดับประเทศเพื่อความเป็นธรรมของคนในชุมชน


     โดยมีผู้เกี่ยวข้องจากภาครัฐนักวิชาการและคนในชุมชนบางชัน เข้าร่วมในการสัมมนาครั้งนี้กว่า 200 คน เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นของคนในชุมชนและนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมโดยการกำหนดเป็นนโยบายของรัฐในการแก้ปัญหา


/data/content/25520/cms/e_dilrtuv15789.png     นายภีม ธงสันติประธานคณะผู้เข้าอบรมหลักสูตรบริหารการสื่อสารมวลชนระดับสูง รุ่นที่ 5 กล่าวว่า ตำบลบางชันเป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 64.4 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 40,305 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่เกษตร 19,050 ไร่, พื้นที่ว่างเปล่าและป่าไม้ชายเลน 21,225 ไร่ มีหมู่บ้านในเขตปกครอง จำนวน 6 หมู่บ้านมีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 1,323 ครัวเรือน ประชากร 3,678 คน ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ติดทะเล เป็นชุมชนเก่าแก่ ตั้งอยู่บริเวณปากน้ำเวฬุ ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2410 หรือประมาณ 147 ปี มาแล้ว เป็นหนึ่งในหมู่บ้านไร้แผ่นดินเนื่องจากตั้งอยู่บนเกาะ ไม่มีเอกสารสิทธิพื้นที่อยู่อาศัยมีกระแสน้ำขึ้นและน้ำลงโดยสิทธิในการครอบครองที่ดินเป็นของกรมประมงและกรมป่าไม้ ดังคำพูดที่ว่า "น้ำขึ้นเป็นของประมง น้ำลงเป็นของป่า" ไม้พื้นที่ดังกล่าวเดิมเป็นป่าชายเลนมีไม้โกงกางหนาแน่นทำให้คนชุมชนมีรายได้จากการเผาถ่านไม้โกงกางขายเป็นอาชีพและยังเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีการประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านได้แก่ เลี้ยงกุ้ง ตกปลา ยกยอ วางลอบปู แร้วปู เบ็ดราว เบ็ดธง อวนปู อวนลอยกุ้งกร่ำ แห และแทบทุกครัวเรือนใช้หลักเคย หรือ ยอยก 4 หู


      อย่างไรก็ตามคนในชุมชนกำลังประสบปัญหาทำกิน เนื่องจากทางราชการตีความให้หลักเคยหรือยอยก 4 หู/data/content/25520/cms/e_adelquyz1238.pngเป็นโพงพาง ทำให้กลายเป็นอาชีพที่ผิดกฎหมายในการประกอบอาชีพทางการประมงประกอบกับปัญหาสำคัญของชาวบ้านบางชันอีกอย่างหนึ่งสิทธิในการครอบครองที่ดินเพราะที่ดินเกือบทั้งหมดของตำบลอยู่ในพื้นที่ประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติซึ่งภาครัฐมีการกำหนดขึ้นภายหลังและทับซ้อนกับพื้นที่อยู่อาศัยทำให้คนในชุมชนไม่มีโฉนดเป็นของตนเอง นอกจากหมู่บ้านบางชันแล้วประเทศไทยยังมีหมู่บ้านไร้แผ่นดินอีกกว่า 600 แห่งตลอดแนวชายฝั่งทะเลไทย 2,000 กว่ากิโลเมตร ซึ่งปัญหาของคนในชุมชนเหล่านั้นควรได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วและเป็นระบบเพื่อคืนความสุขให้หมู่บ้านเหล่านั้นเพื่อสร้างอาชีพอย่างยั่งยืนและสนับสนุนการเป็นครัวของโลกด้านอาหารทะเล รวมถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวด้านโฮมสเตย์ที่มีมนต์เสน่ห์เพื่อเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการก้าวสู่การเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 ต่อไป


 


 


       ที่มา: เว็บไซต์เดลินิวส์


       ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ