บางกอกนี้…ดีจังมาเล่นกันเถอะ

/data/content/26883/cms/e_bcgkoprstuz9.jpg


          บางกอกนี้…ดีจัง โดยได้รับการสนับสนุนจากสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน จัดงาน "บางกอกนี้…ดีจัง ตอนมาเล่นกันเถอะ โดยความร่วมมือจากเครือข่าย บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บึงกุ่ม พระนคร บางนา และเครือข่าย สสย. เปิดซอย เปิดถนน ชุมชนบ้านบุสุวรรณารามเขตบางกอกน้อย ตั้งแต่โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม ถึง โรงรถจักรธนบุรี



          ภายในงานมีกิจกรรมศึกษาเรียนรู้ชุมชน รวมถึงเปิดพื้นที่ให้เด็กๆ ได้แสดงออกและทำกิจกรรมต่างๆ มากมายเช่น เวิร์คชอร์ปการจัดบอร์ด การทำขนม รวมถึงมีการแสดงด้านศิลปวัฒนธรรมให้รับชม



         เมื่อเร็วๆ นี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ผุสดี ตามไท รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครฯ เป็นประธานเปิดงานกิจกรรม "เมือง 3 ดี พื้นที่นี้ดีจัง" ดร.ผุสดี กล่าวว่า ปัจจุบันเด็กเยาวชนอยู่ท่ามกลาง สภาพแวดล้อม ที่เต็มไปด้วยความเสี่ยงและพิษภัย เด็กสามารถเดินถึงร้านเหล้าได้ภายใน7นาที ไปร้านเกมส์และแหล่งพนันได้ในเวลา15นาที เข้าถึงซีดีลามกและสถานบันเทิงได้ใน30นาที เด็กเยาวชนจำเป็นต้องมีทักษะชีวิตหลายด้าน และต้องอาศัยความตระหนักในปัญหาร่วมของทุกภาคส่วนในการช่วยกันควบคุมสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษต่อเด็กเยาวชน ร่วมมือร่วมใจกันส่งเสริมให้เกิด/data/content/26883/cms/e_adeghijrz248.jpgการรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยง และอิทธิพลของสื่อ มีกิจกรรมสร้างสรรค์ และเกิดพื้นที่ดี ลดพื้นที่เสี่ยง เพื่อที่จะเอื้อต่อการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาเด็กเยาวชนรวมถึงประชากรกลุ่มคนทุกวัยในชุมชนอย่างรอบด้าน


        กรุงเทพมหานคร ได้ตระหนักถึงความสำคัญ จึงได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาคี และสนับสนุนเครือข่ายชุมชน โรงเรียน ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมและพื้นที่ เป็นเครือข่าย บางกอกนี้…ดีจัง มีการพัฒนาศักยภาพเด็กเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน และเกิดพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่ปลอดภัย พื้นที่ที่คนในชุมชนได้มาใช้ประโยชน์ร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน และในวันนี้ ได้เกิดการร่วมมือ ร่วมแรงกายร่วมแรงใจ ในการเปิดพื้นที่ในชุมชนเมืองกทม. ให้มีชีวิต เป็นพื้นที่ที่ทุกคน ทุกเพศทุกวัย สามารถเข้ามาร่วมกิจกรรม ร่วมเรียนรู้ ร่วมสร้างสรรค์ ภายใต้งาน เมือง 3 ดี บางกอกนี้…ดีจัง


         น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้เพื่อต้องการสร้างเครือข่ายพื้นที่ ชุมชน 3 ดี ได้แก่ พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี หมายถึง เด็ก เยาวชน โรงเรียนและชุมชน จะได้ใช้สื่อที่เหมาะสมต่อการพัฒนาแต่ละช่วงวัย มีโอกาสเข้าถึงสื่อไม่จำกัดโอกาส เวลา และสถานที่ ที่สำคัญเป็นสื่อที่สร้างสรรค์เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนได้มาทำกิจกรรม เป็นพื้นที่ให้มาฝึกทักษะชีวิต เป็นพื้นที่รวมตัวกันทำงานอาสา ผ่านกระบวนการเรียนรู้สื่อที่เหมาะสมที่คนในชุมชนมีส่วนร่วม ในการออกแบบ สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ รวมถึงเป็นพื้นที่สำหรับเล่นและทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างปลอดภัย โดยจะมีการนำร่องสู่เมืองสื่อสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด1ชุมชน1ยิ้ม1โรงเรียน1ยิ้ม1ครอบครัว1ยิ้ม


         "การเกิดพื้นที่ดีครั้งนี้เป็นเพราะการใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน และการมีส่วนร่วมปกป้องดูแลและสร้าง/data/content/26883/cms/e_acefhpqvw245.jpgชุมชนให้น่าอยู่ ซึ่ง สสย.ยินดีที่จะได้ทำงานร่วมกับกรุงเทพฯและองค์กรภาคีเครือข่ายชุมชน โรงเรียน และทุกภาคส่วน ในการผลักดันให้ พื้นที่ ชุมชน กทม. เป็นเมือง 3 ดี โดยเริ่มจากโรงเรียนและชุมชน ซึ่งหวังว่า นักเรียนและครูจะสามารถเลือกสื่อและสร้างสรรค์สื่อดีๆให้กับโรงเรียน ชุมชน นักเรียน รวมถึงออกแบบพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์ในการเรียนรู้ ทำกิจกรรมเชิงบวกร่วมกัน เพื่อให้นักเรียนเกิดภูมิคุ้มกัน ห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยง สิ่งเสพติด"น.ส.เข็มพร กล่าว


         น.ส.เข็มพร กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีพื้นที่ ตัวอย่างทั่วกรุงเทพฯ อาทิ พื้นที่เขตบางกอกใหญ่ ชุมชนวัดหงษ์รัตนาราม ได้เริ่มทำพื้นที่สร้างสรรค์โดยใช้พื้นที่ที่บ้าน เป็นที่เล่น เรียนรู้ ของเด็กๆ ในชุมชน ส่วนชุมชนวัดอัมพวา เขตบางกอกน้อย ได้เชื่อมร้อยเครือข่ายเยาวชน สื่อชุมชน สิงโตเด็ก รำโทน สื่อภูมิปัญญา สื่อการละเล่น สร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาเด็กเยาวชน ส่วนชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย ในปีที่แล้วเกิดชมรมจักยาน ปั่นไปเรียนรู้ชุมชนและเป็นเครื่องมือในการทำกิจกรรมรณรงค์ และในปีนี้เด็กๆเยาวชนจับมือกับผู้ใหญ่ ชมรมจักรยานเกสรชุมชน ได้พัฒนาจุดจอดปลอดภัย , เส้นทางปลอดภัย , เพื่อนจักรยาน, สถานที่ให้ยืมและซ่อมบำรุง และจะพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ เส้นทางปั่นพัฒนาเป็นเส้นทางศิลปะ ขณะที่พื้นที่บางนา บึงกุ่ม บางแค พระนคร เกิดการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเด็กเยาวชน ลงสืบค้นรากเหง้าชุมชน เกิดเป็นกลุ่มกิจกรรม กลุ่มสื่อ กลุ่มการละเล่น กลุ่มศิลปวัฒนธรรม พัฒนามาสู่การเป็นผู้สื่อ ถ่ายทอด แบ่งปันในพื้นที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามเครือข่าย จนเกิดกลุ่มเด็กเยาวชนในโรงเรียน ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ไม่น้อยกว่า20 โรงเรียน


 


 


           ที่มา : สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน

Shares:
QR Code :
QR Code