บทเรียนจากคน(ไม่)ธรรมดา

พรวิเศษที่มีอยู่ในทุกคน

บทเรียนจากคน(ไม่)ธรรมดา

 

          เรื่องราวอีกมุมของคนธรรมดาๆ ที่มีบทเรียนน่าสนใจและมักจะถูกมองข้ามเรื่องเหล่านี้ ธนิษฐา แดนศิลป์ เขียนไว้ในหนังสือ คน(ไม่) ธรรมดา หากเชื่อว่า เราต่างเกิดมาพร้อมกับพรวิเศษที่มีอยู่ในตัวเราทุกคน ชีวิตเราไม่ต้องรอผู้วิเศษหรือซุปเปอร์ฮีโร่ สิบสิงคนหากอาชีพที่ค้นพบความสุขด้วยตัวเองและรู้ความต้องการที่แท้จริง และเรื่องราวชวนคิดการพัฒนาจิตในวงเสวนาเรื่อง จิตจัดการ งานจัดใจ จัดโดยมูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงษ์ ที่หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร

 

          หากจะให้เล่าจุดเปลี่ยนในการค้นหาความสุขของตัวเอง หมอแอน-พญ.ปริชวัน จันทร์ศิริ จิตแพทย์เด็ก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนึ่งในผู้เสวนาเล่าถึงชีวิตตัวเองว่า ชีวิตการเรียนที่ผ่านมาเป็นที่หนึ่งมาตลอด มีหน้าที่การงานดี จนน่าอิจฉาชีวิตน่าจะมีความสุขสมบูรณ์แบบ แต่มีบางอย่างที่เธอรู้สึก นั้นก็คือ “คนเก่ง รังแกฉัน” เพราะเธออยากใหช้ชีวิตแบบคนธรรมดา มีความสุขง่ายๆ

 

          ทุกวันนี้พยายามลดความเก่งลง รู้สึกว่าไม่อยากเก่งแล้ว อยากเอามันออกจากตัว อยากเป็นคนธรรมดา คนเก่งไม่ได้ให้สิ่งที่ดีเสมอไปมันมีผลกระทบต่อชีวิตเราเหมือนกัน และหนึ่งในนั้นก็คือทำให้เรามองสิ่งต่างๆ ในด้านลบเร็วกว่าด้านดีแทนที่จะเห็นสิ่งสวยงามกลายเป็นชอบจับผิด วิชาชีพหมอ สอนให้เราค้นหาสิ่งผิดปกติได้เร็ว มันเป็นความทุกข์ของคนเก่ง” หมอแอน เล่าถึงชีวิตช่วงหนึ่งและย้อนถึงวัยเด็ก

 

          เธอเป็นคนเก่ง ไม่ว่าเรื่องเรียนหรือการทำกิจกรรมอะไรก็ตาม ต้องได้ที่หนึ่งตลอด และการรักษาความเป็นที่หนึ่งยากมาก ทำให้เธอไม่มีความสุข และมีคำถามตลอดว่า ถ้าเราไม่ได้ที่หนึ่งจะเป็นยังไง

 

          ตอนนั้นเรามีชีวิตด้วยความไม่รู้ ฉันต้องที่หนึ่ง สิ่งเหล่านั้นส่งผลต่อคนรอบข้าง ความเก่งทำให้เรากลายเป็นคนหน้าดุ สร้างเกราะให้ตัวเองโดยไม่รู้ตัว ทำให้คนเข้าถึงเรายาก จึงพยายามจัดการความเก่งที่กระทบต่อเราให้ลดลง อยากมีชีวิตเหมือนคนธรรมการที่ใครๆ ก็เข้ามาทักทาย พูดคุย สนุก บ้า ไร้สาระเหมือนคนปกติ ไม่ต้องมีใครมาเกรงขาม รู้สึกเกร็งกับตัวเรา”

 

          หมอแอนเล่าต่อว่า งานที่ทำทุกวันนี้เป็นการเรียนรู้ชีวิตทางลัดจากประสบการณ์ผู้คนการทำงานกับเด็กและครอบครัว ทำให้เราได้ใกล้ชิดสัมผัสถึงแก่นแท้ที่ลึกที่สุดในจิตใจของมนุษย์ หมอต้องพยายามรักษาชีวิตคนไข้ และอีกส่วนคือรักษาความสุข และสร้างความหวังในการมีชีวิต เหมือนได้ร่วมเดินทางไปกับเส้นทางของเขา

 

          ครั้งหนึ่งเราอยู่กับเด็กป่วยเรื้อรังใกล้ตายเด็กคนนั้นบอกเราว่า ไม่ต้องการอะไร แต่อยากกลับบ้าน ฟังแล้วรู้สึกยิงใหญ่มากเราจดจำความรู้สึกนั้นตลอด เขาทำให้สัมผัสได้ว่าการที่คนเผชิญกับความตายรู้สึกยังไง สัมผัสถึงความรู้สึกของพ่อแม่ที่เห็นลูกกำลังจะตาย การที่เราได้มีโอกาสฟังเรื่องราว ความคิดของคน ทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น คำถามบางอย่างที่เราถามคนไข้เหมือนเราถามตัวเองด้วย ได้เรียนรู้จิตใจตัวเองเป็นการสะท้อนที่หัศจรรย์ ไม่เคยมีใครสอนไม่มีในตำรา”

 

          เรื่องราวของจิตจัดการใจของหมอแอนเป็นเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจ การเรียนรู้ใจตัวเองพยายามค้นหาความสุขง่ายๆ เธอเล่าว่า คนเรามีตาที่มองออกข้างนอกตลอดเวลา มองเห็นทุกสิ่งรอบคัว แต่ไม่เคยเห็นหน้าตัวเองจริงๆ เห็นแต่เงาในกระจกเท่านั้น

บทเรียนจากคน(ไม่)ธรรมดา

 

          ถ้าเรามองอย่างลึกซึ้ง เราจะพบสิ่งที่ละเอียดอ่อนหลายอย่างจะให้คุณค่ากับสิ่งเล็กๆ มากขึ้น ชีวิตเหมือนเหรียญสองด้านเวลาเจอปัญหาหมอจะถามตัวเองว่าเหรียญอีกด้านเป็นยังไงหากโลกเป็นอย่างนี้ตั้งแต่เราเกิดและตายเราเปลี่ยนไม่ได้ แต่เราสามารถเลืกชีวิตได้ว่าจะมีชีวติแบบไหน” นั่นเป็นเรื่องราวที่หมอแอนสะท้อนให้เห็นภาวะด้านใน

 

          ส่วน นันทา ตันสัจจา เจ้าของโรงหนังสยามหลังจากเหตุการณ์ความรุนแรงในกรุงเทพฯ โรงหนังได้ถูกเผาจนวอด เธอมีวีธีการจัดการความรู้สึกอย่างไรเมื่อกิจการโรงหนังต้องหยุดชะงัก

 

          ก่อนวันโรงหนังถูกเผาเราก็ไปทำงานทุกวันจนกระทั่งเหตุการณ์หนักขึ้น พนักงานห้ามเรามาทำงาน ตอนนั้นนั่งดูเหตุการณ์ในทีวี มีบังเกอร์มีทหารถือปืน จนกระทั่งมีเผา เราก็คิดว่า เออ…เหมือนในหนังเลนนะ สักพักสะดุดตา เอ๊ะ..นั่นโรงหนังเรานี่นา ตายจริงเราจะทำยังไง ทำอะไรไม่ได้เลย มำได้แค่มองโรงหนังตังเองถูกเผาในทีวี”

 

          เธอเล่าถึงภาพแรกที่เห็นโรงหนังสยามถูกเผาไม่เหลืออะไรเลย ความรู้สึกวูบแทบร้องไห้ น้ำตาเริ่มจะไหล แต่พอหันหลังไปเห็นลูกน้องตาดำๆยืนสะอื้นก็บอกตัวเองว่า ร้องไห้ตรงนี้ไม่ได้นะเพราะเด็กร้องไห้กำลังใจลูกน้องว่า ไม่เป็นไร

 

          แต่ใช่ว่าร้องไห้ไม่เป็น เราเสียใจกลับมาร้องไห้ที่บ้านเหมือนกัน ไม่เพียงแค่ลูกน้องคนค้าขายที่เช่าสถานที่ข้างโรงหนังก็ร้องไห้วิ่งมากอดให้กำลังใจ สิ่งที่ทำคือการแสดงถึงความเป็นผู้นำบอกว่า ไม่เป็นไร ตอนนั้นไม่มีเวลามานั่งเศร้าโศกเสียใจ ได้แต่บอกตัวเองว่ามองไปข้างหน้าดีกว่า แล้วสู้กับมัน ต้องตั้งสติ ทำใจ ให้เข้มแข็ง ทำให้ลูกน้องมีกำลังใจแล้วก้าวไปข้างหน้าพร้อมๆกัน”

 

          จากเหตุการณ์วันนั้น แฟนๆ โรงหนังได้ส่งผ่านกำลังใจมาให้มากมายทำให้เธอรู้สึกซาบซึ้งเหมือนมีดอกไม้บานในใจ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้เธอเจอวิกฤตตค่อนข้างหนัก ทั้งเรื่องคุณแม่โดนจับเรียกค่าไถ่ โรงหนังลิโด้เคยถูกไฟไหม้ครั้งหนึ่งแต่วามาถช่วยกันดับไฟได้

 

          ทุกครั้งที่เจอปัญหา จะบอกตัวเองว่าไม่เป็นไรข้างหน้ายังมี หายใจเข้าลึกๆ ยืดตัวไว้เดี๋ยวเราต้องคิดได้ ผ่านได้ สู้ได้ แล้วมันก็ทำได้จริงๆ เพราะเรายังมีความสุขในการทำงานและมีกำลังใจอยู่ต่อไป”

 

          ส่วน ธนิษฐ แดนศิลป์ เจ้าของหนังสือคน(ไม่)ธรรมดา เล่าว่า ถ้าทำงานอะไรแล้วคุณภาพงานจะสะท้อนตัวเอง ที่ผ่านมาได้เห็นคนพยายามทำงานเก็บเงินก้อนโตแล้วบริจาคให้คนในองค์กรก่อน

 

          งานของเราเป็นการให้ทานคนอื่นเหมือนกันทำไมเราไม่เอาเงินนั้นมาจัดหน่วยงานตัวเองให้ดีและดูแลคนที่ทำงานที่เกื้อกูลกันไม่ดีกว่าหรือ” เธอเล่าถึงวิธีการทำงานอย่างมีความสุข

 

          ดังนั้นเวลาเขียนสารคดี เธอเลือกเรื่องที่สร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ช่วยเหลือผู้คน เพราะอยากให้คนได้อ่านมิติในชีวิตมนุษย์ที่หลากหลาย ธนิษฐา บอกว่า ถ้าเราทำอะไรแล้วเห็นค่าสิ่งที่ทำผลงานจะสะท้อนตัวตนออกมาเองและการเดินทางก็ทำให้ได้เห็นความงดงามในจิตใจของคนมากมาย โดยเฉพาะความมานะของผู้ชายคนนี้ สำเร็จ สิริสุข หนึ่งในสิบสิงเรื่องราวในหนัง คน(ไม่)ธรรมดา เธอรู้จักเขาตั้งแต่เป็นเถ้าแก่ใหม่ๆ เขาดูเรียบง่ายสมถะ

 

          ชอบคำหนึ่งที่เขาเล่าให้ฟังว่า “มีคนบอกว่าสิ่งที่ผมทำไปไม่รอดหรอก ซื่อๆ โง่ๆ อย่างนี้” แต่เขาโต้กลับไปว่า “เราจะทำ เพราะเราเก่งงานหวาย จะทำอย่างอื่นได้ไง เราต้องทำในสิ่งที่เราถนัด” ทำให้สะท้อนใจว่า การที่เราทำงานเขียนเราต้องเชื่อมั่นว่าสักวันเราต้องมุ่งมั่นเขียนให้ได้ดีเช่นกัน”

 

          ความงดงามในจิตใจผู้คนคือ สิ่งที่เธอค้นพบ ธนิษฐา แนะว่า เราต้องไม่บล็อกตัวเอง

 

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

 

 

 

update: 08-07-53

อัพเดตเนื้อหาโดย: คมสัน ไชยองค์การ


Shares:
QR Code :
QR Code