บทบาทเชิงรุกองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่

ที่มา : เว็บไซต์ Smartonline ข้อมูลโดย สุขสันต์ เสลานนท์ กองบรรณาธิการ Smartonline


ภาพประกอบจากเว็บไซต์ Smartonline


บทบาทเชิงรุกองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่ thaihealth


บทบาทเชิงรุกองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่


มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสังคมอาเซียนปลอดบุหรี่ (SEATCA) สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดประชุมระดมความคิดบทบาทเชิงรุกขององค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นใหม่ไม่สูบบุหรี่ ในพื้นที่ภาคกลาง จำนวน 44 อปท. โดยมี เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 5 แห่ง เทศบาลตำบล 8 แห่ง และ อบต. 14 แห่ง จาก 13 จังหวัด นครนายก ราชบุรี อุทัยธานี นครสวรรค์ นครปฐม เพชรบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี ระยอง นนทบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และพระนครศรีอยุธยา


การระดมความคิดบทบาทเชิงรุกขององค์กรปครองท้องถิ่น อปท.จะได้รับรู้ถึงสถานการณ์การสูบบุหรี่ปัจจุบันในระดับประเทศและรายจังหวัด การได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การรณรงค์จาก อปท. รุ่นพี่ถึงแนวทางการขับเคลื่อนงานในชุมชน 4 พื้นที่ คือ การทำงานกับ Gen Z ของอำเภอแคนดง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยนายสมชาติ เริงจรัล พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ โรงพยาบาลแคนดง การทำ MOU กับหน่วยงานใน อปท.ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้เรื่องกฎหมายใหม่ ที่ อบต.ปกาสัย อ.คลองท่อมเหนือ จ.กระบี่ โดยนายสุพมาศ พรมหมมาส เจ้าหน้าที่ อบต.ปกาสัย  และการจัดสิ่งแวดล้อมและสถานที่สาธารณะเป็นเขตปลอดบุหรี่ ด้วยการประกาศเป็นคำสั่งที่ สถานีรถ บขส. จังหวัดสระบุรี โดยนางสาววฎาการ พิรุณ เจ้าหน้าที่สำนักการสาธารณสุขฯ เทศบาลเมืองสระบุรี และ (ตลาดเทศบาล) กาดฮิมกว๊านพะเยาปลอดบุหรี่ จังหวัดพะเยา โดยนางวัชรีพรรณ เตมียบุตร รองนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองพะเยา


และจะได้ร่วมกันหาแนวทางการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ที่จะนำไปต่อยอดและขับเคลื่อนงานในชุมชน ในการระดมความคิดมีประเด็นที่เป็นเป้าหมายในการทำงาน กลยุทธ์ในการประชาสัมพันธ์กฎหมายใหม่ให้มีประสิทธิภาพอย่างไร การเชื่อมงานร่วมขับเคลื่อนกับภาคีเครือข่ายใดบ้างและมีบทบาทอย่างไร และสิ่งที่จะกลับไปทำภายใน 3 เดือน ข้อสรุปดังนี้


– มีเป้าหมายร่วมกันคือ ป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ช่วยคนเลิกสูบ และลดควันบุหรี่ในบ้าน


– กลยุทธ์การทำงาน มีการอบรม กิจกรรมรณรงค์ การประชาสัมพันธ์กฎหมายเชื่อมกับสื่อมวลชน เสียงตามสาย และสื่อโซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ


– ภาคีเครือช่ายที่จะไปเชื่อมงาน ผู้นำชุมชนทุกภาคส่วน เครือข่ายเยาวชนในจังหวัด สถานศึกษา สิ่งที่จะต้องกลับไปทำในช่วง 3 เดือนนี้คือ การจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนงานให้เป็นรูปธรรมและมีความต่อเนื่องแบบยั่งยืน

Shares:
QR Code :
QR Code