นายอำเภองดเหล้า รู้ทันการตลาดแอลกอฮอล์

          ประสานพลังนายอำเภอ ร่วมรู้ทันการตลาดแอลกอฮอล์ ป้องกันปัญหานักดื่มหน้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นทุกปี


/data/content/25599/cms/e_ahikqvz34567.jpg


          "บริษัทเหล้าใช้วิธีเข้าไปมอบเงินรางวัลให้กับการแข่งขันกับกีฬาระดับตำบล โดยเข้าไปทำซีเอสอาร์ทั้งการศึกษา ศาสนา สาธารณสุข วัฒนธรรมและการกีฬา" ธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) บอกถึงกลยุทธ์การสร้างความภักดีต่อแบรนด์ของบริษัทเหล้า ด้วยการทุ่มงบประมาณมหาศาลเพื่อให้คนในชนบทเห็นแบรนด์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยังใช้โอกาสนี้ขายเหล้าในงานแข่งขันกีฬาด้วย หรือตัวอย่างการอบรมให้ความรู้ของบริษัทเหล้าที่ เลือกนศ.ที่เป็นหัวกะทิมาเข้าค่ายอบรมความรู้เรื่องธุรกิจประมาณ 3-4 เดือน เมื่อจบค่าย นศ.เหล่านี้จะไปบอกต่อในมหาวิทยาลัย ถึงวิถีวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทเหล้า


          ภายใต้ทุนการทำตลาดที่เข้มแข็งของบริษัทเหล้า ส่วนหนึ่งเพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมายที่ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้จัดการสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) กล่าวว่า การทำงานของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า โดยการสนับสนุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่มีงบการทำงานน้อย มากเมื่อเทียบกับบริษัทเหล้า สคล.ได้ร่วมกับ สสส.และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ได้จัดโครงการเชิดชูเกียรติกับนายอำเภองดเหล้า ลดปัจจัยเสี่ยงมาตั้งแต่ปี 2556 ให้กับนายอำเภอ 152 อำเภอทั่วประเทศ ที่มีผลงานสนับสนุนการรณรงค์งดเหล้า ลดปัจจัยเสี่ยง ใช้โอกาสรณรงค์ช่วงเข้าพรรษา รณรงค์จัดงานศพงดเหล้า การเฝ้าระวังบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


          ในปี 2557 โครงการได้มอบโล่เชิดชูเกียรติ ให้นายอำเภอทั่วประเทศอีกจำนวน 131 คน พร้อมร่วมฟังเสวนา เรื่อง นโยบายสาธารณะ มาตรการรณรงค์ การสร้างภูมิคุ้มกันในเด็ก โดยพลังจิตใต้สำนึกและรู้เท่าทันการตลาดของธุรกิจแอลกอฮอล์ ณ รร.เซ็นทราศูนย์ราชการ


       /data/content/25599/cms/e_abhlmnvxy237.jpg   ดร.สายฤดี วรกิจโภคาทร นักวิชาการด้านพัฒนาการเด็กและครอบครัว บอกเล่าถึงกรณีการศึกษาเรื่องเด็กว่า ในเด็กวัยก่อน 5 ขวบมีประสาทสัมผัสอายตนะทั้ง 6 ครบทุกด้านทั้งตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดังนั้นหากครอบครัวดื่มเหล้าหรือสูบบุหรี่ ให้เด็กมามีส่วนในการดื่มเหล้า เมื่อเด็กโตขึ้นจะซึมซับเรื่องราวเหล่านี้ มองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ร้ายแรง ดังนั้นการรณรงค์เรื่องเหล้าและบุหรี่กับวัยรุ่นจึงถือว่าเป็นเรื่องที่สายเกินไป เช่นเดียวกับสื่อรณรงค์เรื่องเหล้าบุหรี่บนพื้นที่สาธารณะ ไม่มีป้ายหรือการสื่อสารที่ทำให้เด็กวัยนี้ให้เข้าใจ เราทำสื่อสำหรับผู้ใหญ่หรือกระทั่งหนังสือสำหรับเด็ก ขณะนี้มีเพียง 5 เล่มที่พูดถึงเรื่องผลร้ายของเหล้าบุหรี่


          "ในโรงเรียนส่วนใหญ่สอนเรื่องการใช้ชีวิตประจำวันเช่น แปรงฟัน ล้างมือ แต่ยังมีเรื่องอื่น ๆ  ที่เด็กในวัย ก่อน 5 ขวบต้องเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องของเหล้าบุหรี่" ดร.สายฤดี กล่าว


          อย่างไรก็ตาม ไม่เฉพาะประเทศไทยที่บริษัทเหล้าพยายามจะสร้างการจดจำให้กับกลุ่มเด็กในญี่ปุ่นเช่นกันมีเครื่องดื่มที่สื่อความหมายถึงการดื่มเหล้าเป็นเครื่องดื่มมีฟองแต่ไม่มีแอลกอฮอล์พยายามจะสื่อว่า เมื่อสอบตก แข่งกีฬาแพ้ต้องดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้


          นักวิชาการด้านพัฒนาการเด็กและครอบครัว เสริมว่าการส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กหนังสือยังเป็นสิ่งที่เด็กได้ใช้สัมผัสอายตนะทั้ง 6 ได้เกือบครบถ้วนต่างจากแท็บเล็ต เด็กได้เรียนรู้เพียงปลายนิ้ว เป็นภาพมายาเท่ากับปิดโอกาสการเรียนรู้ของเด็กไปอย่างน่าเสียดาย


          ด้าน อ.อัฉรา ประดิษฐ์ อ.สาขาวรรณกรรมสำหรับเด็ก ม.ศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า บทบาทของนายอำเภอจะเป็นแกนนำที่สำคัญในชุมชนเพราะการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในบ้านเราล้วนมาจากปัจเจกบุคคล/data/content/25599/cms/e_cegkmnxz4568.jpg


          ขณะที่ ดร.บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ม.เกริก กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทเหล้าเลี่ยงกฎหมายด้วยการผลิตน้ำดื่ม แต่จริง ๆ แล้วยอดขายน้ำดื่มมีสัดส่วน น้อยมากเมื่อเทียบกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ขาย ยอดขายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อปีมีนับแสนล้านบาท โดยเน้นการสร้างแบรนด์ให้ผู้จดจำผ่านโลโก้ ซึ่งรวมทั้งกลุ่มเด็กจะจดจำสินค้านี้ได้อย่างแม่นยำ


          ด้าน นายกฤษฎา บุญราช อธิบดีกรมการปกครอง กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย มีนโยบาย "ลดอบายมุขสร้างสุขให้สังคม" โดยร่วมกับประชาคมงดเหล้าจังหวัด และภาคีเครือข่าย ทำกิจกรรมรณรงค์สร้างความเข้าใจ โดยเฉพาะปัญหานักดื่มหน้าใหม่ที่เพิ่มขึ้นถึงปีละกว่า 250,000 คน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากถึงปีละกว่า 4 แสนล้านบาท รวมทั้งเป็นเหตุของปัญหาอุบัติเหตุ อาชญากรรม โดย เฉพาะทำให้เยาวชนต้องมีปัญหาตามมามากมาย เช่น ท้อง แท้ง ติดเอดส์ ติดคุก ฯลฯ พร้อมให้ นายอำเภอ ที่ร่วมโครงการสานต่อเจตนารมณ์ เป็น แบบอย่างที่ดี


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Shares:
QR Code :
QR Code