นักเล่านิทาน เมื่อเรื่องเล่ามีชีวิต

ที่มา : เว็บไซต์ครูกล้าสอน kruklasorn.org


ภาพประกอบจากเว็บไซต์ครูกล้าสอน kruklasorn.org


นักเล่านิทาน เมื่อเรื่องเล่ามีชีวิต thaihealth


รายงานสรุปกิจกรรม เวทีสาธารณสัญจรครั้งที่ 4 Spiritual Talks on Campus #4 “นักเล่านิทาน เมื่อเรื่องเล่ามีชีวิต” ณ ห้องประชุมริมน้ำ LA 107 คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์


โครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ได้จัดเวทีสาธารณะสัญจร ครั้งที่ 4 Spiritual Talks on Campus #4 “นักเล่านิทาน เมื่อเรื่องเล่ามีชีวิต” เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือประกอบโครงการฯ “นักเล่านิทานและเรื่องอื่น ๆ” เขียนโดย นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว ซึ่งจัดขึ้น เมื่อไม่นานมานี้ เปิดเวทีด้วยการเกริ่นนำการจัดกิจกรรม ความร่วมมือกับโครงการ “สวนป๋วย” และแนะนำโครงการพัฒนาสุขภาวะทางปัญญาด้วยชุมชนเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง


จากนั้นเป็นการแสดงเดี่ยวดนตรีปกาเกอะญอ “เตะหน่ากู” ประกอบการเล่าเรื่อง และนิทานชนเผ่า โดย ชิ สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ ก่อนที่จะตั้งวงสนทนา “นักเล่านิทาน เมื่อเรื่องเล่ามีชีวิต” โดย นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว นักเขียน นักเล่าเรื่อง ศรัณย์ ทองปาน นักเขียนสารคดี นักวิชาการอิสระ จารุประภา วะสี นักวิชาการด้านจิตปัญญา และชิ สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ นักดนตรี นักเล่านิทาน นักวิชาการด้านภูมิปัญญาชนเผ่า


นักเล่านิทาน เมื่อเรื่องเล่ามีชีวิต thaihealth


วงสนทนาได้พูดถึงความสำคัญของการเล่าเรื่อง พลังของการเรื่องเล่า ที่เป็นเครื่องมือสื่อสารของมนุษย์อันเก่าแก่สามารถถ่ายทอดภูมิปัญญา องค์ความรู้ จากรุ่นสู่รุ่นเป็นเรื่องราวที่มีชีวิตชีวา เปี่ยมความหมาย ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่เข้าถึงความเป็นมนุษย์ เป็นวิธีส่งต่อการเรียนรู้ ที่ผู้คนในสมัยปัจจุบันอาจจะไม่มีโอกาสรับฟังเรื่องเล่าเท่ากับผู้คนในอดีต กระบวนการถ่ายทอดหรือเล่าเรื่องนั้น เริ่มต้นจากความอยากรู้อยากเห็นของตัวผู้เล่าเรื่องเอง ในระหว่างการเล่าเรื่องยังเป็นการสานสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่ากับผู้ฟัง เรื่องเล่าจึงเป็นพื้นที่แห่งจินตนาการระหว่างผู้เล่ากับผู้ฟัง


วิทยากรนักเล่าเรื่อง ยังได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในการสะสมเรื่องเล่า ผ่านการเป็นผู้ฟังที่ดี เป็นผู้เก็บรวบรวมเรื่องเล่าผ่านการสัมภาษณ์ ซึ่งเป็นวิถีธรรมชาติของการแสวงหาความรู้ในตัวมนุษย์ ก่อนที่จะประดิษฐ์คิดค้นเป็นกระบวนวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นหลักวิชาการ


นักเล่านิทาน เมื่อเรื่องเล่ามีชีวิต thaihealth


ฉะนั้น กระบวนการเล่าเรื่อง และเรื่องเล่า จึงเป็นการทำงานกับตัวตนของความเป็นมนุษย์ตั้งแต่ตัวผู้เล่าเรื่อง ไปจนถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน หรือระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ


หลังจากวงสนทนาจากวิทยากรแล้ว ได้มีการเปิดวงแลกเปลี่ยน และทำกิจกรรมเพื่อให้ผู้ร่วมกิจกรรมมีส่วนร่วม และมีประสบการณ์ในการถ่ายทอดเรื่องราวผ่านการบอกเล่า ทำให้บรรยากาศผ่อนคลาย เป็นกันเอง และผู้ร่วมกิจกรรมได้มีประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกัน


นักเล่านิทาน เมื่อเรื่องเล่ามีชีวิต thaihealth


นอกจากนี้ ยังได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมาทำข่าว เช่น รายการ “ไทยบันเทิง” สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ และหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ “จุดประกาย”

Shares:
QR Code :
QR Code