นวัตกรรมนอกห้องเรียนสอนเด็กเก่ง-ดี-มีความสุข

นวัตกรรมนอกห้องเรียนสอนเด็กเก่ง-ดี-มีความสุข thaihealth


จากโครงการส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ระดับประถมศึกษาครั้งที่ 1 เมื่อปี 2554-2555 มาเป็นโครงการต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์การเรียนรู้เพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชน มีระยะเวลาดำเนินการในปี 2557-2558 สนับสนุนโดยสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


ดร.อุบล เล่นวารี หัวหน้าโครงการการติดตามสนับสนุนและประเมินผลโครงการ อธิบายว่า เป็นลักษณะการทำงานที่เกิดขึ้นจากตัวครูและโรงเรียน ไม่เหมือนระบบเดิม ที่มีการสั่งจากข้างบน กิจกรรมต่างๆ เกิดจากใจของครูว่าอยากคิดทำอะไร โดยเน้นการทำงานเป็นทีม เพราะรูปแบบกิจกรรมจะทำให้เกิดการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในโรงเรียน เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูในโรงเรียนที่ต้องทำงานด้วยกัน


ประเด็นหลักๆ ที่โครงการเน้นมี 2 ประเด็น  1.เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะแก่ผู้เรียน ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม 2.เพื่อป้องกันและลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาวะ ซึ่งขณะนี้มีการดำเนินการโครงการดังกล่าวถึง 46 โครงการ ทั่วประเทศ


เรื่องสุขภาวะแยกไม่ออกออกจากการเรียน หากเยาวชนมีสุขภาวะที่ดี สุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพใจสมบูรณ์ จิตใจก็จะสดชื่น ส่งผลให้การเรียนรู้ในด้านวิชาการเร็วขึ้น เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นการพัฒนาขึ้นไปโดยอัตโนมัตินวัตกรรมนอกห้องเรียนสอนเด็กเก่ง-ดี-มีความสุข thaihealth พร้อมกับเรื่องจริยธรรมควบคู่กันไป หรือเรียกว่า เก่ง ดี มีความสุข


3 โรงเรียนที่มีกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียน ได้แก่ โรงเรียนชุมชนวัดท่าเดื่อ อ.เมืองเชียงใหม่ โรงเรียนบ้านคุณแม่ อ.หางดง และโรงเรียนบ้านน้ำตกแม่กลาง อ.จอมทอง ซึ่งแต่ละโรงเรียนมีโครงการต่างกันไป


โรงเรียนชุมชนวัดท่าเดื่อ ที่ผ่านมาประสบปัญหา ครอบครัวนักเรียนส่วนใหญ่มีฐานะยากจน และมีส่วนหนึ่งที่เป็นลูกหลานแรงงานต่างด้าว นักเรียนขาดเรียนบ่อย เนื่องจากสภาพครอบครัวที่ต้องหาเช้ากินค่ำ ขาดการดูแลเอาใจใส่สุขภาวะของบุตรหลาน


จึงต่อยอดโครงการ "หนึ่งห้องเรียน หนึ่งนวัตกรรม สืบสานนาฏศิลป์ไทย สายใยแห่งการเรียนรู้" นำมาส่งเสริมสุขภาพร่างกายและจิตใจให้แก่นักเรียน กลายเป็น "โครงการหนึ่งห้องเรียน หนึ่งนาฏลีลา พัฒนาเด็กไทย ใส่ใจสุขภาพ" ตั้งแต่ป.1 ถึง ป.6 มีทั้งการฟ้อน ระบำนาฏลีลา และรำวงย้อนยุค ใช้โอกาสหลังการเข้าแถวเคารพธงชาติ เต้นเพลงรำวงร่วมกันระหว่างครูกับนักเรียน


ครูเยาวลักษณ์ ศรีนวล ผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าว่า นาฏศิลป์ไม่ได้มีเพียงแค่ความสวยงาม แต่สามารถนำมาพัฒนาสุขภาพของเด็กนักเรียนได้ เพราะต้องมีการฝึกท่าทางและสรีระร่างกายในรูปแบบต่างๆ โดยความสวยงามอ่อนช้อยในการแสดงต่างๆ ทำให้เกิดความแข็งแรงของผู้ที่ร่ายรำ


"ก่อนที่จะรำก็จะต้องมีการยืดเส้นยืดสายกันก่อน เหมือนกับการวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกาย เพื่อให้เกิดการพัฒนากล้ามเนื้อ มัดเล็กมัดใหญ่ ที่สำคัญการฝึกนาฏลีลายังช่วยพัฒนาในเรื่องของบุคลิกภาพทั้งการยืน เดิน นั่งได้เป็นอย่างดี และเรายังได้แต่งเพลงเพื่อสุขภาพ รณรงค์เรื่องของการสูบบุหรี่ อาหาร ความมีวินัย" ครูเยาวลักษณ์เล่า


ที่ร.ร.บ้านคุณแม่ เลือกทำกิจกรรม "บทเพลงเพื่อสุขภาวะทางปัญญา" เพราะเชื่อว่า "เสียงเพลง" เป็นสื่อสุนทรียภาพที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนได้เป็นอย่างดี คณะครูได้ใช้บทเพลงเป็นเครื่องมือในสื่อสารเรื่องราวด้านสุขภาพ และให้เด็กใช้จินตนาการแต่งเพลงเองด้วย มีทั้งเด็กเล็กตั้งแต่ ป.1 ไปถึงเด็กโตป.6


ครูกันต์ฤทัย ห้วยทราย ผอ.ร.ร.บ้านคุณแม่ เล่าว่า เดิมทำโครงการของเล่นพื้นบ้านกับวิทยาศาสตร์ มีการแต่งเพลงเพื่อความสนุกสนาน พอมาเป็นเรื่องสุขภาวะ จึงนำเพลงมาใช้เป็นสื่อต่อเลย เนื้อเพลงทั้งหมดเด็กๆ ช่วยกันแต่งขึ้นเอง มีครูช่วยทำดนตรีประกอบให้ ตอนนี้มีถึง 15 เพลง แบ่งเป็นเพลงด้านสุขภาวะทางร่างกาย 5 เพลง เพลงส่งเสริมสุขภาวะทางสังคม 5 เพลง และเพลงส่งเสริมสุขภาวะทางจิตและปัญญา 5 เพลง


นวัตกรรมนอกห้องเรียนสอนเด็กเก่ง-ดี-มีความสุข thaihealth"เราเปิดเพลงในช่วงเช้า กลางวัน เย็น สังเกตได้ว่าเด็กจะมีองค์ความรู้เรื่องสุขภาวะมากขึ้น เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม มีความเอื้ออาทรระหว่างรุ่นพี่ กับรุ่นน้อง มีการให้อภัยและแบ่งปัน ซึ่งมีเพลงเป็นสื่อที่ช่วยกล่อมเกลาให้เด็กๆ พัฒนาจิตใจและปัญญา ให้รู้จักใช้ชีวิตอย่างมีความสุข" ครูกันต์ฤทัยบอก


ส่วน ร.ร.บ้านขุนกลาง อยู่ในชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังอย่าง "น้ำตกแม่กลาง"และ "อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์"ปัญหาใหญ่ คือ เรื่องขยะที่รถขยะจะเข้ามาอาทิตย์ละครั้งเท่านั้น จึงเป็นที่มา "โครงการขยะสูญ เพิ่มพูนสุขภาวะ" เพื่อให้เด็กนักเรียนมีจิตสำนึกรักความสะอาดต่อสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็นฐานสำรวจปัญหา, อาสาตามหาขยะ, ห้องเรียนปลอดขยะ, โรงเรียนปลอดขยะ และสถานีขยะสูญ


ครูวรวีร์ ดวงเด่น ผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าว่า โครงการนี้เด็กๆ ได้เรียนรู้และได้ปฏิบัติด้วยตนเองในทุกๆ ฐานการเรียนรู้ทั้ง 5 ฐาน มีการฝึกทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพจากเศษอาหาร การรีไซเคิลวัสดุที่เหลือใช้ให้เกิดประโยชน์ กระทั่งเด็กๆ เรียนรู้ว่าอาหารอะไรมีผลเสียต่อสุขภาพของเขา


นอกจากนี้ ยังได้ปลูกสำนึกจิตอาสาเรื่องการทำความสะอาดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ในช่วงเทศกาลท่องเที่ยวด้วย


 


 


ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด โดย ธิติ มีแต้ม


ภพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code