ธารน้ำใจสู่เด็กไทย ลดความเหลื่อมล้ำด้วย`โซเชียล`

ที่มา : หนังสือพิมพ์บ้านเมือง


ภาพประกอบจากเทใจดอทคอม


ธารน้ำใจสู่เด็กไทย...ลดความเหลื่อมล้ำด้วย \'โซเชียล\' thaihealth


ถ้าความช่วยเหลือทางสังคม ถูกจำกัดด้วยงบประมาณจากภาครัฐ พลัง "Social Enterprise" หรือกิจกรรมเพื่อสังคม จึงถูกหยิบมาเป็นอีกหนึ่งช่องทาง สร้างพลังการมีส่วนร่วมระดมทุนทั้งจากภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป ผ่าน "เทใจดอทคอม" โดยใช้โซเชียลเป็นสื่อกลางให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สิ่งแวดล้อม การศึกษา สุขภาพ ศิลปวัฒนธรรม เทคโนโลยี ฯลฯ


การจับมือ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) และผู้ใหญ่ใจดีอย่าง "บมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น" ร่วมเป็นหนึ่งในองค์กร CSR ที่ยินดีเป็นสื่อกลางระดมทุนเชิงบวก ผ่านhttp://taejai.com/projects/qlf เชื่อมโยงความช่วยเหลือ สนับสนุนเงินทุนให้กับโรงเรียน ครู และนักเรียน ที่ต้องการเพิ่มศักยภาพ สร้างนวัตกรรมในการเรียนการสอนและยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในชั้นเรียน…


ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้ช่วยผู้จัดการด้านวิจัยและนโยบาย สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) บอกว่า เมื่องบประมาณการศึกษาของไทยใกล้ชนเพดาน แต่เม็ดเงินที่เหลือเป็นงบพัฒนาผู้เรียนและคุณภาพการเรียนการสอนของครู เหลือเฉลี่ยเพียงวันละ 13 บาทต่อคนต่อวันแล้ว การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน, ประชาชนทั่วไป และ Social Enterprise จึงเป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้อย่างมาก


ธารน้ำใจสู่เด็กไทย...ลดความเหลื่อมล้ำด้วย \'โซเชียล\' thaihealth


ซึ่งความก้าวหน้าในความร่วมมือของ สสค.และเทใจดอทคอม หลังจากร่วมกันเปิดพื้นที่กลางที่จะช่วยเหลือโรงเรียนในด้านต่างๆ ผ่าน http://taejai.com/projects/qlf ที่จะเชื่อมคนใจดีทุกคน องค์กรพัฒนาสังคม และภาคเอกชน ด้วยการสร้างเครือข่ายความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) ให้เข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุนโครงการต่างๆ ของเครือข่ายโรงเรียนที่ สสค.ทำงานร่วมให้เกิดการต่อยอด โดย 6 โครงการแรกคือ 1.โครงการสลักสบู่เพื่อทุนการศึกษา จ.กำแพงเพชร 2.โครงการมัลติพอยท์สื่อการสอนที่มาลบคำว่า "ขาดแคลน" จ.เชียงใหม่ 3.โครงการคืนครูให้เด็กท้ายเขื่อน จ.กาญจนบุรี 4.โครงการอุปกรณ์อาหารแก่โรงเรียนขุนบ้านแม่ตื่นน้อย 5.โครงการห้องสมุดของเล่นเด็กพิการ จ.กระบี่ และ 6.โครงการเด็กรักน้ำตกภูวัว จ.บึงกาฬ ซึ่งทางสสค.ได้ร่วมกันพัฒนาโครงการร่วมกับโรงเรียนนำร่องที่เข้าหลักเกณฑ์ คือ 1) มีความจำเป็นเร่งด่วน เช่น ความขาดแคลนด้านโครงสร้างและความจำเป็นพื้นฐาน 2) โครงการที่มีนวัตกรรมควรค่าต่อการต่อยอดและขยายผล 3) โครงการที่สร้างให้เกิดความยั่งยืน และ 4)มีหน่วยงานหรือผู้รับผิดชอบชัดเจนพร้อมรายงานผลการทำงาน


"สำหรับความร่วมมือนี้จะเป็นโครงการระยะยาวที่ สสค.ทำร่วมกับเทใจดอทคอม โดยทาง สสค.จะทำหน้าที่เชื่อมเครือข่ายภาคการศึกษาเพื่อคัดกรองโรงเรียนตามหลักเกณฑ์ในเบื้องต้น และร่วมกับเทใจดอทคอมในการพัฒนาโครงการของโรงเรียนให้เข้มแข็งพร้อมที่จะระดมทุน อีกทั้งเรายังร่วมกันติดตามความคืบหน้าโครงการเพื่อประชาสัมพันธ์เป็นระยะๆ รวมถึงนำโมเดลที่สำเร็จไปต่อยอดและขยายผลต่อไป 6 โครงการนี้ จึงเป็นเพียงตัวอย่างนำร่องที่แสดงให้เห็นว่า การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และ Social Enterprise เป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพการเรียนรู้ในชั้นเรียนได้อย่างมาก ดังนั้น หน่วยจัดการศึกษาไม่ว่าจะอยู่ในสังกัดใด หน่วยงานใด หรือบุคคลใด ที่สนใจส่งโครงการกับเรา สามารถส่งได้ที่ [email protected]" ดร.ไกรยส กล่าว


ธารน้ำใจสู่เด็กไทย...ลดความเหลื่อมล้ำด้วย 'โซเชียล' thaihealth


สิรินาท ต่อวิริยะลิศชัย ที่ปรึกษาเว็บไซต์เทใจ เล่าว่า เทใจดอทคอมมีจุดเริ่มต้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ จ.เชียงรายเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมี รร. 3 แห่งได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ได้รับความเสียหาย เว็บไซต์เทใจจึงเข้ามามีส่วนร่วมกับทาง สสค.ระดมทุนเร่งด่วนในการสร้างอาคารสถานที่ ห้องน้ำ อุปกรณ์การเรียนการสอน และได้ดำเนินการต่อเนื่องในพื้นที่อื่นๆ โดยสสค.เป็นองค์กรทำงานด้านการศึกษา ซึ่งให้การสนับสนุนวัตกรรมทางด้านการศึกษา ส่วนทางเทใจดอทคอมต้องการสนับสนุนให้ ร.ร.นำนวัตกรรมทางการศึกษาไปต่อยอดขยายผล เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเป็นการแก้ปัญหาได้ถูกจุด


ด้าน ชลธิชา ชิดเชื้อวงษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดหน่วยงาน ทรูปลูกปัญญามีเดีย ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บอกว่า รู้สึกดีใจ ที่ได้เข้ามาเป็นสื่อกลางช่วยเหลือสังคม "ทรู" เล็งเห็นว่า ปัญหาการศึกษาเป็นต้นทางของการพัฒนาทุนมนุษย์ที่สำคัญ หากแก้ปัญหาการศึกษาได้สังคมก็จะดีขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมาเราอาจจะยังเข้าไม่ถึงโรงเรียนที่ด้อยโอกาส ขาดความพร้อม ซึ่งเราไม่รู้ว่าเป็นใคร ขาดแคลนอะไร ดังนั้น การที่ สสค.ซึ่งเป็นหน่วยงานวิชาการ มีเครือข่ายทางการศึกษา และเทใจดอทคอมเว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงเครือข่ายโซเชียลมีเดีย และทรู มาร่วมมือร่วมใจกันในครั้งนี้ ก็เพื่อเป็นสื่อกลางสนับสนุนให้ภาคเอกชนและ ร.ร.ที่ต้องการการสนับสนุนช่วยเหลือพัฒนาได้มาเจอกัน เป็นการช่วยกันแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดตามแนวทางที่ ร.ร.ต้องการ ซึ่งเป็นปัญหาที่คนนอกอาจจะมองไม่เห็น


มะลิวัลย์ รัตนสมบูรณ์ ครูชำนาญการ ศูนย์การศึกษาเศษประจำจังหวัดกระบี่ เผยความรู้สึกที่มีต่อเด็กพิเศษ และความจำเป็นของศูนย์การศึกษาเศษที่มีความต้องการห้องสมุดของเล่นเด็กพิการ เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางกาย จิตใจ อารมณ์ ซึ่งมีเด็กพิเศษเข้ามาใช้บริการมากถึง 234 คน แม้จะเป็นความยากลำบากที่ต้องสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษ


ธารน้ำใจสู่เด็กไทย...ลดความเหลื่อมล้ำด้วย 'โซเชียล' thaihealth


ในรูปแบบต่างๆ เช่น เด็กพิการ เด็กออทิสติก เด็กแอลดี เป็นต้น แต่สิ่งหนึ่งที่ได้เรียนรู้คือ ครูต้องไม่หยุดที่จะยอมแพ้ เพราะมันเห็นผลตรงต่อเด็กที่เราสอน ขณะเดียวกันเราก็ได้เรียนรู้อะไรจากเด็กด้วย เชื่อหรือไม่ปีแรกที่ต้องมาสอนการศึกษาพิเศษ ต้องสอนเด็กตาบอด สิ่งที่ลูกศิษย์ได้จากเราคือ การอ่านหนังสือให้ฟัง แต่ขณะเดียวกันเราได้จากเขาคือ ทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ที่ติดตัวมาถึงทุกวันนี้ เราเลยรู้ว่าครูต้องไม่หยุดที่จะเรียนรู้ จนตอนนี้ลูกศิษย์คนนั้นก็ได้ทำงานในมูลนิธิคนตาบอดแห่งประเทศไทย


อย่างไรก็ตาม อีกโครงการที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ โครงการคืนครูให้โรงเรียนบ้านไกรเกรียง ต.เขาโจด อ.ศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงเรียนที่จะถูกยุบรวมกับ ร.ร.ในอำเภอ ทำให้เด็กต้องเดินทางร่วม 31 กิโลเมตร เพื่อไปเรียนที่ ร.ร.ใหม่ในตัวอำเภอ นโยบายยุบรวมโรงเรียนนี้ทำให้ผู้ปกครองในชุมชนเกิดความกังวลและห่วงใยบุตรหลาน ซึ่งเป็นเด็กเล็ก ที่ต้องเดินทางไกลออกไปเรียนนอกหมู่บ้าน ดังนั้นทางชุมชนจึงมีความเห็นร่วมกันว่า เพื่อให้บุตรหลานได้เรียนในพื้นที่อยู่ใกล้ครอบครัว จะไม่ยอมยุบโรงเรียนบ้านไกรเกรียง โดยจะหางบประมาณในการจ้างครูด้วยตัวเอง ขณะนี้มีนักเรียนชั้นอนุบาล 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 5 มีนักเรียนจำนวน 35 คน ทั้งนี้ ในระยะเวลา 5 เดือนนี้ มีแผนจะส่งครูอาสา 3 คน เข้าไปสอนเด็ก จึงมีความต้องการงบประมาณในการจ้างครู ซึ่งครู 1 คน ต้องมีค่าใช้จ่าย คนละ 10,000 ต่อเดือน โดยค่าใช้จ่ายในการจ้างครูทั้งสิ้น 150,000 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้จะทำช่วยให้ครูอาสาสามารถอยู่ได้ตามสภาพ และสามารถจัดการเรียนการสอนให้กับลูกหลานชาวไกรเกรียงให้ได้เรียนหนังสือ และได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว


ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันความสุขคืนกลับสู่เด็กเยาวชนไทยผู้ขาดโอกาส และช่วยประเทศชาติลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาได้ในปีใหม่ 2560 นี้เพียงคลิกเบาเบา แล้วเลือก ร.ร.ที่ใช่…นวัตกรรมที่ชอบ https://taejai.com/th/projects/qlf/ โดยผู้ที่ร่วมปันน้ำใจสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

Shares:
QR Code :
QR Code