ทอดผ้าป่าจิตอาสาสามัคคี-ทำบุญโดยไม่ต้องใช้เงิน
ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ
โครงการวัดบันดาลใจ เจ้าภาพทอดผ้าป่าจิตอาสาสามัคคี#ทำบุญโดยไม่ต้องใช้เงิน ใช้แรงงานจิตอาสาช่วยทุกคนพลิกฟื้นวัดสู่ความหมายที่แท้จริง วัด 39,000 แห่งทั่วไทยเป็นที่ยึดมั่น บุคคล ละตัด-ดับความทุกข์ได้ พลิกฟื้นจิตวิญญาณเพื่อตอบโจทย์คนรุ่นใหม่
นำร่องพื้นที่วัดต้นแบบ 7 แห่ง วัดสุทธิวราราม วัดอุโมงค์ วัดป่าโนนกุดหล่ม วัดนางชี วัดชลประทานรังสฤษฏ์ วัดภูเขาทอง วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร พระเทพวรมุนีเทศน์บ่มใจจิตอาสา อาหารใจเป็นเรื่องของบุญกุศลต้องหมั่นสร้าง นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สสส. หยิบยกพื้นที่วัดให้เป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะของเมืองที่ตอบโจทย์การพัฒนาสุขภาวะทั้ง 4 มิติ กาย ใจ สังคม จิตวิญญาณ
การที่ในเมืองไทยเขาว่ากันว่าที่ไหนๆ ก็มีวัด เดี๋ยวสร้างวัดใหม่ เดี๋ยวสร้างโบสถ์ใหม่ ถ้าสร้างวัดสร้างโบสถ์สร้างพระพุทธรูปด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์นี้ก็เป็นที่พึ่ง เพราะเราต้องมีที่พึ่งทางใจ ก็เป็นอันว่าเป็นสิ่งที่ดี สมควรแล้ว แต่ต้องย้ำว่า สมควรต้องนึกถึง สมควรเพราะเหตุใด เพราะว่าเป็นที่ยึดมั่นของบุคคลที่จะละความทุกข์ได้ ตัดความทุกข์ได้ ดับความทุกข์ได้
ถ้าในวันนี้วัด 39,000 แห่งทั่วประเทศจะพลิกฟื้นเป็นพื้นที่แห่งชีวิตและจิตวิญญาณอีกครั้ง เพื่อตอบโจทย์ชีวิตผู้คนในยุคนี้จะเป็นไปได้ไหม? วัดบันดาลใจ โครงการที่จะชวนทุกคนมาร่วมกันพลิกฟื้นวัดสู่ความหมายที่แท้…อย่างสมสมัย ด้วยการพัฒนาทั้งพื้นที่ทางกายภาพและกิจกรรม เพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจสู่ วัดทั่วประเทศ สวนสาธารณะใจกลางชุมชน วัดสุทธิวราราม กรุงเทพฯ กิจกรรมดูหนังหาแก่นธรรม วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม เชียงใหม่ พัฒนาระบบบริหารจัดการขยะ วัดป่าโนนกุดหล่ม ศรีสะเกษ พิพิธภัณฑ์เรียนรู้โบราณสถานและศิลปกรรม วัดนางชี กรุงเทพฯ เทศนาธรรมในงานสวดพระอภิธรรม วัดชลประทานรังสฤษฏ์ นนทบุรี กิจกรรมอาสาอนุรักษ์และพัฒนาวัด วัดภูเขาทอง อยุธยา
ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าจิตอาสาสามัคคี#ทำบุญโดยไม่ต้องใช้เงิน ใช้แรงงานจิตอาสา ทักษะวิชาชีพ/ความรู้ความสามารถ วัสดุก่อสร้าง ต้นไม้ ฯลฯ จากความร่วมมือร่วมใจของพระสงฆ์ ชุมชน จิตอาสาและเหล่าภาคีเครือข่ายที่เริ่มพัฒนาพื้นที่ทางด้านกายภาพและพลิกฟื้นกิจกรรมต่างๆ ให้กลับมากลายเป็นแรงบันดาลใจให้วัดและชุมชนอื่นๆ ลุกขึ้นมาเป็นวัดบันดาลใจด้วยกันทั่วประเทศ ดังนั้นจึงขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวัดบันดาลใจ และติดตามด้วยว่าเราพอจะมีส่วนร่วมช่วยทำอะไรให้วัดได้บ้าง เพราะวัดเป็นของเราทุกคน
งานนี้สนับสนุนโดย สถาบันอาศรมศิลป์, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินท ปัญโญ, มี นพ.บัญชา พงษ์พานิช เป็นตัวแทนบริษัท ชูใจ กะ กัลยาณมิตร จำกัด ร่วมด้วย สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย, สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์, วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) และภาคีเครือข่ายอาสา อีกมากมายถิ่นรมณีย์คือที่ตั้งต้นของพระพุทธศาสนา "เกณฑ์ต่ำสุดของถิ่นรมณีย์คือมีน้ำอุดม รื่นรื่นด้วยพฤกษา""พระพุทธศาสนาเน้นความสำคัญของถิ่นที่อาศัยมาก การสรรและสรรค์ถิ่นที่อาศัยให้เป็นรมณีย์ที่สดชื่น รื่นรมย์ ชุบชูชีวิตชื่นกายชูใจเป็นหลัก พื้นฐานร่วมอยู่ในหลักการใหญ่ของการพัฒนามนุษย์คือไขข้อกายภาวนา"ป.อ.ปยุตโต, บทนำสู่พุทธธรรม"W(h)at If…" Forum & Exhibition ถ้าวัด..ในวันนี้จะเป็นวัดที่คนไทยอยากเห็น" งานรวบรวมแนวคิดและสร้างแรงบันดาลใจในการพลิกฟื้นวัดอย่างสมสมัย เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ณ โถงชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ (BACC) รวบรวมแนวคิดและสร้างแรงบันดาลใจในการพลิกฟื้นวัดอย่างร่วมสมัย ภายในงานมีนิทรรศการผลงานการออกแบบเพื่อช่วยแก้ปัญหาในด้านต่างๆ ให้กับวัด แสดงให้เห็นตัวอย่างปัญหาและแนวทางแก้ไขที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงของนักออกแบบอาสาสมัครโครงการวัดบันดาลใจ โดยจัดนิทรรศการและเวทีแลกเปลี่ยนระหว่างวันที่ 21-26 ก.พ.
การสืบสานต่อยอดงานสถาปัตยกรรมไทย ปัจจัยความสำเร็จของงาน พระที่เป็นผู้นำมีความเข้าใจในเรื่องของประโยชน์ใช้สอยที่จะนำไปใช้ในกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของวัดได้เป็นอย่างดี ความตั้งใจของพระสงฆ์และคณะญาติโยมมีพร้อม แต่ปัจจัยความสำเร็จในเรื่องระยะเวลาและทุนทรัพย์นั้นเป็นไปได้น้อยมาก แต่ด้วยความศรัทธาในแนวทางการประพฤติปฏิบัติของคณะสงฆ์นั้นแล้ว อาจารย์ใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เข้ามาช่วยออกแบบให้เกิดความพอดี ปรับความต้องการ ลดทอนพื้นที่เพื่อสามารถทำสำเร็จได้ตามเป้าหมายงานก่อสร้างอาคาร และได้ใช้งานอย่างคุ้มค่าต่อชุมชนโดยรอบ วัดต้องมีสัดส่วนที่งดงามเหมาะสม มีความสงบ การออกแบบวัดให้อยู่ในพื้นที่ธรรมชาติ การเอาธรรมชาติรอบข้างมาเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างบรรยากาศที่สงบร่มรื่น ก่อให้เกิดคุณค่ากว่าอาคารใหญ่โตเกินกว่าการใช้สอยอาคารไทย ประเพณีและอาคารพื้นถิ่นในแต่ละภูมิภาค เพื่อนำรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่เป็นอัตลักษณ์มาประยุกต์ใช้ในงาน ด้วยการรักษาคุณค่างานสถาปัตยกรรมไทย ความเข้าใจให้ถึงการออกแบบของช่างโบราณ
วัดสุทธิวราราม นักท่องเที่ยวผ่านถนนเจริญกรุง มี ต้นตระกูล ณ สงขลา เป็นโยมอุปัฏฐากวัดมาตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 เข้ามาสนับสนุนทุนในการบูรณะศาลาเพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ บูรณะศาลา ณ สงขลา ให้สอดคล้องกับรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิมสมัยรัชกาลที่ 7 ปรับปรุงชั้นล่างให้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ติดตั้งบานเฟี้ยมโดยรอบให้ยืดหยุ่นต่อการใช้งาน ชั้นสองให้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ ต่อเติมห้องน้ำ ห้องเก็บของ ห้องดูหนังเพื่อหาแก่นธรรม
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร นครพนม ทั้งนี้ หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ และ โครงการวัดบันดาลใจ วางตำแหน่งรอยธรรมสำคัญ มีพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศหลั่งไหลเข้ามาสักการะองค์พระธาตุอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เข้ามากราบไหว้ทำบุญขอพร แต่ขาดการรับรู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรมและหลักธรรมคำสอนที่แฝงอยู่ที่ควรค่าแก่การศึกษาเรียนรู้ จึงได้มีการออกแบบวางตำแหน่งรอยธรรมสำคัญที่นำพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวเข้ามารับรู้คุณค่าและซึมซับธรรมะผ่านงานพุทธศิลป์ ทำป้ายสื่อความหมายด้วยเนื้อหาเข้าใจง่าย ติดตามรอยอารยธรรม 10 แห่ง และจัดกิจกรรมเพลินธรรมนำชม อบรมนักเรียนในพื้นที่ อ.ธาตุพนม มีมัคคุเทศก์น้อยนำชมด้วย
ประสาน อิงคนันท์ พิธีกรจิตอาสา เปิดประเด็นว่า เรามาช่วยกันเปลี่ยนแปลงวัดที่อยู่ในสถานที่แออัดให้สะอาดปลอดโปร่งยิ่งขึ้น มีสถาปนิกเพื่อสิ่งแวดล้อมร่วมกันทำงาน ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภาคีเครือข่ายสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติและจิตอาสาจากทุกวิชาชีพเข้ามาช่วยกันทำงาน เราทำงานให้วัดไม่ใช่เราเปลี่ยนวัด เรามีโอกาสใกล้ชิดวัดมากยิ่งขึ้น พระผู้นำจิตวิญญาณด้วยความหวังว่าการพัฒนาวัดส่งผลไปยังวัดทั่วทั้งประเทศ นิทรรศการ W(h)at If… อยากให้สังคมเกิดแรงบันดาลใจพลิกฟื้นบทบาทความเคลื่อนไหวในการปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่เพื่อความยั่งยืนของประเทศ
พระเทพวรมุนี กล่าวว่า ทิพยวิมานสะอาดรื่นรมย์ด้วยร่มเงาไม้ร่วมศรัทธาสมเป็นศาลาพักพิงใจ วัดเล็กหรือวัดใหญ่ไม่สำคัญ วัดเท่าเทียมกันด้วยแรงพัฒนา พระสงฆ์ทำกิจวัตร มีจิตเมตตาต่อสังคม ให้เป็นวัดในดวงใจของชุมชน ในพุทธกาล วัดเป็นที่ปฏิบัติถ้าศึกษาย้อนหลังไป แต่ทุกวันนี้คนห่างเหินวัด วัดก็ห่างเหินคน วัดเป็นสถานที่ว่าเราจะมีคติความเชื่อเพิ่มขึ้นหรือลดลง การเข้าวัดก็เหมือนกับการดูต้นไม้ ต้องฝึกหัดใจกายดังที่ท่านพุทธทาสเคยกล่าวว่า ฝึกหัดตัดใจกายเป็นศูนย์รวมของจิตใจ
วัดเป็นสัปปายะ ต้องสะอาด สงบ และสว่าง เมื่อวัดสะอาดจะทำให้มีศีล สงบทำให้มีสมาธิ สว่างทำให้มีปัญญา ใช้หลักพัฒนาทำให้สิ่งที่มีอยู่แล้วดีขึ้น ต้นไม้ใบไม้เย็นสบาย สถานที่สะอาด รวมทั้งห้องน้ำ เมื่อสะอาดแล้วก็ต้องสร้างสมาธิทำให้จิตสงบ ไม่มีเรื่องวุ่นวายในวัด รักกันเหมือนพี่น้อง ปรองดองกันเหมือนญาติมิตร ประเทศชาติก็มีความเจริญ จิตมีสมาธิทำให้เกิดปัญญา พัฒนากายให้สะอาดด้วยศีล พัฒนาจิตใจให้สงบด้วยสมาธิ พัฒนาเจตคติให้สว่างด้วยปัญญา ปัญญาทางโลกปัญญาทางธรรม ปัญญารักษากายรักษาใจ มีวิชาการ วิชชา(ชีพ) วิชชา(ชีวิต) คือ ศีล ธรรม ถ้าศีลธรรมไม่กลับมา โลกาจะวินาศ ศีลธรรมกลับมา โลกจะร่มเย็น เรารณรงค์ให้เกิดความสมัครสมานสามัคคี ศีลคือสะอาด จิตใจต้องปฏิบัติให้ได้ ปริยัติ ปฏิบัติคือธรรม ปฏิเวสคือผลสัมฤทธิ์ รู้จริง รู้แจ้ง รู้ครบวงจร
การสอนให้เด็กสวดมนต์จำได้ ใส่ดนตรี ปลูกฝังเยาวชนแต่เยาว์วัยให้ได้ 3 ส. การพัฒนามุ่งให้มี 3 ส. น้อมนำหลักพุทธศาสนาให้เกิดความสงบร่มเย็นเป็นหลักประกันชีวิต หลักประกันทรัพย์สิน หลักประกันครอบครัว อยู่กันจนถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร สังคมอยู่ด้วยกันด้วยความรักความเมตตา ไม่พูดเท็จต่อกัน มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน สังคมจะอยู่เย็นเป็นสุข ร่างกายปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ศีลธรรมกลับมา ธรรมะเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องประพฤติ ปฏิบัติ รู้รักสามัคคี ทำจิตอาสาเพื่อให้เกิดความสุข สงบ ร่มเย็น
กายมีศีลเหมือนดินมีปุ๋ย มีน้ำ จะปลูกต้นไม้ได้งอกงาม ตัวเราเหมือนผืนแผ่นดินน้อยๆ กายมีศีล 5 ใจมีธรรมะ ทำกิจการใดก็ตามมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง ธรรมะเป็นยาวิเศษ เป็นเครื่องพ้นจากบ่วงมาร เป็นอาหารของจิตใจ เป็นสมบัติของกาย เรามีอยู่ทำให้กายสะดวกสบาย ธรรมะเป็นอาหารใจ มีบุญกุศลในใจ ทำกิจการมีแต่ความเจริญรุ่งเรือง เรื่องของอาหารใจเป็นเรื่องของบุญกุศล ต้องหมั่นสร้าง มิฉะนั้นจะกลายเป็นคนใจจืดใจดำ ฆ่าพ่อฆ่าแม่ ขาดคุณธรรม ด่าพ่อด่าแม่ด่าครูบาอาจารย์ เมื่อให้อาหารกายแล้วก็ต้องให้อาหารใจจึงจะเป็นเรื่องสุดยอด อนาคตของประเทศชาติอยู่ที่เยาวชนมีธรรมะประจำใจ ธรรมะเป็นยาวิเศษ ทำให้เป็นเครื่องพ้นจากบ่วงมาร เป็นอาหารของจิตใจ ขอให้ความร่มเย็นเป็นสุขในธรรมะอยู่กับพวกท่านทุกคนเทอญ ทั้งนี้ตัวแทนของเด็กนักเรียนสวมเสื้อ "หนูเกิดในสมัยรัชกาลที่ 9" ร้องเพลงสวดมนต์ได้อย่างไพเราะยิ่ง
นพ.ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร กล่าวว่า โครงการวัดบันดาลใจเป็นหนึ่งในการพัฒนาพื้นที่วัดให้เป็นศูนย์เรียนรู้สุขภาวะของเมืองที่ตอบโจทย์การพัฒนาสุขภาวะทั้ง 4 มิติ กาย ใจ สังคม จิตวิญญาณโดยพลิกฟื้นทุนทางธรรมชาติ ทุนทางวัฒนธรรม กิจกรรมและการจัดการเพื่อดึงคนยุคใหม่กลับเข้าวัด สิ่งสำคัญในการทำงานคือการสร้างความเข้าใจกับวัด ชุมชน และองค์กรท้องถิ่น เพื่อหาจุดสมดุลร่วมกันในการจัดทำผังแม่บทในการพัฒนาสิ่งแวดล้อม กิจกรรม พื้นที่โดยรอบชุมชน มี 9 วัดนำร่องที่มาจากตัวแทนของวัดกลางเมือง วัดตามวิถีบวร วัดป่าสายปฏิบัติ วัดกับการเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน วัดพัฒนาโบราณสถานที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถเป็นแรงผลักดันให้กับวัดทั่วประเทศ จนเกิดเป็นเครือข่ายเรียนรู้ร่วมกันระหว่างพระสงฆ์และฆราวาส มีการประยุกต์ระหว่างกิจกรรมเดิมที่วัดเข้ากับกิจกรรมธรรมะร่วมสมัยโดยไม่ขัดกับวิถีปฏิบัติเดิมของวัด
ปริยาภรณ์ สุขกุล ผู้จัดการโครงการววัดบันดาลใจ สถาบันอาศรมศิลป์ กล่าวว่า สสส. มอบโจทย์ให้พลิกฟื้นวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางจิตวิญญาณ สร้างเสริมสุขภาพทางกาย จิตใจ และสุขภาวะทางสังคม ปีแรกออกแบบวัดทั้ง 9 แห่ง และขยายเพิ่มอีกเป็น 40 แห่งในปีที่ 2 สร้างความร่มรื่นหรือสัปปายะ โดยเฉพาะวัดในเมือง ลดภาวะวัดร้อน พื้นที่วัดในเมืองส่วนใหญ่กลายเป็นที่จอดรถหรืออาคาร วางผังจัดการพื้นที่ใหม่ เป็นลานจอดรถและพื้นที่สีเขียวอยู่รวมกันได้อย่างราบรื่น สบายอาราม วัดส่วนใหญ่ขยายพื้นที่ก่อสร้างอาคารโดยไม่มีผังรอบรับและไม่เหลือพื้นที่โล่ง ทั้งๆ ที่พุทธศาสนาตั้งต้นจากธรรมชาติ พื้นที่สีเขียวทำให้จิตใจสงบ ใช้การออกแบบผังแม่บท ปรับให้สภาพแวดล้อมของวัดโล่งโปร่งสบาย การจัดโซนนิ่งการใช้พื้นที่ให้เหมาะสม เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส พื้นที่บริการชุมชน เพื่อให้มีการบริหารจัดการและการจัดการสัญจรที่เหมาะสม จัดให้มีธรรมะตามสมัย เพื่อให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่ กิจกรรมตักบาตรเดือนเกิด วัดเก่าของเราแต่ก่อน ของเก่ามาเล่าใหม่ วัดจำนวนมากที่เป็นมรดกทางธรรมและวัฒนธรรม ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์และพลิกฟื้นกิจกรรมในอดีตอย่างถูกต้องและร่วมสมัย ปิดทองหลังวัด การจัดการขยะ สังฆทาน ระบบล้างจาน การคัดแยกขยะสำหรับฆราวาสในวัด
อนึ่ง ในงานนี้ได้มีการจัด หัวข้อ Designer Talk : ถ้าคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาช่วยออกแบบวัดในวันนี้ โดยตัวแทนนักออกแบบอาสาสมัครรุ่นใหม่จาก โครงการวัดบันดาลใจสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง บ. Wallasia โสภณ ศรีสกุล (แห้ว Big Brother) เจ้าของแบรนด์อิ่มบุญ อาชว์ Apolar สถาปนิก และนักออกแบบกราฟฟิกหนังสือธรรมะ หลุยส์ Sketcher นักวาดภาพประกอบ และครูสอนวาดภาพสเกตช์ชัยพัทธ์ งานบุษบงโสภิน สถาปนิกนับถือศาสนาอิสลาม แต่มาช่วยออกแบบโบสถ์พุทธด้วยการประสานสิบทิศ มองข้ามความแตกต่าง คิดว่าทุกศาสนาอยู่ในชาติเดียวกัน ไม่มีเหตุผลที่จะมาแตกแยก ความศรัทธาในใจอยู่ที่การปฏิบัติ เกียรติกมล นิลาภรณ์กุล สถาปนิกรุ่นใหม่ออกแบบวัดป่าควนกาหลงที่ศรีสะเกษ การดีไซน์งานต้องตัดอัตตาออกไปทำให้เกิดประโยชน์กับคนในพิ้นที่ชุมชน เลือกที่จะลงแรงอาสา ไม่ค่อยได้ทำบุญเพราะไม่มีเงิน การลงเงินเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็วเป็นความรู้สึกฉาบฉวย ได้จากการให้ แต่ถ้าลงมือทำเองกว่าจะฝ่าฟันต้องเผชิญอุปสรรคระหว่างทาง เมื่องานสำเร็จเป็นเรื่องที่ชื่นใจกว่ากันเยอะ ประสาน อิงคนันท์ ผู้ดำเนินการสนทนา