ถึงเวลา “พลังสังคมลงมือทำ”

ถึงเวลา “พลังสังคมลงมือทำ” thaihealth


          “ถ้าไม่ทำภาคเศรษฐกิจก็จะกลายเป็นตัวถ่วงประเทศ” “ฝั่งเศรษฐกิจเขาประเมินว่า นับต่อจากนี้คงไม่สามารถห่างสังคมได้อีกแล้ว” “สังคมมีความเหลื่อมล้ำทำให้ประเทศชาติไม่มั่นคง เราต้องเข้าไปช่วยเหลือแก้ไข” “การเปลี่ยนแปลงต้องร่วมมือกัน พลังถึงจะเพิ่มมากขึ้น” “ถึงเวลาที่ไทยต้องลงมือทำ มานั่งคิดนั่งฝันอย่างเดียวไม่ได้”


          หลากหลาย “คีย์เวิร์ด” กระตุกชวนให้หยุดคิด ถึงวิธีการและความร่วมมือที่จะนำพาให้ประเทศไทยพ้นวิกฤติร้าย ปรากฏขึ้นภายในงานกิจกรรม ปลุกพลัง เปลี่ยนไทย :Inspiring Thailand หรือ คนไทยขอมือหน่อย ปี 2 ที่จัดขึ้นไปเมื่อเสาร์-อาทิตย์ที่ผ่านมา และกลายเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากว่า นับเป็นครั้งแรกที่ภาคเศรษฐกิจของประเทศ ได้รวมตัวกันและหันมาพิจารณาปัญหาสังคมอย่างจริงจัง มากไปกว่านั้นคือการแสดงเจตจำนงค์ชัดแจ้ง ในการผนึกความร่วมมือเพื่อยกระดับสังคมไทยและพัฒนาประเทศให้ก้าวไกล


          วรวรรณ ธาราภูมิ ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เป็นคนหนึ่งที่สะท้อนวิสัยทัศน์ถึงเวลาคนเศรษฐกิจต้องช่วยเหลือประเทศจริงจัง โดยเจ้าตัวบอกว่า ที่ผ่านมาภาคธุรกิจเริ่มทำเพื่อสังคม แต่เป็นไปในลักษณะการบริจาคหรืองานจิตอาสา CSR ไม่ได้ลงทุนลงแรง หรือผลักดันให้เกิดผลอย่างแท้จริงโครงการปลุกพลัง เปลี่ยนไทย จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี


          “ประเทศถึงจุดเปลี่ยน เราก็ต้องเปลี่ยนแปลง มองในแง่ดีคือภาคธุรกิจได้รับโอกาสในการปฏิรูปกันเอง ซึ่งถ้าเราไม่ทำ กลุ่มเศรษฐกิจก็จะกลายเป็นตัวถ่วงของประเทศ ยังมองด้วยว่า กิจกรรมลักษณะนี้เปรียบได้กับซอฟท์แวร์พื้นฐานช่วยสร้างคนที่สังคมไทยควรมีมานาน ขณะนี้ก็อยู่ในขั้นตอนปรึกษาหารือว่าเราจะทำอะไรกันได้บ้าง” ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย กล่าว


          ไม่ต่างจาก อิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จริง ๆ หอการค้าทำโครงการเพื่อสังคมมา 10 กว่าปีแล้ว เพราะเห็นว่าสังคมมีความเหลื่อมล้ำทำให้ถึงเวลา “พลังสังคมลงมือทำ” thaihealthประเทศชาติไม่มั่นคง จะทำอย่างไรให้ประเทศชาติมั่นคง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม รวมถึงรายได้ของประชาชนต้องดีขึ้น ก็ต้องลดความเหลื่อมล้ำด้วยการเปิดโอกาสทางการศึกษาการเข้าถึงบริการสาธารณะ หรือให้วิชาความรู้แก่สังคม


          “จากโครงการ 1 ไร่ 1 แสน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงที่จับต้องได้จริง ในปีนี้ หอการค้าไทยก็มีอีกหลายโครงการเพื่อสังคมที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาคสังคม เป็นมิติใหม่ของภาคธุรกิจที่สังคมไทยจะได้เห็น โดยใช้เครือข่ายของหอการค้าจังหวัดที่มีฐานสมาชิกจำนวนกว่า 30,000 คน ทั่วประเทศ รวมทั้งเครือข่ายสมาคมการค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกกว่า 30,000 คน รวมแล้วมากกว่า 70,000 คน ร่วมลงมือทำและขยายผลโครงการปลุกพลัง เปลี่ยนไทย กับภาคส่วนต่างๆ ด้วยการจัดการที่มีระบบ ตั้งแต่การร่วมเป็นหนึ่งในคณะทำงานหลัก และสนับสนุนการทำงานโครงการเพื่อสังคมในเชิงพื้นที่ นอกจากนี้แต่ละบริษัทก็ยังขับเคลื่อนงานเพื่อสังคมของตนเอง กับแนวคิดสร้างจิตสำนึก 1 บริษัท ดูแล 1 ชุมชน ปัจจุบันมีบริษัทที่เข้าร่วมแล้วไม่ต่ำกว่า 60-70 แห่งทั่วประเทศ” อิสระ แจงเพิ่ม พร้อมย้ำด้วยว่า สังคมจะดีงามได้จริงต้องออกมาจากข้างใน และไปบังคับให้ใครมาร่วมทำไม่ได้


          ขณะที่ ดร.สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการตลดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ให้แง่คิดว่า การเปลี่ยนแปลงสังคมต้องร่วมมือกันถึงจะเกิดพลังในการเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้น เช่นเดียวกับตลาดหลักทรัพย์ ที่นำแนวทางการลงทุนที่ยั่งยืน ผ่านการชี้นำแนวทางให้การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้นโปร่งใส เป็นไปตามทำนองคลองธรรม พร้อมออกมารตการใหม่ ๆ ในการควบคุมการซื้อขายที่ผิดปกติ มาใช้กับนักลงทุนและประชาชนมาสักระยะ ก่อนตัดสินใจเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการนี้


          ยกตัวอย่างให้เห็นชัด ๆ อย่างกรณี กองทุนรวมคนไทยใจดี หรือ BKIND ของธนาคารกรุงเทพ ที่เน้นการระดมเงินจาก


          ผู้ลงทุนทั่วไปที่เป็นบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ไปลงทุนในกิจการที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ต่อสังคมมีธรรมภิบาลที่ดี และร่วมต่อต้านการคอร์รัปชั่น โดยยึดหลักการสร้างความยั่งยืนและแสวงหาผลตอบแทนในระยะยาว นอกจากนี้บริษัทจัดการ ยังมีนโยบายบริจาคเงินจากค่าธรรมเนียมการจัดการที่เรียกเก็บจากกองทุนถึงร้อยละ 40 ให้กับมูลนิธิหรือหน่วยงานอื่นใดที่มีส่วนร่วมเพื่อสังคมไทย อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


          “มีผู้สนใจเข้าร่วมลงทุนกว่า 2,000 ล้านบาทแล้ว จากจำนวนเงินทุนโครงการ 5,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลาถึงเวลา “พลังสังคมลงมือทำ” thaihealthไม่กี่เดือน แสดงให้เห็นว่านักลงทุนในปัจจุบัน สืบเนื่องไปยังอนาคตไม่ได้เห็นเม็ดเงินสำคัญเสมอไป แต่เขายังคำนึงถึงประโยชน์ของสังคมและความสุขทางใจด้วย ก็จะพลักดันให้เกิดกองทุนแบบนี้มากขึ้น ซึ่งหมายถึงมูลค่าการลงทุนที่มากขึ้นตามไปด้วย นอกจากนี้ จะผลักดันบริษัทจดทะเบียนของไทย ให้หลายเป็นบริษัทมีดัชนีความยั่งยืนใน 4 ด้านข้างต้นจากดาวโจนส์ ธนาคารโลก ซึ่งประเทศไทยมีอยู่ 10 บริษัท เช่น ปตท. ปตท. สผ. ไทยออลย์ เอสซีจี ไมเนอร์ กลุ่มซีพีเอ็น” ดร.สถิตย์ เผยถึงกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อจากนี้


          ในฐานะผู้ขับเคลื่อนสังคมสุขภาวะ อย่าง ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวด้วยความภาคภูมิใจเจือด้วยยิ้มละไมว่า โครงการปลุกพลัง เปลี่ยนไทย ที่มีภาคเอกชนเข้าร่วมอย่างมากมายในครั้งนี้ เป็นบิ๊ก โมเมนต์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เป็นครั้งแรกที่ทุกคนรวมตัวกันเพื่อช่วยแก้ปัญหาของประเทศที่เกิดขึ้นอย่างหนักหน่วง ซึ่งฝั่งเศรษฐกิจก็ประเมินแล้วว่า ต่อไปคงห่างจากสังคมไม่ได้ เมื่อคิดได้จึงริเริ่มทำสิ่งที่ทำให้สังคมดีขึ้น


          “ถือว่าเป็นเรื่องดีเพราะเขามีเงิน และมีทุนเป็นแรงงานพนักงานบริษัท เดิมงานยกระดับประเทศจะทำงานผ่านชุมชน แต่เสียงและพลังของเอ็นจีโอรวมไปถึงภาครัฐไม่เพียงพอ แม้จะทำกันมานานแล้ว ดังนั้นต่อจากนี้ จะเป็นการทำร่วมแบบไตรภาคี รัฐเองก็ต้องพร้อมรีฟอร์มตัวให้ก้าวทัน กลายเป็นภาครัฐแบบใหม่ที่ไม่ใช่สั่งการจากส่วนกลาง แต่ควรกระจายอำนาจให้พื้นที่มีความคล่องตัวทำเรื่องนี้กันได้เองมากขึ้น ภาคธุรกิจเองก็ต้องทำเพื่อสังคมมากขึ้น แต่จะออกมาในทิศทางรูปแบบใดคงต้องช่วยกันคิดทำ ภาคสังคมเองก็ต้องทำงานแบบลงลึกที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงได้จริง ไม่ใช่เป็นความฝันแล้วหยุดไปเหมือนที่ผ่านมา” ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าว พร้อมระบุต่อว่า


          “คาดว่าอีก 6 เดือนหลังจากนี้ จะเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงบ้างแล้ว เช่นการปฏิบัติการในพื้นที่ การรวมพลังเพื่อยกระดับสังคม ซึ่งสเต็ปต่อไปก็คงไม่ยากเกินลงมือทำ”


          แต่เพื่อให้การขับเคลื่อนงานยกระดับสังคมไทย ดำเนินไปอย่างลึกซึ้ง ยั่งยืน เห็นผลได้จริงนั้น นพ.ประเวศ วะถึงเวลา “พลังสังคมลงมือทำ” thaihealthสี ราษฎรอาวุโส บอกว่า ต้องอาศัยพลังทั้ง 7 ซึ่งเป็นพลังแบบใหม่ที่ต้องเริ่มปลูกฝังในสังคม เพราะวิกฤติประเทศในครั้งนี้เป็นปัญหาที่ยากจะแก้ได้คนเดียว จึงต้องรวมพลังให้เป็นโซเชียล ฟิวชั่น เปรียบได้กับพลังของดวงอาทิตย์ที่ส่งพลังไปทั้งจักรวาล ได้แก่ 1.พลังแห่งจิตสำนึก ซึ่งเป็นพลังที่ดีและมีมากที่สุดในตัวมนุษย์ ช่วยขับเคลื่อนสิ่งต่าง ๆ ได้มากกว่าพลังความรู้ 2.พลังวิสัยทัศน์ที่มองข้ามและไม่ยึดกับความโกรธแค้น ซึ่งประเทศไทยปัจจุบันเป็นชาติที่ยังยึดติดกับอดีต จนไม่สามารถก้าวสู่อนาคตได้ 3.เปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นพลังทางราบ ไม่ใช่สังคมแนวดิ่ง


          4.พลังสังคมลงมือทำ ไม่ใช่แค่การ พูด คิด อ่าน เขียน เฉย ๆ อีกต่อไป 5.พลังสังคมเพิ่มเติม คือเอาเทคนิคเล็ก ๆ น้อยๆ มาต่อเติมให้เกิดประโยชน์มหาศาล โดยพลังลักษณะนี้จะส่งเสริมให้คนคิดเป็น และมีทุนทางสังคม 6.พลังการจัดการ เดิมสังคมไทยไม่มีภูมิปัญญาด้านนี้ เพราะเน้นเรียนท่องจำ ฉะนั้นต้องรีบฝึก และสุดท้าย 7.พลังข้อมูลข่าวสาร ที่ควรใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเชื่อมโยงองค์ความรู้ เชื่อมโยงพลังดี ๆ ไว้ด้วยกัน


          “ประเทศไทยมีทรัพยากรมากมาย ที่จะช่วยให้พวกเราฝ่าฟันในสภาวะวิกฤตินี้ไปได้ แต่เราต้องรวมตัวและเชื่อมโยงการเมือง เศรษฐกิจ ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และคุณภาพคนไทย ฯลฯ เข้าไว้ด้วยกัน ที่ผ่านมาคนไทยมักคิดเล็กคิดแก่ส่วนตัวทำให้เราไม่มีพลัง กระบวนที่ทุกภาคส่วนมารวมตัวกันอย่างในวันนี้ จะเป็นการเรียกปลุกพลัง และคิดแบบเชื่อมโยง ไม่แยกเชื้อแยกกลุ่มเหมือนที่ผ่านมา ถึงเวลาที่ต้องรวมพลังเปลี่ยนประเทศไทย ยุคใหม่ ให้กลายเป็นประเทศที่เจริญพร้อมในทุกด้าน ภายในปี 2575 ซึ่งครบรอบ 100 ปี แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 จากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย” นพ.ประเวศ กล่าวทิ้งท้าย


 


 


          ที่มา: เว็บไซต์ไทยโพสต์ 

Shares:
QR Code :
QR Code