ถึงเวลาขับเคลื่อน…นโยบายโรงเรียนปลอดน้ำอัดลม
พบเด็กไทย 64 % บริโภคน้ำตาลมากกว่า 8 ช้อนชาต่อวัน
องค์การอนามัยโลกตระหนักถึงปัญหาที่เกิดในหลายประเทศ รวมทั้งไทย โดยระบุว่า “โรคอ้วนกำลังเป็นโรคระบาด” และเสนอทางแก้แล้วว่า ควรผลักดันให้เกิดนโยบายระดับชาติ ปรับปรุงการบริโภคและออกกำลังกาย ให้ผู้ในแผนส่งเสริมสุขภาพและควบคุมโรค และกล่าวถึงกิจกรรมในโรงเรียน
จะต้องสนับสนุนอาหารสุขภาพและออกกำลังกาย เพราะโรงเรียนมีอิทธิพลต่อชีวิตส่งวนใหญ่ของเด็กวันเรียนจึงมีหน้าที่ต้องปกป้องสุขภาพเด็กอาหารของโรงเรียนควรเป็นอาหารสุขภาพที่ควบคุมน้ำตาล เกลือ ไขมัน
ปัจจุบันเด็กไทยบริโภคน้ำตาลสูงกว่าปริมาณที่แนะนำมาก การศึกษาของเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวานในปี 2547 พบว่าเด็กอายุ 3-5 ปี 64.% บริโภคน้ำตาลมากกว่า 8 ช้อนชาต่อวัน
การสำรวจพบว่า อาหารที่ทำให้เด็กได้รับน้ำตาลมาจากเครื่องดื่มคือน้ำอัดลมและน้ำหวาน ตามด้วยขนมและอาหารว่าง การสำรวจการบริโภคของนักเรียนทั่วประเทศ จำนวน 8,400 คน ในปี 2550 พบว่า นักเรียนที่เรียนในโรงเรียนขายน้ำอัดลม ดื่มน้ำอัดลมมากกว่านักเรียนโรงเรียนปลอดน้ำอัดลมมากถึง 7.3 เท่า และนักเรียนมัธยมดื่มมากกว่านักเรียนประถม 4 เท่า
ข้อมูลโภชนาการ การอนามัยระบุว่า ส่วนประกอบหลักของน้ำอัดลมคือ น้ำตาล สารให้รสหวาน คือน้ำตาลทราย น้ำเชื่อมข้าโพด สำหรับน้ำอัดลมชนิดธรรมดา และยังมีสารปรุงแต่ที่เรียกว่าหัวน้ำเชื่อ เป็นส่วนผสมสารที่ให้กลิ่น สี กรดบางชนิดที่ใช้ในอาหาร เช่น กรดมะนาว ส่วนตัวทำให้น้ำอัดลมเป็นน้ำอัดลมจริงดังชื่อคือก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ โดยมาอัดในน้ำหวานที่ผสมไว้ ท้ายที่สุดก็มีวัตถุกันเสีย
น้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนประกอบหลัก ร่างกายจะนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่ไม่มีสารอาหารอื่น ที่มีประโยชน์ เรียกว่าเป็นพลังงานว่างเปล่า น้ำอัดลมมีน้ำตาลสูงมากถึง 8-12 ช้อนชา เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เด็กอ้วน
การศึกษาในอังกฤษพบว่าเด็กที่ลดการดื่มน้ำอัดลมจากวันละ 2 แก้วเหลือ 1 แก้วจะลดน้ำหนักได้มากว่ากลุ่มที่ไม่ลดการดื่มภายใน 12 เดือน น้ำอัดลมบางชนิดยังมีกรอฟอสฟอริก ทำให้มีค่าพีเอชต่ำถึงประมาณ 2.9 ส่งผลให้ความหนาแน่นของมวลกระดูดลดลง อาจมีผลให้กระดูดหักง่าย และเป็นสาเหตุให้ท้องอืดได้
นักวิจัยของมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมม์ในอังกฤษศึกษาพบว่า การดื่มน้ำอัดลมวันละครั้งอาจทำให้เด็กอายุ 12 ปี มีโอกาสฟันกร่อนได้ถึง 59 เปอร์เซ็นต์ มีผลทำให้เด็ดดื่มนมน้อยลง ขาดแคลเซี่ยม ในน้ำอัดลมมี คาเฟอีนมีฤทธิ์เพิ่มความดันโลหิต
บทเรียนจากประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ สิงคโปร์ พบวิแก้ปัญหาที่ได้ผล คือ การมีมาตรการในดรบงเรียน ซึ่งขณะนี้ไทยตื้นตัวมมาก เริ่มจากโรงเรียนในสังกัดกทม.นายพุฒิพงษ์ ปุณณกัณต์ รองผู้ว่าราชการ กทม.ได้กล่าวไว้ว่า กรุงเทพมหานคร โดยสำนักอนามัย ร่วมกับเครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน จัดโครงการโรงเรียนอ่อนหวานขึ้นเพื่อสร้างจิตสำนึกของครู ผู้ปกครอง นักเรียน ให้เลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เข้าใดโทษของการบริโดภคหวานเกินจำเป็น
โดย กทม.เริ่มการห้ามขายน้ำอัดลมในโรงเรียนในสังกัด 435 แห่ง มาแล้ว 3 ปี เพราะเห็นความสำคัญของสุขภาพนักเรียน ซึ่งงานวิจัยยืนยันชัดว่าการทำให้โรงเรียนปลอดน้ำอัดลม จะทำให้เด็กๆ ลดความเสี่ยงต่อสุขภาพลงได้นอกจากนี้ยังมีจังหวัดต่างๆมากว่า 20 จังหวัดเริ่มโครงการนี้
การศึกษาของมูลนิสาธารณสุขแห่งชาติ พบว่า ปัจจุบันมีโรงเรียนประถมศึกษาประมาณ 30% ยังขายน้ำอัดลมในโรงเรียน แม้การขายน้ำอัดลมจะเป็นส่วนหนึ่งในการได้รับเงินสนับสนุน สสส. แต่ครูส่วนใหญ่ เห็นว่าโรงเรียนหางบประมาณจากแหล่งอื่นได้อีกหลายทาง สอดคล้องกับการศึกษาในสหรัฐฯ ที่พิสูจน์ว่าการเลิกขายน้ำอัดลมในโรงเรียนลดลง และเมื่อมีแต่อาหารสุขภาพจำหน่าย เด็กจะรับประทานอาหารสุขภาพได้มากขึ้น
เพิ่มเป็นการคุ้มครองสุขภาพของนักเรียน เราจึงควรสนับสนุนนโยบายที่จะให้โรงเรียนปลอดน้ำอัดลมและส่งเสริมให้เด็กดื่มน้ำเปล่าที่สะอาด เพื่อสุขภาพที่ดีของเด็กไทย
เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน
Update:24-07-51