ถอดบทเรียนเพื่อจัดการความรู้ภาคีเครือข่าย 4 ภูมิภาค

ที่มา : แฟนเพจ Spark U อีสานบ้านเฮา ข้อมูล ฝ่ายประชาสัมพันธ์แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรม สสส.


ภาพประกอบจากแฟนเพจ Spark U อีสานบ้านเฮา


ถอดบทเรียนเพื่อจัดการความรู้ภาคีเครือข่าย 4 ภูมิภาค  thaihealth


กิจกรรมการถอดบทเรียน เพื่อจัดการความรู้ภาคีเครือข่ายใน 4 ภูมิภาค


เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมการถอดบทเรียน เพื่อจัดการความรู้ภาคีเครือข่าย 4 ภูมิภาค ในงานมีภาคีเครือข่ายจากโครงการต่าง ๆ เข้าร่วมมากมาย อาทิ โครงการสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลง 4 ภูมิภาค , โครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม , โครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน ( ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้ ) ระดับภูมิภาค และโครงการปลุกใจเมืองภาคอีสาน ( Spark U )


กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและเปิดงาน โดย อาจารย์มานพ แย้มอุทัย ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. จากนั้นมีการชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดงาน ความคาดหวัง และทิศทางการทำงานของแผนงานฯ โดย อาจารย์ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ ต่อด้วยการชี้แจงกระบวนการจัดการความรู้ และการถอดบทเรียน โดย อาจารย์ดร.กันยิกา ชอว์ และคณะทำงานจากสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์


จากนั้นมีการแบ่งกลุ่มเพื่อถอดบทเรียนตามโจทย์ด้วยเครื่องมือที่เป็นโมเดลต้นไม้และโมเดลมือ โมเดลต้นไม้ประกอบไปด้วย ดิน ราก ลำต้น ปุ๋ย ใบไม้ที่ร่วงหล่น กิ่งก้าน ดอกผลและสิ่งแวดล้อม


โมเดลมือประกอบไปด้วย นิ้วโป้ง – เปิด , นิ้วชี้ – ปรุง , นิ้วกลาง – ปัน , นิ้วนาง – แปร และนิ้วก้อย – ปูม สามารถอธิบายโมเดลได้ดังนี้


1.กลางมือ+นิ้วโป้ง+ราก+ดิน+แสงแดด


เปิดโครงการ มีปัญหา/ประเด็นจากอะไร พื้นฐานชุมชนเป็นอย่างไร มีทรัพยากรอะไร สภาพปัญหา ความเป็นมา รวมถึงทัศนคติของชุมชน ใครเป็นผู้นำความคิดในการเปิดประเด็น


2.นิ้วชี้+ลำต้น+ปุ๋ย


เรื่องอะไรมาเป็นแกนในการทำงาน ต้องinput อะไร ทำแผนอย่างไร ทำโครงการอย่างไร ใช้สื่ออะไร ใครผลิต ใครมีส่วนร่วม


3.นิ้วกลาง +กิ่งก้าน+ดอกผล


เอาอะไรไปเผยแพร่ กับใคร


4.นิ้วนาง


เคยเอาแบบแผนที่เห็นมามาปรับเข้ากับงานเราอย่างไร และได้ผลอย่างไร (อันนี้อาจเน้นว่าระหว่างทำโครงการ มีปัญหาอุปสรรคอะไร ใช้วิธีแก้ปัญหาใหม่ๆอย่างไร)


5.นิ้วก้อย


สร้างเครือข่ายอย่างไร


6.ใบไม้ที่ร่วงหล่น


คิดว่าตำนานของโครงการเราคืออะไร อะไรเป็น key factor โมเดลเด่นเราคืออะไร ถ้าจะทำต่อ จะทำอะไรเหมือนเดิม อะไรต่างจากเดิม จะใส่ปรับแก้อีก หรือเหตุผลอื่นๆ) หลังจากนั้นจะนำไปเพื่อสกัดเป็นโมเดลในการทำงานของพื้นที่อีกครั้ง


และปิดท้ายด้วยสรุปผลกระบวนการถอดบทเรียน และนัดหมายการทบทวนการจัดการความรู้โดยอาจารย์ดนัย หวังบุญชัยและอาจารย์กันยิกา ชอว์

Shares:
QR Code :
QR Code