ถวายเครื่องสังเค็ด พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ
ที่มา : เว็บไซต์ PPTV ข้อมูลจาก กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม
ภาพประกอบจาก เว็บไซต์ PPTV
เกร็ดความรู้ ถวายเครื่องสังเค็ด พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ
สังเค็ด มากจากคำว่า สังคีต แปลว่า การสวด ดังนั้นที่ซึ่งพระสงฆ์ขึ้นไปนั่งสวดได้ 4 รูป จึงเรียกว่า เตียงสังคีตอันเดียวกับเตียงสวด หรือร้านสวดในการศพ เว้นแต่ทำให้ประณีตขึ้น มียอดดุจปราสาทก็มี ไม่มียอดก็มี ทั้งนี้เครื่องสังเค็ดอันหมายถึงสิ่งของที่ใช้ในการทำบุญศพ มีที่มาจากแต่เดิมนิยมนำสังเค็ดอันเป็นเตียงสวดของพระสงฆ์นั้นมาใส่ของหามเข้าขบวนแห่ศพ ต่อมาภายหลังของเหล่านี้ไม่ได้จัดใส่ในสังเค็ดแล้ว แต่ผู้คนยังเรียกของทำบุญในการศพว่าเครื่องสังเค็ดอยู่
เครื่องสังเค็ดมีหลายชนิดตามแต่จะเห็นว่าสิ่งใดจำเป็นแก่พระสงฆ์ เช่น ตู้พระธรรม โต๊ะหมู่ เป็นต้น ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนธรรมเนียมการถวายเครื่องสังเค็ดโดยมุ่งประโยชน์แก่สาธารณะมากขึ้น จำแนกเป็น 3 ประเภท คือ ถวายพระภิกษุมีพัดรอง หรือพัดสังเค็ด ย่าม ผ้ากราบ ถวายวัดมีธรรมาสน์ ตู้พระธรรม และสำหรับโรงเรียน ได้แก่ เครื่องใช้ต่างๆ ในปัจจุบันยังคงยึด ธรรมเนียมการถวายเครื่องสังเค็ดดังกล่าวอยู่ แต่ได้มีการถวายหนังสืออันเป็นแหล่งเกิดปัญญาเพิ่มเข้ามา ดังในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 ได้สร้างตู้สังเค็ดบรรจุพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐซึ่งเป็นพระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร ได้รับภารกิจในการออกแบบเครื่องสังเค็ด ส่วนการจัดสร้างสำนักพระราชวังเป็นผู้ดำเนินการ โดยให้ทางกรมศิลปากรช่วยควบคุมดูแลให้เป็นไปตามรูปแบบ รายการเครื่องสังเค็ดที่จัดทำขึ้น ได้แก่ พัดรองสำหรับพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลการออกพระเมรุ พัดรองสำหรับพระราชพิธีทรงบำเพ็ญกุศลพระบรมอัฐิ พัดรองสำหรับถวายพระจีนนิกายและอนัมนิกาย ตู้สังเค็ดหรือตู้ใส่หนังสือประดับด้วยภาพพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก ธรรมาสน์ปาติโมกข์ หีบพระปาติโมกข์พร้อมต่าง