ตั้ง’ครัวกลาง’เพื่อเด็กไทยสมวัย
สืบเนื่องจากผลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยครั้งล่าสุด โดยองค์การยูนิเซฟ และสำนักงานสถิติแห่งชาติ พร้อมด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง พบว่า ปัจจุบันเด็กไทยจำนวนไม่น้อยต้องเผชิญปัญหาทางทุพโภชนาการ จนส่งผลเสียต่อร่างกายและพัฒนาการทางสมอง เช่น สรีระเตี้ย แคระ แกร็น การเรียนรู้ทำได้ไม่สมวัย
เป็นที่มาของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ "เรียนรู้-ร่วมสร้างโภชนาการสมวัยในศูนย์เด็กเล็ก" เมื่อเร็วๆ นี้ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อแพร่องค์ความรู้ใหม่ "ครัวกลาง" นวัตกรรมช่วยเพิ่มโภชนาการคุณภาพให้แก่เด็กไทย ที่นำร่องจนประสบความสำเร็จแล้วใน 9 จังหวัด
โดย พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวยการสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เพื่อให้ปัญหาทางภาวะทุพโภชนาการในเด็กไทยบรรเทาลงโดยเร็ว กรมอนามัยจึงมีแนวคิดขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ภายใต้แนวคิดที่ต้องการสร้างโภชนาการที่สมวัยให้แก่เด็ก ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจาก สสส. ทั้งนี้ผลสำเร็จของโครงการพบว่า สามารถขับเคลื่อนให้เกิดระบบการจัดการอาหารที่ได้มาตรฐานแก่เด็กในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กว่า 120 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังสามารถผลักดันให้รัฐบาลเพิ่มค่าอาหารกลางวันนักเรียนจากวันละ 13 บาทต่อคน เพิ่มเป็นวันละ 20 บาทต่อคน เพื่อให้เด็กได้รับโภชนาการที่ดีมากขึ้น
ด้าน อ.สง่า ดามาพงษ์ ที่ปรึกษากรมอนามัย ในฐานะผู้จัดการศูนย์ประสานงานโครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะด้านอาหารและโภชนาการเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย กล่าวว่า หลังจากได้นำร่องนวัตกรรม ครัวกลาง 1 ตำบล 1 ครัวมาตรฐาน ใน 9 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ เพชรบุรี ขอนแก่น อุดรธานี เชียงใหม่ ลำปาง สงขลา และภูเก็ต พบว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยเด็กๆ ในพื้นที่ดังกล่าวมีภาวะทางโภชนาการที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงเตรียมนำนวัตกรรมครัวกลางไปปรับใช้ยังพื้นที่อื่นๆ ทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมคุณภาพอาหารอย่างเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว และลดต้นทุนการผลิตอาหารของ อปท.
ขณะที่ น.ส.วาริฉัตร ดวงจินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. กล่าวเสริมว่า สสส.เล็งเห็นความสำคัญของภาวะโภชนาการของเด็กไทย จึงได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในเรื่องนี้ขึ้น เพื่อขยายผลองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีในการขับเคลื่อนการเสริมสร้างโภชนาการในศูนย์เด็กเล็ก
โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวประกอบด้วย การบรรยายจากทีมวิทยากร สำนักโภชนาการ กรมอนามัย การเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรและผู้นำชุมชนจากพื้นที่ตัวอย่าง การฝึกปฏิบัติในการวางแผนการจัดอาหารกลางวัน การเตรียมวัตถุดิบ การเตรียม การปรุง การประกอบอาหาร และตักอาหารตามธงโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย ตลอดจนการฝึกปฏิบัติผลิตสื่อทำมือเชิงสร้างสรรค์ และประยุกต์ใช้สื่อเพื่อส่งเสริมการบริโภคผักและผลไม้สำหรับเด็กปฐมวัย เพื่อขยายผลให้ผู้บริหาร อปท. และเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมอบรม รวมถึงประชาชนที่สนใจได้เรียนรู้ และนำไปทดลองดำเนินการคุณป๊อปในพื้นที่ของตนเอง เพื่อพัฒนาเด็กในพื้นที่ทั่วผู้บริหาร กันกุล ประเทศให้มีโภชนาการบริษัทในกลุ่มสมวัยต่อไป.
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต