ตลาดเล็กกะสิ…10 ปี เพชรบุรี ดีจัง

ที่มา : แฟนเพจเพชรบุรี ดีจัง


ภาพประกอบจากแฟนเพจเพชรบุรี ดีจัง


ตลาดเล็กกะสิ...10 ปี เพชรบุรี ดีจัง thaihealth


เพชรบุรี ดีจัง ปีที่ 10 พื้นที่ปฏิบัติการสื่อ ศิลปะ วัฒนธรรม


ร่วมขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยกันมาเข้าสู่ปีที่ 10 มีพื้นที่สร้างสรรค์เกิดขึ้นมากมายในหลายชุมชน มีเยาวชนแกนนำขึ้นในหลายพื้นที่ พบเจอศิลปิน ปราชญ์ ผู้รู้ ภูมิปัญญามากมายอยู่ในทุกหนแห่ง


วันนี้เราจะเป็น "พาหนะ" ให้เด็ก ๆ เยาวชน และผู้คนรอบข้าง ได้เดินทาง 'เรียนรู้' และ 'สื่อสาร' เรื่องราวของตน ของชุมชน และ ของคนเมืองเพชรบุรี กันต่อไปอย่างมีความสุข


หอศิลป์สุวรรณาราม วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี จะเปลี่ยนรูป แปลงร่าง เป็นพื้นที่ปฏิบัติการสื่อ ศิลปะ วัฒนธรรม เป็นต้นทางของการเรียนรู้ เป็นพื้นทีนี้ดีจังของทุกคน


ตลาดเล็กกะสิ – Legaci Market เป็นชื่อของตลาดเล็ก ๆ เป็นผลที่เกิดจากการดำเนินโครงการเพชรบุรี ดีจัง ที่ทำต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลา 10 ปี (เริ่มปี 2553) มีที่ตั้งอยู่ที่ถนนหน้าหอศิลป์สุวรรณาราม ภายในวัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร ตำบลท่าราบ อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี เปิดเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 15.30 น.


ตลาดเล็กกะสิ...10 ปี เพชรบุรี ดีจัง thaihealth


สำหรับชื่อ เล็กกะสิ เป็นชื่อที่แอบเลียนแบบมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Legacy ซึ่งมีความหมายว่า มรดก หรือ สิ่งที่สืบทอดจากคนรุ่นก่อน


ตลาดเล็กกะสิ จำหน่ายเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการเรียนรู้ชุมชน ของเครือข่ายเพชรบุรี ดีจัง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และภูมิปัญญาดั้งเดิมของคนรุ่นก่อน มาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน และเพื่อรักษามรดกทางภูมิปัญญาของชุมชนและเมืองเพชรเอาไว้


ตอนนี้ตลาดเล็กกะสิมีร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ คือ ผ้ามัดย้อม กระถางปั้นดินเผา สบู่ลูกตาล ผ้าขาวม้าทอมือ ผักริมรั้วและสมุนไพร ภาพวาดเมืองเพชร ผลิตภัณฑ์จากตาล เกลือ ของใช้ประเภทจักสาน


ผลิตภัณฑ์ที่นำมาขายในตลาดนี้ตัวคนทำที่เป็นตัวภูมิปัญญาจะมาขายเองพร้อมที่จะให้ความรู้แก่ผู้สนใจด้วย แต่ก็มีของบางอย่าง ที่คนทำไม่สะดวกหรือเป็นผู้สูงอายุมาขายเองไม่ได้ กลุ่มลูกหว้าก็จะเป็นคนจัดการขายให้


แนวคิดในการดำเนินการมาจากการขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเด็กและเยาวชน ชักชวนกันสืบค้น ค้นหาภูมิปัญญาของชุมชน เรียนรู้กับผู้รู้ ปราชญ์ ศิลปินในหมู่บ้าน สนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการออกแบบสื่อเพื่อสื่อสารเรื่องราวของชุมชน เปลี่ยนรูปแปลงร่างสื่อสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ของชุมชน ค่อย ๆ ขยับทีละเล็กทีละน้อย ๆ รอคอยเวลาอันเหมาะสม

Shares:
QR Code :
QR Code