ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร ในช่วง COVID-19

ที่มา : บทความ ผู้สูงอายุควรปรับตัวอย่างไรใน COVID-19 


ดูแลผู้สูงอายุอย่างไร ในช่วง COVID-19 thaihealth


แฟ้มภาพ


จากสถิติของคนที่ได้รับเชื้อและมีอาการป่วย และตายในที่สุดจากสถิติของผ้ป่วยในทุกประเทศ พบว่า ผู้ได้รับเชื้อและป่วยที่อายุต่ำกว่า 60 ปี จะมีเปอร์เซ็นต์ต่ำกว่าผู้ป่วยที่มีอายุเกิน 60 ปี ยิ่งสูงกว่า 80 ปียิ่งมีอัตราการเจ็บป่วยมาก และตายมากกว่ากลุ่มอื่นๆ อาจพูดได้ว่าผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อ ป่วย จะเสียชีวิตมากที่สุด ยิ่งมีอายุเกิน 70 ปียิ่งป่วยและเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มที่มีอายุต่ำกว่ากว่ากลุ่มอายุ 60 ปีลงมา


เหตุผลที่ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มเสี่ยง ที่จะได้รับเชื้อ นั้น เนื่องจากอย่างที่เรามักจะทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่า


1.ผู้สูงอายุ โดยทั่วไปมีภูมิคุ้มกันต่ำ ยิ่งสูงอายุมากเท่าไร ก็ยิ่งภูมิต่ำมาก ยกเว้นในกลุ่มที่สนใจสร้างสุขภาพ โดยการออกกำลังกายเป็นประจำ อย่างสม่ำเสมอ


2.ผู้สูงอายุมีโรคเรื้อรัง หลายๆโรคในคราวเดียวกัน เช่นโรคความดัน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน


3.ผู้สูงอายุมักป่วยเป็นโรคหัวใจ โรคปอด โรคหอบหืด โรคไต และมักจะมีเบาหวานร่วมด้วย ซึ่งทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนและจะเป็นปัญหามาก


 


ดังนั้นผู้สูงอายุจะใช้ชีวิตอย่างไร ในช่วงที่มีการระบาดของ โควิด19 จึงจะอยู่ได้อย่างปลอดภัย ไม่ไปติดต่อรับเชื้อจากบุคคลอื่น ผู้สูงอายุที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ หรือเป็นนักเรียนโรงเรียนผู้สูงอายุ สิ่งที่ควรปฎิบัติ ในช่วงที่ยังมีการระบาด มีดังนี้


1.ให้ชมรมผู้สูงอายุและโรงเรียนผู้สูงอายุ หยุดทำกิจกรรม ที่มีการประชุมร่วมกันในห้องประชุม


2.ถ้าจำเป็นต้องไปพบปะผู้คน ให้ทิ้งระยะ ห่างจากคนที่เราจะพูดคุยด้วย ไม่น้อยกว่า 1-2 เมตร (Social distancing )


3.ไม่ควรโดยสารรถสาธารณะ ที่มีผู้คนมากมายปะปนอยู่ในรถ ที่ไม่ถ่ายเทของอากาศ   


4.เวลาออกนอกบ้าน ต้องใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง


5.พยายามหลีกเลี่ยงการออกไปสั่งสรรหรือพบปะ และหรือเล่นเกมส์ต่างๆ  เล่นหมากรุก หมากฮอส หรือเล่น กีฬา ที่คนมาร่วมกันอย่างใกล้ชิด


6.ทางที่ดีให้อยู่กับบ้าน ไม่ออกไปข้างนอก และใช้เวลาส่วนใหญ่ อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ ติดตามข่าวสารบ้าง ออกกำลังกายในบ้าน โดยการเคลื่อนไหว เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน


7.ทำในสิ่งที่เพลิดเพลิน ปลูกต้นไม้


8.ไม่ไปในที่ๆมีการชุมนุมของคนจำนวนมาก เช่น สนามม้า สนามมวย สนามกิฬาโรงหนัง


9.ไม่ไปรับประทานอาหารข้างนอก หรือในร้านอาหาร


10.หมั่นล้างมือบ่อยๆทุกครั้งที่ ไปจับหรือแตะสี่งของที่มีผู้จับบ่อยๆ เช่นปุ่มลืป ลุกบิดประตู


11.เวลารับประทานอาหาร ให้ใช้ช้อนกลางของใครของมัน หรือสำรับใครสำรับมัน


สิ่งที่เป็นอันตรายสำหรับ ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อ โควิด19 โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ก็คือ เมื่อเชื้อเข้าสู่หลอดลม มันจะเข้าไปค่อยๆทำลายปอดทีละน้อย และทำให้เกิด สภาพของปอดอักเสบในระยะแรก จนขยายไปเป็นพังผืด ซึ่งทำให้เป็นสาเหตุของการตายในที่สุดโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันต่ำจะเสี่ยงมาก

Shares:
QR Code :
QR Code