ดื่มหนักวาเลนไทน์ เสี่ยงเซ็กส์ไม่ปลอดภัย

          เยาวชนเชียงใหม่เสนอนโยบายแก้ไขปัญหาเทศกาลวันวาเลนไทน์ หนุนบังคับใช้กฎหมายเข้ม

/data/content/23372/cms/ahklmpqrvwz8.jpg

          ผลสำรวจพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ ปี 2557 ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการศึกษาพฤติกรรมการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ , พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ , การรับรู้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ของร้านเหล้าและสถานบันเทิง , การมีเพศสัมพันธ์และผลกระทบโดยได้มีการแจกแบบสำรวจใน 3 สถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 1,000 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 15 – 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

          จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับกลุ่มนักศึกษาที่เคยมีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เล่าว่า ในโอกาสสำคัญนักศึกษาจำนวนมากมักใช้ร้านอาหาร ร้านเหล้าสถานบันเทิงเป็นพื้นที่เฉลิมฉลองในวาระโอกาสสำคัญเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็น งานเลี้ยงต้อนรับน้องใหม่ งานเลี้ยงรับปริญญา และเทศกาลวันวาเลนไทน์ซึ่งเป็นอีกวันหนึ่งที่นักศึกษาเหล่านั้นได้ให้ความสำคัญ

/data/content/23372/cms/cdhkmnstuwx4.jpg          จากการสำรวจกิจกรรมที่เป็นที่นิยมของนักศึกษาคือ สถานบันเทิงเป็นอันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 31.1 ลำดับที่สองคือโรงภาพยนตร์ คิดเป็นร้อยละ 15.1 ลำดับที่สามคือร้านอาหารคิดเป็นร้อยละ 12.2 ลำดับที่สี่อยู่ห้องกับแฟนคิดเป็นร้อยละ 11.2 ลำดับที่ห้าเที่ยวต่างจังหวัดคิดเป็นร้อยละ 8 ลำดับที่หกทำบุญตักบาตรคิดเป็นร้อยละ 7 ลำดับที่เจ็ด ช็อปปิ้ง/เดินห้างคิดเป็นร้อยละ 6.2 ลำดับที่แปดเที่ยวต่างประเทศคิดเป็นร้อยละ 51 ลำดับที่เก้าร้านคาราโอเกะคิดเป็นร้อยละ 2.5 และลำดับที่สิบคือสวนสาธารณะคิดเป็นร้อยละ 1.6

          นั่นคงเป็นคำตอบได้ว่าค่านิยมของนักศึกษามีการให้ความสำคัญกับเทศกาลวันวาเลนไทน์จึงกลายเป็นวันที่มีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สูงกว่าวันธรรมดา สาเหตุที่มีการบริโภคสูงเนื่องจากในเทศกาลดังกล่าวร้านอาหารสถานบันเทิงได้มีการจัดทำการส่งเสริมการขายในช่วงเทศกาลวันวาเลนไทน์ทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ในการส่งเสริมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ 61.5 ส่วนมากจะรับรู้ผ่านป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 30.5 ลำดับที่สองอินเตอร์เน็ต คิดเป็นร้อยละ 23.7 ลำดับที่สามป้ายโปรโมชั่นจากร้านเหล้า คิดเป็นร้อยละ 12.1 ลำดับที่สี่สื่อโปสเตอร์ คิดเป็นร้อยละ 11.5 ลำดับที่ห้าปากต่อปาก คิดเป็นร้อยละ 7.4 ลำดับที่หกร้านค้าสถานบันเทิง คิดเป็นร้อยละ 6.2 ลำดับที่เจ็ดเพื่อน คิดเป็นร้อยละ 5.2 ลำดับที่แปดหนังสือพิมพ์ คิดเป็นร้อยละ 2.4 และลำดับสุดท้ายสื่อวิทยุ คิดเป็นร้อยละ 1

          จากข้อมูลดังกล่าวทราบว่าในเทศกาลวันวาเลนไทน์ได้ส่งผลกระทบหลายประการอันได้แก่ การเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัยซึ่งจากกลุ่มตัวอย่างได้บอกว่าฤทธิ์ของแอลกอฮอล์มีส่วนกระตุ้นความต้องการทางเพศ โดยกลุ่มตัวอย่างผู้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จาก 524 คนมีการมีเพศสัมพันธ์ถึง 233 คน คิดเป็นร้อยละ 51 มีเพศสัมพันธ์แบบไม่มีการป้องกันไม่สวมถุงยางอนามัย

/data/content/23372/cms/abltvwxy1459.jpg          จากการสำรวจยังพบอีกว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดคือ การขับขี่คิดเป็นร้อยละ 38.5 ลำดับที่ 2 ไม่สามารถควบคุมสติตัวเองได้คิดเป็นร้อยละ 20.5 ลำดับที่ 3 ทะเลาะวิวาทกับเพื่อนฝูงคิดเป็นร้อยละ 13.2 ลำดับที่ 4 เกิดอุบัติเหตุคิดเป็นร้อยละ 10.2 ลำดับที่ 5 โดนล่วงละเมิดทางเพศคิดเป็นร้อยละ 9.1 ลำดับที่ 6 ทะเลาะกับคนรัก/แฟนคิดเป็นร้อยละ 6.0 และลำดับสุดท้ายทรัพย์สินสูญหายคิดเป็นร้อยละ 2.5

          นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายของนักศึกษาโดยจำนวนค่าใช้จ่ายในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวันวาเลนไทน์เฉลี่ยต่อคนพบว่าอันดับที่ 1 เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า 100 บาทจำนวน 188 คน คิดเป็นร้อยละ 36 อันดับที่ 2 เสียค่าใช้จ่ายจำนวน 100 – 300 บาท จำนวน 141 คนคิดเป็นร้อยละ 27 อันดับที่ 3 เสียค่าใช้จ่าย 300 – 500 บาทจำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 15 อันดับที่ 4 เสียค่าใช้จ่ายจำนวน 500 – 800 จำนวน 53 คนคิดเป็นร้อยละ 10 อันดับที่ 5 เสียงค่าใช้จ่าย 800 – 1000 บาทจำนวน 37 คนคิดเป็นร้อยละ 7.0 อันดับที่ 6 เสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 1000 บาทจำนวน 26 คนคิดเป็นร้อยละ 5

          การแก้ไขปัญหาและผลกระทบจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทางด้านสุขภาพ การบริโภคแอลกอฮอล์มีส่วนต่อภาวะโรคทั้งระดับบุคคลและสังคม ผลกระทบด้านสังคมของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลไปยังสถาบันครอบครับ ชุมชน บุคคลอื่นๆ ในสังคม ดังนั้นการแก้ไขปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบต้องอาศัยผู้ใหญ่ในบ้านเมืองในการบังคับในกฎหมายและจัดการปัญหาช่องโหว่ที่เกิดขึ้น อีกทั้งต้องรณรงค์ขับเคลื่อนเยาวชนให้รู้เท่าทันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสร้างความกระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยโดยการใช้ถุงยางอนามัยและควบคุมภาวะโรคต่างๆ นอกจากนี้ยังต้องควบคุมเทศกาลที่เปิดโอกาสให้เกิดการดื่มด้วย

 

 

          ที่มา :  เครือข่ายป้องกันปัญหาจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติดจังหวัดเชียงใหม่ โดย ธนภัทร แก้วนิล

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code