ดนตรีไม่เพราะพริ้ง แต่ให้ความนิ่งในใจ

          "เราไม่ได้เล่นดนตรีเพื่อเน้นความไพเราะในตอนแรก แต่เล่นเพื่อให้มีสมาธิ เพราะเวลาที่จิตใจของเราจดจ่ออยู่ที่การเล่นดนตรียังช่วยให้ลืมความเจ็บปวดได้ชั่วขณะ" ปรียานุช ปานประดับ เอ่ยถึงพลังของดนตรี ระหว่างร่วมทำกิจกรรมมหัศจรรย์ดนตรีบำบัด ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.


  /data/content/26033/cms/e_aiorstuw1347.jpg


/data/content/26033/cms/e_efjmopqs1259.jpg


        อย่างที่ทราบว่าดาราสาวผู้นี้เคยเจ็บป่วยจนไม่สามารถเดินได้ ระหว่างนั้นได้หันกลับมาเล่นเครื่องดนตรีที่ชอบ คือ "ขิม" และฝึกซ้อมเป็นประจำ จนมือและแขนที่เกือบจะเป็นอัมพฤกษ์สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ จากจุดนั้นทำให้ได้ผันตัวมาก่อตั้งวงดนตรี "มโหระทึก ดนตรีลีลา" ร่วมกับสามี นพพล โกมารชุน


          "ดนตรีนอกจากนี้ยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด พอเล่นคนเดียวไปสักพักก็เลยชวนน้อง ๆ พนักงานในบริษัทเป่าจินจงมาเล่นดนตรีด้วยกัน และตั้งวงขึ้นมา ก่อนที่จะตระเวนไปเล่นตามโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ เพราะหวังจะมอบความสุขให้กับผู้ป่วยได้มีรอยยิ้มจากเสียงดนตรีของพวกเรา" ปรียานุชกล่าว


/data/content/26033/cms/e_aefiklnty278.jpg


          ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อธิบายว่า ปัจจุบันดนตรีบำบัดเริ่มเข้ามามีบทบาทในทางการแพทย์มากขึ้น ยกตัวอย่างการวิจัยคนไข้ที่ใส่เครื่องช่วยหายใจในห้องฉุกเฉินพบว่า หากใช้ดนตรีเข้ามาร่วมบำบัดด้วย เช่น เปิดดนตรีคลาสสิกที่ฟังแล้วผ่อนคลายในระดับเสียงที่พอเหมาะ คนไข้จะรู้สึกคลายความปวดลงได้มากขึ้น สามารถลดการใช้ยานอนหลับลงได้


          หรือในบางรายแทบจะไม่ต้องใช้ยานอนหลับเลย อีกทั้งคนไข้ยังสามารถหายใจร่วมกับเครื่องช่วยหายใจโดยไม่ต่อต้านทำให้การรักษาและฟื้นฟูราบรื่น ซึ่งก็เป็นประโยชน์ที่ทำให้เราเริ่มหันมาให้ความสนใจว่า เราสามารถลดผลข้างเคียงหรือผลแทรกซ้อนระยะยาวของคนไข้ที่รับการรักษาในโรงพยาบาลเพียงแค่ใช้เสียงดนตรี


          ผศ.นพ.สุทัศน์ ย้ำอีกว่าเสียงดนตรียังสามารถเปลี่ยนมุมมองและความปลยนมสามารถเปลี่ยนมุมมองและความปลยนมรูรู้สึกที่มืดมนให้กลับมามีความสุขได้แม้จะเป็นเวลาเพียงชั่วขณะหนึ่ง แต่สำหรับผู้ป่วยบางคนถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างเสริมสุขภาวะทั้ง 4 มิติ กาย ใจ ปัญญา และสังคมนาง


/data/content/26033/cms/e_cghijopsuvy4.jpg


          เบญจมาภรณ์ จันทรพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. เปิดเผยว่า เราจะมีกิจกรรมทุกวันเสาร์อย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องทางกาย เช่น การปลูกผัก การทำงาน D.I.Y. และโยคะ แต่สำหรับกิจกรรมดนตรีบำบัดครั้งนี้จะเป็นการเริ่มเข้าสู่กิจกรรมที่เน้นทางด้านพัฒนาจิตใจและสร้างสมดุลชีวิต (Life Balance) การฟังดนตรี ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา บำบัดจิตได้เป็นอย่างดี สามารถเปลี่ยนมุมมองและความสำหรับรู้สึกที่มืดมนให้กลับมามีใครที่สนใจความสุขได้แม้จะเป็นเข้าร่วมเวลาเพียงชั่วขณะกิจกรรมหนึ่ง แต่สำหรับในครั้งผู้ป่วยบางคนต่อไป


          ถือเป็นช่วงเวลาสามารถที่สำคัญมากติดตามรายละเอียดศูนย์เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ www.thaihealthcenter.org สุขภาวะ สสส. เล็งหรือโทร. 08-1731-8270 (09.00-17.00 น.เห็นความสำคัญในจันทร์-เสาร์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)การสร้างเสริมสุขภาวะLine ID: thaihealth_center


 


 


          ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

Shares:
QR Code :
QR Code