ชูเมืองกรุงฯ สื่อสร้างสรรค์ขับเคลื่อนชุมชน3ดี

        บางกอกนี้ดีจัง จัดกิจกรรม "เมือง3ดี พื้นที่นี้ดีจัง" ที่วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เขตบางกอกน้อย นำร่องสู่เมืองสื่อสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด 1ชุมชน1ยิ้ม1โรงเรียน1ยิ้ม1ครอบครัว1ยิ้ม


/data/content/26937/cms/e_dfilorstuv45.jpg


          ที่ผ่านมา  เครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง  มูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา  เด็กเยาวชน แกนนำชุมชน จากหลายพื้นที่ใน กทม.กว่า 300 คนเพื่อจัดสภาพแวดล้อมสร้างพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนสนับสนุนโดยสถาบันสื่อเด็กเยาวชน และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)  ได้จัดกิจกรรม "เมือง3ดี พื้นที่นี้ดีจัง" ที่วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เขตบางกอกน้อย ทั้งนี้ภายในงานมีการแสดงชุดยิ้มของแผ่นดินโดยเครือข่ายเยาวชนในพื้นที่ การโชว์สิงโตเด็ก และเพลงฉ่อย การแสดงกระตั้วแทงเสือ


          น.ส.เข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)ภายใต้การสนับสนุนของ สสส. กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้เพื่อต้องการสร้างเครือข่ายพื้นที่ ชุมชน 3 ดี ได้แก่ พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี หมายถึง เด็ก เยาวชน โรงเรียนและชุมชน จะได้ใช้สื่อที่เหมาะสมต่อการพัฒนาแต่ละช่วงวัย มีโอกาสเข้าถึงสื่อไม่จำกัดโอกาส เวลา และสถานที่ ที่สำคัญเป็นสื่อที่สร้างสรรค์เป็นแหล่งเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนได้มาทำกิจกรรม เป็นพื้นที่ให้มาฝึกทักษะชีวิต เป็นพื้นที่รวมตัวกันทำงานอาสา ผ่านกระบวนการเรียนรู้สื่อที่เหมาะสมที่คนในชุมชนมีส่วนร่วม  ในการออกแบบ สามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ รวมถึงเป็นพื้นที่สำหรับเล่นและทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างปลอดภัย โดยจะมีการนำร่องสู่เมืองสื่อสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด1ชุมชน1ยิ้ม1โรงเรียน1ยิ้ม1ครอบครัว1ยิ้ม


          น.ส.เข็มพร  กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีพื้นที่ ตัวอย่างทั่วกรุงเทพฯ อาทิพื้นที่เขตบางกอกใหญ่ ชุมชนวัดหงษ์รัตนาราม ได้เริ่มทำพื้นที่สร้างสรรค์โดยใช้พื้นที่ที่บ้าน เป็นที่เล่น เรียนรู้ ของเด็กๆในชุมชน ส่วนชุมชนวัดอัมพวาเขตบางกอกน้อย ได้เชื่อมร้อยเครือข่ายเยาวชน สื่อชุมชน  สิงโตเด็ก รำโทนสื่อภูมิปัญญา สื่อการละเล่น สร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาเด็กเยาวชนส่วนชุมชนวัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย ในปีที่แล้วเกิดชมรมจักยาน ปั่นไปเรียนรู้ชุมชนและเป็นเครื่องมือในการทำกิจกรรมรณรงค์ และในปีนี้เด็กๆเยาวชนจับมือกับผู้ใหญ่ ชมรมจักรยานเกสรชุมชน ได้พัฒนาจุดจอดปลอดภัย, เส้นทางปลอดภัย , เพื่อนจักรยาน, สถานที่ให้ยืมและซ่อมบำรุง และจะพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพ เส้นทางปั่นพัฒนาเป็นเส้นทางศิลปะ ขณะที่พื้นที่บางนา บึงกุ่ม บางแค พระนคร  เกิดการส่งเสริมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเด็กเยาวชน ลงสืบค้นรากเหง้าชุมชน เกิดเป็นกลุ่มกิจกรรม กลุ่มสื่อ กลุ่มการละเล่น กลุ่มศิลปวัฒนธรรม พัฒนามาสู่การเป็นผู้สื่อ ถ่ายทอด แบ่งปันในพื้นที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามเครือข่าย จนเกิดกลุ่มเด็กเยาวชนในโรงเรียน ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล ไม่น้อยกว่า20 โรงเรียน


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย


         ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

Shares:
QR Code :
QR Code