ชุมชนรอบนอก เสี่ยง”ฝุ่นพิษ”กว่าคนเมือง

มลภาวะทางอากาศ

 

ชุมชนรอบนอก เสี่ยง”ฝุ่นพิษ”กว่าคนเมือง

               ดร.ทิพวรรณ ประภามณฑล หัวหน้าโครงการวิจัยการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสอนุภาคฝุ่นในอากาศในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปี พ.ศ. 2551 – 2552 ศูนย์วิจัยด้านมลภาวะและอนามัยสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการวิจัยเรื่อง “การพัฒนากระบวนการรับรู้ผลกระทบทางสุขภาพจากมลพิษอนุภาคฝุ่นในอากาศ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน-กรณีศึกษาในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย” โดยการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศึกษาในกลุ่มนักเรียน อายุ 11 – 14 ปี ในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน แบ่งเป็นนักเรียนในเขตเมือง 115 คน และเขตนอกเมือง 248 คน โดยการตรวจสาร 1-โอเอชพี ในปัสสาวะ ซึ่งเป็นสารบ่งชี้ชีวภาพ ของการสัมผัสสารพีเอเอช

             

               จากการศึกษาพบว่า กลุ่มเด็กนักเรียนนอกเมืองสัมผัสสารพีเอเอช (pahs) มากกว่ากลุ่มเด็กนักเรียนในเมือง ปริมาณฝุ่นพีเอ็ม 10 ในบริเวณโรงเรียน และในห้องเรียนในพื้นที่นอกเมืองสูงกว่าโรงเรียนในเมือง ชุมชนในพื้นที่นอกเมืองมีการเผาในที่โล่ง เช่น เผาเศษไม้ ใบไม้ และขยะในบริเวณบ้านเรือนมากกว่าในชุมชนเมือง และประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจ อันตรายต่อสุขภาพจากการสัมผัสอนุภาคฝุ่นขนาดเล็กในอากาศ ซึ่งจากผลการวิจัยดังกล่าว ทำให้พบว่าประชาชนที่อาศัยอยู่พื้นที่นอกเมือง เสี่ยงต่อการได้รับสารพิษจากฝุ่นขนาดเล็กที่เกิดจากการเผาไหม้ มากกว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมือง

 

              ดังนั้นในปี พ.ศ. 2552-2553 วช.จึงสนับสนุนงบประมาณวิจัยแก่ศูนย์วิจัยด้านมลภาวะและอนามัยสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อขยายพื้นที่ศึกษาให้ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเพื่อประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสอนุภาคฝุ่นในอากาศใน 5 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ

 

 

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า

 

 

 

update 11-12-52

 

อัพเดทเนื้อหาโดย : กิตติยา  ธนกาลมารวย

 

 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ