ชะอม โมเดลกับ..ธุรกิจไม้ขุดล้อม

 

ชะอม โมเดลกับ..ธุรกิจไม้ขุดล้อม

 

ผมไปดูเขาทำไม้ขุดล้อมที่บ้านชะอมมาแล้ว 3 ครั้งในช่วง 2 เดือน ที่ผ่านมา แต่ยังไม่มีเวลาเอามาถ่ายทอดให้ได้อ่านกัน ล่าสุดกลางสัปดาห์ที่แล้วคุณมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ซึ่งเป็นผู้จุดประกายให้คนบ้านชะอม อ.แก่งคอย ได้หันมาทำธุรกิจไม้ขุดล้อม เมื่อ 22 ปีก่อนได้กลับไปเยี่ยมบ้านชะอมอีกครั้ง ผมมีโอกาสติดตามท่านไป

คุณมีชัยนั้นชาวบ้านชะอมยกให้ท่านเป็นปูชนียบุคคลผู้มีพระคุณของพวกเขา เพราะสมัยก่อนโน้นที่บ้านชะอมก็เป็นแค่ตำบลในชนบท ทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ใครทำอะไรได้ดีก็แห่กันทำตามจนเป็นหนี้สินทุกครัวเรือน แต่เมื่อปี 2533 คุณมีชัยกับคณะไปเห็นชาวบ้านปลูกข้าวโพด ก็เลยแนะนำว่าน่าจะทำอย่างอื่นที่มันได้ผลคุ้มค่ากว่า ประกอบกับตอนนั้นกระแสการสร้างสนามกอล์ฟมาแรง มีความต้องการไม้ยืนต้นไปปลูกประดับกันมากคุณมีชัยก็เลยแนะนำว่า ให้หาพันธุ์ไม้ยืนต้นมาเพาะเลี้ยงขึ้นมาให้โตหน่อยแล้วก็ขุดไปขายเขา โดยตอนนั้นมีไรมอนด์แลนด์กับ วอลโว่เข้ามาร่วมให้การสนับสนุนทำหน้าที่เหมือนการตลาด

เรือใหญ่ฝ่ายชาวบ้านก็คือ คุณสายบัว พาสุข ก็พอจะถูไถไปกันได้ แต่ก็มีปัญหามาขวางพอสมควร เนื่องจากเกิดความผิดพลาดของ “คน กลาง” ระหว่างไรมอนด์แลนด์กับชาวบ้านที่อ้างชื่อบริษัทมารับต้นไม้ไปขายเสียเอง แต่สุดท้ายก็ลงเอยกันได้ตลอดเวลา 20 กว่าปีที่ผ่านมา การเพาะกล้าไม้เพื่อขุดต้นขายก็ปรับ เปลี่ยนเพราะตลาดต้องการไม้ใหญ่ที่มากขึ้น พวกชาวบ้านก็ต้องไปเที่ยวหา ซื้อไม้ใหญ่แล้วขุดล้อมมาขาย จากเดิมที่เปิดตลาดกันไม่กี่รายตอนนี้กิจการ ไม้ขุดล้อมของบ้านชะอมก็ขยายจาก 1 หมู่บ้านเป็น 11 หมู่บ้าน ซึ่งแม้ แต่ตัวคุณมีชัยที่ริเริ่มให้คำแนะนำก็อดภูมิใจไม่ได้ เพราะการขยายตัวเกินกว่าที่คิดเอาไว้

ที่สำคัญเป็นการขยายตัวอย่างยั่งยืน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันต่อสังคมของคนในบ้านชะอม ที่ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนา กิจการและท้องถิ่นของพวกเขาจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและกลายเป็นแหล่งค้าขายไม้ขุดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

อีกเรื่องหนึ่งที่ถือเป็นความภูมิใจทั้งของคนบ้านชะอมและสร้างความ ประทับให้กับผู้แนะแนวทางอย่างคุณมีชัย รวมทั้ง น.พ.ชาญวิทย์ วสันตธนารัตน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่พาสื่อมวลชนไปเยี่ยมชมชะอม โมเดล ก็คือ การดึงเอาลูกหลานของคนบ้านชะอมที่พลัดถิ่นพลัดที่ ไปร่ำเรียนและทำมาหากินในต่างถิ่นกลับมาร่วมทำกิจกรรมในบ้านเกิด และหลายคนที่กลับมาเป็น “ลูกมือ” ของครอบครัวก็ได้เติบโตจนกลายเป็นเจ้า ของกิจการ

“นี่คือความยั่งยืนที่เราต้องการเห็น” คุณมีชัยบอกอย่างนี้ และจากกระแสคืนถิ่นของคนรุ่นใหม่จึงได้มีการสร้างหลักสูตรท้องถิ่นที่ว่าด้วยการทำไม้ขุดล้อมขึ้นมาเพื่อสอนนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษา โดยมั่นใจว่าจะช่วยให้เด็กรุ่นใหม่ได้มีวิชาที่สามารถใช้ทำมาหากินในท้องถิ่นโดยไม่จำเป็นต้องโยกย้ายไปร่ำเรียนต่างถิ่นต่างที่เหมือนรุ่นพี่ๆ

“คนบ้านชะอมทุกวันนี้มีรายได้จากการขายไม้ขุดล้อมหรือรับจ้าง ในท้องถิ่นตกวันละเกือบพันบาท เขาไม่จำเป็นต้องง้อค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนดกันแล้วการที่เรามีหลักสูตรท้องถิ่นเรื่องไม้ขุดล้อม ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่ส่งเสริมให้ลูกหลานได้ร่ำเรียนสูงๆ แต่ เราต้องการให้เขามีวิชาติดตัว เพิ่มทางเลือกให้พวกเขา หากเขาได้เรียน สูงสามารถทำงานมีรายได้ดีในเมืองก็ปล่อยเขาไป แต่หากเขาอยากจะกลับมาทำงานในท้องถิ่น เรายิ่งยินดี ถือเป็นการพัฒนายกระดับ ความรู้ความสามารถของคนในท้องถิ่นเพื่อทดแทนคนรุ่นเก่า” คุณสายบัวบอก

จากนานากิจกรรมที่มุ่งสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนในท้องถิ่นของบ้าน ชะอม ทาง สสส.จึงได้เข้าร่วมผลักดัน เพื่อให้ “ชะอม โมเดล” ได้มีโอกาส ขยายผลงานของพวกตน จนกลายเป็นแหล่งที่จะให้ชุมชนอื่นได้มาเรียนรู้ถึงหัวใจของการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีจิตสำนึกที่จะร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมของตนเองในทุกๆ ด้าน

 

 

ที่มา : หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ

Shares:
QR Code :
QR Code