ชวนวัยรุ่นดูหนัง ‘เอมี่ ไวน์เฮาส์’ หยุดอบายมุข

สสส. สคล.จับมือเยาวชนบ้านกาญฯ และนักเรียนนักศึกษา ดูหนังเอมี่ไวน์เฮาส์ หวังเพิ่มทักษะชีวิต สร้างภูมิคุ้มกันหยุดอบายมุขในวัยโจ๋   


ชวนดูหนังเอมี่ไวน์เฮาส์ หวังหยุดอบายมุขในวัยโจ๋ thaihealth


วันนี้ (23กันยายน2558) เวลา09.30น. ที่โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัลเวิลด์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) โรงภาพยนตร์ SF เซ็นทรัลเวิลด์ และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน(ชาย)บ้านกาญจนาภิเษก นำเยาวชนและนักเรียนนักศึกษาจากหลายสถาบัน กว่า 250 คน เข้าชมภาพยนตร์ “เอมี่ ไวน์เฮาส์” (Amy Winehouse) เพื่อเพิ่มทักษะชีวิต สร้างภูมิคุ้มกัน ร่วมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและถอดบทเรียนผ่านเวทีเสวนาหัวข้อ “เอมี ไวน์เฮาส์ เหล้าหรือใคร หรืออะไรทำร้ายเธอ”


นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานเครือข่ายเฝ้าระวังกลยุทธ์อุตสาหกรรมสุรา กล่าวว่า หนังเรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตจริงเพื่อเป็นอุทาหรณ์ เหมาะกับทุกคนควรไปดูโดยเฉพาะคนทำงานด้านปัจจัยเสี่ยงเด็กเยาวชนและครอบครัว เพื่อรับมือหาทางป้องกันหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นกับตัวเองหรือคนใกล้ตัว หนังจะบอกเล่าการพาชีวิตไปสู่วงจรเหล้าและสิ่งเสพชวนดูหนังเอมี่ไวน์เฮาส์ หวังหยุดอบายมุขในวัยโจ๋ thaihealthติด ร่วมถึงการต่อสู่กับภาวะคนติดเหล้าติดยา ช่วงที่ต่ำสุดของชีวิต ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว เช่น เพื่อนที่ไว้ใจ คนที่รักอย่างจริงใจ อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นหนังสารคดีแต่มันมีความเป็นหนังที่สนุกมีชีวิตเข้าถึงคนดูและดำเนินเรื่องตัดต่อยอดเยี่ยมไม่น่าเบื่อ


“หนังให้คำถามข้อคิดกับคนดูว่า ถ้าคนดูเป็นอย่างตัวละครจะมีวิธีรับมืออย่างไร หรือถ้าเป็นเพื่อน เป็นคนในครอบครัว เป็นแฟน เป็นเพื่อนร่วมงาน ควรทำอย่างไรหากต้องช่วยเหลือใครสักคนที่อยู่ในภาวะเสี่ยง เช่น ต้องมีความอดทนเข้มแข็ง ซึ่งไม่ควรมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวของเขา แต่ถึงที่สุดแล้วธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มักฉวยโอกาสส่งเสริมการขาย ทำกลยุทธ์ซ้ำเติมมอมเมาเยาวชน โดยเฉพาะกลุ่มที่เปราะบางให้เข้าไปอยู่ในวังวนดำดิ่งเร็วขึ้น โอกาสกลับมาเหมือนเดิมเป็นไปได้ยาก และที่น่าห่วงคือธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไม่เคยเข้ามารับผิดชอบสังคมเลย” นายคำรณ กล่าว


นางทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก กล่าวว่า หนังเรื่องนี้สะเทือนความรู้สึกให้ข้อคิดสังคมได้มากมาย แม้เรื่องนี้จะทำให้ได้รับรู้การใช้ชีวิตแบบวัยรุ่นที่สุดโต่งและจากไปก่อนวัยอันควร แต่ลึกๆแล้วไม่มีใครรู้ว่าอีก80%ของชีวิตเขาต้องเผชิญกับอะไรมาบ้าง อีกทั้งปัจจัยร่วมต่างๆที่ส่งผลให้ต้องเป็นแบบนี้ ทำให้เรามองเห็นคุณค่าของชีวิตมากขึ้น เอาบทเรียนจากสิ่งเหล่านี้มาปรับใช้ เช่นเดียวกับที่บ้านกาญฯได้ทำกิจกรรมให้เยาวชนดูหนังแล้วมาวิเคราะห์บทเรียน มองให้เห็นพื้นที่สีดำของตัวละคร และต้องใช้แรงกำลังก้าวข้ามมันมาให้ได้ ซึ่งพบว่า เขาเริ่มซึมซับเกิดการเปลี่ยนแปลงมีมุมมองใหม่ๆ ทำให้เขาแข็งแกร่ง และหาทางแก้ไขต้องดีดตัวออกมาเมื่อเกิดขึ้นกับตัวเอง อย่างหนังเรื่องนี้เยาวชนที่บ้านกาญฯและผู้ที่ได้ชมได้อะไรกลับไปมหาศาล ซึ่งหน่วยงานทุกภาคส่วนเห็นพลังในตัวเด็ก ช่วยกันปกป้องเด็กเยาวชนอย่างจริงจัง


ดร.นพ.บัณฑิต  ศรไพศาล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. กล่าวว่า หนังเรื่องนี้สะท้อนชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งที่มีพรสวรรค์ทางดนตรีจนประสบความสำเร็จระดับโลก แต่ชีวิตผ่านชะตากรรมที่โศกเศร้าตั้งแต่เด็กจนโตและจบชีวิตด้วยวัยเพียง 27ปี ในมุมครอบครัวพบว่ามีพื้นฐานที่เปราะบาง พร้อมที่จะไหลไปทางบวกหรือลบตามสถานการณ์ ซึ่งพ่อแม่แยกทางกัน กลายเป็นโรคซึมเศร้า สูบบุหรี่ดื่มสุราใช้สารเสพติด เลือกประชดพ่อแม่ด้วยการทำตัวเหลวแหลก มีหลายช่วงที่ได้รับการช่วยเหลือจากคนรอบข้าง เช่น เพื่อนร่วมงานที่ดี คนรอบข้างพาไปบำบัดรักษาชวนดูหนังเอมี่ไวน์เฮาส์ หวังหยุดอบายมุขในวัยโจ๋ thaihealthทำให้หยุดสุราและยาเสพติดกลับมาทำงานได้ ดังนั้นสิ่งที่ควรเรียนรู้อย่างยิ่งคือสังคมต้องให้โอกาส คนรอบข้างต้องช่วยเหลือด้วยความรัก ความเข้าใจอดทน อย่าสิ้นหวัง


“แม้สุราจะเป็นสินค้าถูกกฎหมาย แต่สุราเป็นสิ่งเสพติด และยังส่งผลกระทบทั้งการเจ็บป่วยทางกาย ทางจิต อุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท ความรุนแรงในครอบครัว อาชญากรรม การเข้าถึงสุราได้ง่ายทำให้ดื่มมากและเสพติด สุราจึงไม่ใช่สินค้าธรรมดาต้องได้ควบคุมเป็นพิเศษ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2557 พบว่าเด็กเยาวชนอายุ 15-24 ปี 9.6 ล้านคน ในจำนวนนี้มีกว่า 2.4 ล้านคนหรือ16.7% ดื่มสุรา และ 1.4 ล้านคน หรือ 14.7% สูบบุหรี่ ข้อมูลจากศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ปี 2557 พบว่านักเรียน มัธยมปลายและอาชีวะ 11.6%เล่นพนันบอลหรือประมาณ 36,000คน ในจำนวนนี้เป็นนักพนันหน้าใหม่เกือบหมื่นคน ขณะที่ปี 2554 ตัวเลขประมาณการเด็กและเยาวชนอายุ 12-24 ปีใช้สารเสพติดในรอบ1ปี 97,000 คน หรือ 16.3% ของผู้เสพทั้งหมดอย่างไรก็ตาม การนำภาพยนตร์แนวนี้มาฉายเพื่อสร้างทักษะการเรียนรู้ช่วยสร้างเกาะป้องกันที่ดีให้กับเด็กและเยาวชน หลังจากนี้ สสส.จะร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมนำร่องตามสถานศึกษาต่างๆโดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มอุดมศึกษาและอาชีวะศึกษา จัดกระบวนการร่วมกับศูนย์ฝึกฯบ้านกาญจนาภิเษก ซึ่งมีประสบการณ์พร้อมถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตที่ก้าวพลาดเป็นบทเรียน” ดร.นพ.บัณฑิต กล่าว


 


 


ที่มา: สำนักข่าวสร้างสุข


 

Shares:
QR Code :
QR Code