ชวนคนไทยลดบริโภคเค็ม

         ลดพฤติกรรมกินเค็มของคนไทย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง และโรคไตเรื้อรัง


/data/content/26768/cms/e_abgjtvwyz346.jpg


       นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และอาจารย์ ประจำหน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่จะมาเล่าให้ฟังถึงแนวทางการแก้ปัญหาโรคไต และการลดบริโภคอาหารเค็มจัดของคนไทย


     คุณหมอสุรศักดิ์ บอกว่า ขณะนี้ ได้มีการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายลดบริโภคเค็ม จับมือกับ สสส.เพื่อรณรงค์และให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2557 มีงานวิจัยเด่นๆ 4 เรื่อง ได้แก่ 1.โครงการการพัฒนา ต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงสมุนไพรไทย สำหรับการเตรียมอาหารลดโซเดียมโดยใช้เทคนิคด้านกลิ่นรสจากสมุนไพร/data/content/26768/cms/e_ahlnqsuvx125.jpgไทย 2.โครงการการผลิตเครื่องตรวจสอบความเค็มในตัวอย่างอาหารและปัสสาวะ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของประชาชนทั่วไป 3.โครงการขับเคลื่อนเพื่อลดการบริโภคโซเดียมของคนไทยผ่านการอ่านฉลาก และ 4.โครงการการส่งเสริมนวัตกรรมอาหารเพื่อลดการบริโภคเค็ม


     ทั้งนี้ ในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ปัญหาของการรับประทานเค็ม ส่งผลให้เกิด อัตราการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีอัตราการเป็นโรคที่สูงขึ้นกว่า 20% ของจำนวนประชากรโดยรวมทั้งประเทศ โดยโรคความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคไตเรื้อรัง ที่มีอัตราการป่วยและการตายสูงขึ้นทุกปีเช่นกัน โดยสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง นอกจากความเครียดแล้วการได้รับโซเดียมจากการบริโภคอาหารเข้าสู่ร่างกาย มากเกินไป ทำให้เกิดการคั่งของของเหลวในเลือดจนเกิดแรงดันในเส้นเลือดสูง ขึ้นได้


     นพ.สุรศักดิ์ กล่าวอีกว่า สำหรับคนที่ติดรับประทานเค็ม ควรลดความเค็ม ทีละน้อย จนกว่าร่างกายคุ้นชินกับรสชาติอาหาร ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ โดยสถิติที่เห็นชัดก็คือ หากลดการบริโภคโซเดียมลงมาต่ำกว่า 2,000 มิลลิกรัม/วัน จะลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจอย่างน้อย 10% นอกจากนี้เครือข่ายฯ กำลังขับเคลื่อนไปถึงในเรื่องของการกำหนดตราสัญลักษณ์รับรองผลิตภัณฑ์ลดเค็มบนฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร โดยร่วมกับคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ (สัญลักษณ์ healthier choice) ทำให้หลังจากนี้ ไม่ว่าจะเป็น อาหารประเภทขนม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป โจ๊กสำเร็จรูป อาหารแช่เย็นหรือแช่แข็งชนิดปรุงสำเร็จ


    สำหรับตราสัญลักษณ์ จะอยู่ในฉลากผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อให้ประชาชนได้มี โอกาสได้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ โดยในเรื่องนี้ได้รับการตอบรับจากผู้ประกอบการเจ้าของผลิตภัณฑ์เป็นอย่างดี ซึ่งเชื่อว่าในอนาคตอันใกล้จะสำเร็จลุล่วง และจะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคเรื้อรังชนิดต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคไต อีกด้วย


 


 


    ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

Shares:
QR Code :
QR Code