ฉีดวัคซีน "EF" สู่ระบบการศึกษาปฐมวัย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ 


ฉีดวัคซีน "EF" สู่ระบบการศึกษาปฐมวัย  thaihealth


ฉีดวัคซีน "EF" สู่ระบบการศึกษาปฐมวัย สร้างภูมิอีคิวให้เยาวชนไทยสู่ฐานรากพลเมืองคุณภาพของประเทศ


มีจุดมุ่งหมายเป็นเจตนารมณ์ของบริษัท ในการทำให้ชุมชนโดยรอบดีขึ้นและสามารถอยู่อาศัยได้อย่างปลอดภัย เพราะคิดอยู่เสมอว่า จ.ระยอง รวมถึงประเทศไทยคือบ้าน  ทำให้ "ดาว เคมิคอล" ที่ตั้งฐานการผลิตอยู่ใน อ.บ้านฉาง จ.ระยอง กว่า 30 ปี และทำธุรกิจอยู่ในประเทศไทยนานถึงครึ่งศตวรรษ มุ่งลงมือพัฒนาพื้นที่ผ่านการยกระดับการศึกษาและเพิ่มคุณภาพเด็กและเยาวชน แต่ก็ยังไม่ประสบผล ล่าสุดจากการสำรวจแผนพัฒนา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ยังพบปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด และเยาวชน


ทั้งนี้เป็นเพราะการแก้ปัญหาในภาพรวมยังเน้นที่ปลายทาง  กระทั่งผู้บริหารของ บริษัท ดาว เคมีคอล ประเทศไทย จำกัด ได้รู้จักกับองค์ความรู้ "ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ" หรือ "Executive Functions" (EF) กลยุทธ์ใหม่ในการปราบปรามยาเสพติดที่เน้นการป้องกันตั้งแต่เริ่มต้นเป็นหลัก ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) ก่อนนำองค์ความรู้ดังกล่าวกระจายสู่ภาคการปฏิบัติ ด้วยระยะเวลาไม่ถึง 4 เดือน ตั้งแต่ ส.ค. 2559 แต่กลับได้ผลสัมฤทธิ์เป็นที่น่าพอใจ 


ฉีดวัคซีน "EF" สู่ระบบการศึกษาปฐมวัย  thaihealth


จนกลายเป็นที่มาของประสบการณ์บอกเล่าถึงการใช้ศาสตร์ EF พัฒนาเยาวชนตั้งแต่ระดับปฐมวัย เพื่อสานต่อสู่การปลดล็อคปัญหาในพื้นที่อย่างมั่นคงยั่งยืน บนเวที "EF Inspire : ประสบการณ์การขับเคลื่อน EF" ในงานประชุมวิชาการ "EF Symposium 2016 : ปลูกฝังทักษะสมอง บ่มเพาะเด็กไทยยุค 4.0" ที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership จัดขึ้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ณ ศูนย์ประชุมอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี 


"ที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหาในพื้นที่คือการเพิ่มจำนวนตำรวจและเหล่าอาสาสมัครเข้าช่วยเหลือ ซึ่งเรามองว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายทาง และเมื่อต้องการแก้ปัญหาต้นทาง ทางบริษัทจึงริเริ่มโครงการ 'EF เมืองสร้างสุขระยอง' ด้วยการใช้หลัก EF นำกิจกรรมผ่านการขับเคลื่อนพลังจากทุกคน ทั้งสถานศึกษา ครู องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รพ.สต. อสม. ฯลฯ ซึ่งพบว่าประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและมีศักยภาพในการดำเนินงาน กว่าร้อยละ 80 สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ และยังนำหลักการเรียนรู้ EF เข้าถึงทุกบ้านที่มีเยาวชน เพราะเราเชื่อว่าปัญหาทุกอย่างจะป้องกันได้ถ้าเราสร้างเยาวชนให้มีภูมิคุ้มกัน คิดเป็นว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ" ภรณี กองอมรภิญโญ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจการสัมพันธ์” ดาว เคมิคอล กล่าว


ฉีดวัคซีน "EF" สู่ระบบการศึกษาปฐมวัย  thaihealth


องค์ความรู้ทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ หรือ EF นับเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย เพราะเพิ่งแพร่หลายอย่างจริงจังในช่วงระยะไม่กี่ปี สุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบัน RLG (รักลูกเลิร์นนิงกรุ๊ป) ในฐานะตัวแทนเครือข่ายของ Thailand EF Partnership  อธิบายว่า หลักคิดของ EF เป็นการส่งเสริมการพัฒนาสมองส่วนหน้าของมนุษย์ ที่ช่วยให้คิดเป็น ทำงานเป็น เรียนรู้เป็น แก้ปัญหาเป็น อยู่ร่วมกับผู้อื่นเป็น และหาความสุขเป็น ซึ่งเป็นศักยภาพที่มนุษย์มีติดตัวมาแต่กำเนิด แต่จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจนถึงอายุ 25-30 ปี เพื่อให้เส้นใยประสาทก่อรูปขยายตัวจนฝังเป็นชิปกลายเป็นบุคลิกภาพที่ดีติดตัวไปตลอดชีวิต และยังเป็นบุคลิกภาพที่เหมาะกับสถานการณ์โลกยุค4.0 ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


สุภาวดี กล่าวต่ออีกว่า ทางภาคีเครือข่าย Thailand EF Partnership กว่า 20 องค์กร และ สสส. ได้ร่วมมือกันพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านทักษะสมอง EF อย่างละเอียด ครอบคลุมพัฒนาการของเด็กทุกวัย ให้สอดคล้องตามมาตรฐานทุนความรู้ ภูมิปัญญา และสภาพบริบทของสังคมไทยมาตั้งแต่ปี 2557 พร้อมเผยแพร่ให้องค์กรหรือหน่วยงานที่สนใจนำไปปรับประยุกต์ใช้กับกิจกรรมที่มีอยู่เดิม  "EF จะพัฒนาเติบโตได้ดีที่สุดในช่วงวัย 3-6 ปี ดังนั้น ช่วงปฐมวัยจึงเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการสร้างคุณลักษณะและบุคลิกภาพ ที่จะช่วยให้เด็กไทยเติบโตเป็นพลเมืองคุณภาพนำพาประเทศในศตวรรษที่ 21" ประธานสถาบัน RLG ระบุ 


ไม่ใช่แค่ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ EF เมืองสร้างสุขระยอง ที่จับต้องได้จริง และเตรียมถอดบทเรียนไว้เผยแพร่เป็นตัวอย่างให้กับจังหวัดอื่น ๆ ในภูมิภาคตะวันออก แต่ในส่วนของ เครือข่ายบริการสุขภาพพญาเม็งราย จ.เชียงราย หลังจากนำ EF ไปปรับใช้กับเด็กปฐมวัย ในพื้นที่ เพียง 1 ปี พบว่าอีคิวของเยาวชนดีขึ้นถึงร้อยละ 80 จากเดิมที่ขาดทักษะด้านอีคิวมากถึงร้อยละ 50   


ประภาภร เชื้อเมืองพาน พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.พญาเม็งราย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ปัญหาในพื้นที่พญาเม็งรายหากเป็นเด็กบนดอยมักด้อยโอกาส แต่ถ้าเป็นเด็กพื้นที่ราบจะมีปัญหาด้านสุขภาพทางใจ ขาดความอบอุ่น รวมไปถึงพฤติกรรมติดเกม ก้าวร้าว และยังพบปัญหาอื่น ๆ ในชุมชน เช่น ยาเสพติด  การใช้สารเคมีทางการเกษตรและไข้เลือดออกแต่เมื่อนำหลัก EF ไปปรับใช้กับข้อมูลเชิงลึกของทางพื้นที่ผ่าน


กิจกรรมที่ชวนให้ชุมชนร่วมทำ พบว่าปัญหาทุกอย่างคลี่คลายลงไปพอสมควร ทั้งในส่วนของเยาวชนและผู้ใหญ่ในชุมชน จนปัจจุบันได้ขยายองค์ความรู้ EF สู่ครูประถมและครูเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบ ในพื้นที่ครบทุกคน แม้ในหลายภาคส่วนที่นำศาสตร์ EF ไปปรับใช้จนประสบผลสำเร็จ แต่รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล จากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล ม.มหิดล เผยข้อมูลอีกด้านว่า ผลสำรวจพัฒนาการด้าน EF ของเด็กวัย 2-6 ปี จากกลุ่มตัวอย่าง 2,965 คนทั่วประเทศ ระหว่างปี 2558-2559  พบว่า ปัจจุบันเด็กไทยวัย 2-6 ขวบ มีปัญหาพฤติกรรมที่เป็นความบกพร่องด้าน EF ประมาณร้อยละละ 14 โดยทักษะสมองด้าน EF ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ การหยุด การจำ และการควบคุมอารมณ์  ซึ่งจะส่งผลด้านลบต่อความพร้อมและความสำเร็จทางการเรียนในระดับสูงขึ้นไป


ฉีดวัคซีน "EF" สู่ระบบการศึกษาปฐมวัย  thaihealth


ขณะที่ นพ.อุดม เพชรสังหาร จิตแพทย์เด็กและเยาวชน กล่าวไว้ให้คิดว่า งานวิจัยที่ติดตามเด็กอัจฉริยะมานานกว่า 80 ปี พบว่าไอคิวไม่ได้การันตีความสำเร็จของมนุษย์  อีกทั้งโลกใหม่ในศตวรรษที่ 21 ไมได้เน้นเรื่องความจำ แต่หนักไปในทางด้านการควบคุมตนเอง การมุ่งสู่เป้าหมาย และยืดหยุ่นในชีวิต โดย EF จะตอบโจทย์ได้ดีที่สุด เพราะเป็นฐานการควบคุมและจัดระเบียบให้กับตนเอง เด็กที่มี EF สูง จะประสบความสำเร็จในชีวิต ทั้งด้านการเรียน การทำงาน และลดปัญหาด้านพฤติกรรม อาชญากรรม ยาเสพติด ติดโซเชียลมีเดีย การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่เหมาะสม  "หลายองค์กรในต่างประเทศ รวมถึงมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ต่างหันมาให้ความสนใจและนำ EF ไปปรับใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอน ดังนั้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและสถานศึกษาเด็กปฐมวัยควรเริ่มพัฒนา

Shares:
QR Code :
QR Code