จ.สังขละบุรี รางวัลต้นแบบ ‘พื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย-ปลอดเหล้า’

ที่มา : สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 


ภาพประกอบจากแฟ้มภาพ


จ.สังขละบุรี รางวัลต้นแบบ 'พื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย-ปลอดเหล้า' thaihealth


เทศบาลตำบลวังกะ สังขละบุรี ได้รับรางวัลต้นแบบ STOPDRINK AWARD 2017 "สงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า " เป็น 1 ใน 30 แห่ง ระดับประเทศ


นายปกรณ์ น้อยเกตุ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลวังกะ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในความสำเร็จ หลังได้เดินทางพร้อมด้วยนายมานพ เกิดแดง ปลัดเทศบาลตำบลวังกะ เข้ารับโล่ห์รางวัล STOPDRINK AWARD 2017 "สงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า "


เมื่อวันที่ 2 มิย 2560 ที่ผ่านมา ที่โรงแรม อมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล. ) และภาคีเครือข่ายในการจัดงานมอบรางวัล โดยมี นายกอบชัย  บุญอรณะ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผู้มอบรางวัล ให้แก่หน่วยงานที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 30 แห่ง จาก 150 แห่งในพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งปี 2560 ได้เข้าร่วมจัดงาน  "สงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า"ทั่วประเทศ จำนวน 150 พื้นที่และได้รับการคัดเลือก จำนวน 30 แห่ง ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 24 แห่ง ส่วนราชการจำนวน 3 แห่ง และพื้นที่เอกชนจำนวน 4 แห่ง ที่ผ่านเกณฑ์พิจารณา 7 ข้อ ให้เป็นต้นแบบของการรณรงค์งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในการจัดงาน และกิจกรรมต่างๆ


จ.สังขละบุรี รางวัลต้นแบบ 'พื้นที่เล่นน้ำปลอดภัย-ปลอดเหล้า' thaihealth


นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลวังกะ กล่าวว่า รางวัลที่ได้รับในครั้งนี้สำเร็จได้ขอขอบคุณในความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพราะรางวัล STOPDRINK AWARD 2017  แสดงให้เห็นถึงความพยายามมุ่งมั่นจัดงานที่มีความรื่นเริงสนุกสนาน ปราศจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เป็นพื้นที่สุขอย่างแท้จริง เพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่สังคมโดยจัดโซนนิ่งเล่นน้ำ ภายใต้แนวคิด “สงกรานต์ปลอดภัย พื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า” โดยมีหลักเกณฑ์พิจารณา 7 ข้อ ได้แก่ 1.มีกระบวนการนโยบายสาธารณะ หรือสร้างข้อตกลงร่วม(MOU) ในระดับต่างๆ 2.มีใจและเอาใจใส่ในการทำงาน ออกจดหมายเวียนขอความร่วมมือหน่วยงาน ชุมชน ร้านค้า ว่าเป็นการจัดงานปลอดเหล้า แก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง และมีความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน 3.มีการเฝ้าระวัง/สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 3 ปี มีการกำหนดพื้นที่โซนนิ่ง และมีมาตรการเฝ้าระวังที่ชัดเจน 4.มีแนวโน้มนำไปสู่ความยั่งยืน เป็นตัวอย่างในระดับจังหวัด หรือใช้ขยายผลต่อเชิงนโยบายได้ 5.มีกระบวนการสื่อสารและสร้างการเรียนรู้ต่อสาธารณะ 6.มีการเปิดพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน ร่วมสร้างกิจกรรมรณรงค์ในรูปแบบต่างๆ และ 7.มีหลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามารถยืนยันผลการทำงาน ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายผลในปีต่อไปมากขึ้น

Shares:
QR Code :
QR Code