จ่ายยาต้านหวัดให้คลินิกทั่วปท. ผู้ป่วยรับฟรี 3 ส.ค.นี้
สธ. ดีเดย์กระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ให้คลินิกทั่วประเทศ 3 ส.ค.นี้ ฟรี ไม่คิดเงินประชาชน พร้อมส่งใบสมัครให้คลินิกเอกชนเข้าร่วมโครงการ อบรมให้เสร็จภายใน 2 ส.ค. นี้ ย้ำปฏิบัติ 8 เงื่อนไขของคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาฯ เคร่งครัด สั่ง อย. ประกาศห้ามคลินิกซื้อยาจากบริษัทอื่นมาใช้เอง เพื่อควบคุมการใช้ยา
วันนี้ (30 ก.ค.) นาย
โดยมอบหมายให้สำนักระบาดฯ จัดทำใบสมัครให้กับคลินิกต่างๆ สมัครเข้าร่วมโครงการตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. – 2 ส.ค.นี้ และได้มอบหมายให้ สสจ. เร่งจัดการประชุมอบรมคลินิกที่จะเข้าร่วมโครงการ และเน้นย้ำว่าต้องปฏิบัติตามคู่มือที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนดขึ้น 8 ข้อ อย่างเคร่งครัด โดยจะให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 2 ส.ค. เพื่อให้สามารถกระจายยาในทุกพื้นที่ได้ทันทีในวันที่ 3 ส.ค.นี้
“การกระจายยาต้านไวรัส สำหรับคลินิกในเขต กทม. จะกระจายยาผ่านหน่วยงานของ กทม. ส่วนคลินิกใกล้บ้านใกล้ใจ จะกระจายผ่านสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำหรับในพื้นที่ต่างจังหวัดจะกระจายยาผ่านสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาลอำเภอ โดยจะกำหนดให้คลินิกละ 5 ชุดการรักษา และจะประสานไปยัง อย. ไม่อนุญาตให้คลินิกเอกชน ซื้อยาต้านไวรัสจากบริษัทเอกชนรายอื่น เพื่อให้สามารถควบคุมปริมาณการใช้ยาได้ และห้ามคิดค่ายาต้านไวรัส กับประชาชนที่มาใช้บริการ เนื่องจากรัฐบาลเป็นผู้ลงทุน” นายวิทยา กล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จะเริ่มให้คลินิกแสดงความจำนงเข้าร่วมโครงการฯ จัดอบรมชี้แจงตามแนวทางที่ตั้งไว้ และตรวจสอบระบบการรายงานให้เป็นไปตามเงื่อนไข หากเข้าเงื่อนไขก็พร้อมจ่ายยาได้ อยู่ที่ความพร้อมของคลินิกและให้รายงานการจ่ายยาทุกวัน หากพบคลินิกไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขก็ไม่สามารถจ่ายยาได้ และประชาชนไปตรวจรักษาที่คลินิกไม่มียา โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง คลินิกต้องแนะนำให้ผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลของรัฐทันที และประชาชนทั่วไปหากเป็นไข้สูงรีบไปโรงพยาบาลทันทีด้วยเช่นกัน
ออกประกาศนำเข้ายาต้านไม่ต้องขอขึ้นทะเบียน อย.
นายวิทยา กล่าวต่อว่า สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) รองรับมาตรการสำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ ให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาอย่างทันท่วงที จึงได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนตำรับยา (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2552 แล้ว โดยให้การนำหรือสั่งยาต้านไวรัสเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการสำรองสำหรับการรักษาในกรณีเกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอขึ้น ทะเบียนตำรับยา แต่ต้องขออนุญาตและเป็นไปตามข้อกำหนด
“ผู้นำเข้ายาต้านไวรัส ต้องเป็นบริษัทหรือ นิติบุคคลในประเทศไทยที่เป็นสาขาของบริษัทหรือนิติบุคคลต่างประเทศและบริษัทแม่ในต่างประเทศ ที่มีความประสงค์จะส่งยามาสำรองให้ใช้สำหรับพนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือนิติบุคคลนั้น หรือเป็นสถานทูต ทูตพาณิชย์ หน่วยงาน หรือองค์กรระหว่างประเทศที่มีสถานที่ตั้งหรือเจ้าหน้าที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทย เช่น สภากาชาดของต่างประเทศ องค์การอนามัยโลก หรือเป็นหน่วยงานอื่นที่ สธ. ให้ความเห็นชอบ เป็นต้น”นายวิทยา กล่าว
เร่งผลิตเครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสียูวี 2009 กระจาย รพ. ในสังกัด
นพ.เรวัต กล่าวต่อว่า บุคลากรทางการแพทย์ทุกคนถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องตระหนักถึงความปลอดภัย ซึ่งแพทย์ พยาบาลทุกคน ต้องรู้จักวิธีการป้องกันตนเองอย่างเต็มที่ รับผิดชอบตนเอง เช่น การใส่หน้ากากอนามัย ใช้เจลล้างมือทุกครั้ง แต่คงจะไม่มีแพทย์ พยาบาลคนใดที่เสียขวัญจากกรณีแพทย์รายดังกล่าวเสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้สถาบันทรวงอกเร่งผลิตเครื่องฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสียูวี 2009 ให้ได้วันละ 100 เครื่อง เพื่อกระจายให้โรงพยาบาลในสังกัด สธ. ทุกแห่ง เพื่อช่วยลดเชื้อแบคทีเรียและไวรัสให้ลดลง ส่วนประชาชนก็ไม่ควรตื่นตระหนกว่าขนาดแพทย์ผู้มีความรู้ยังป่วยและเสียชีวิต แต่เป็นเพราะแพทย์คนดังกล่าวมีโรคประจำตัวเรื้อรังรุนแรงอยู่แล้ว
สั่งรพ. ทุกแห่ง จัดห้องรับรองผู้ป่วยหวัด
นพ.
จึงขอให้สถานพยาบาลทุกแห่ง ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ในสถานพยาบาลอย่างเคร่งครัด ตามมาตรฐานสากล โดย สธ. ได้จัดทำเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ http://beid.ddc.moph.go.th และแจกจ่ายแก่สถานพยาบาลทุกแห่งตั้งวันที่ 16 กรกฎาคม 2552 เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยในกลุ่มบุคลากรการแพทย์และประชาชนที่มารับบริการ
“แนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ดังกล่าว ให้โรงพยาบาลทุกแห่ง จัดสถานที่ตรวจคัดกรองผู้ป่วยไข้หวัดแยกจากผู้ป่วยอื่นๆ การจัดหอรองรับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย จัดอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ เครื่องมืออุปกรณ์ในการดูแลรักษาและเสื้อผ้าของผู้ป่วย คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ญาติและผู้เข้าเยี่ยม ระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาลและเมื่อกลับบ้าน” โฆษก สธ. กล่าว
หมอ พยาบาล กลุ่มเสี่ยงป่วย มีโรคประจำตัว ท้อง ให้ห่างผู้ป่วยหวัด
นพ.สุพรรณ กล่าวว่า สำหรับบุคลากรในสถานพยาบาลทุกคนถือเป็นกลุ่มเสี่ยง ขอให้ใส่หน้ากากอนามัย และล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลฆ่าเชื้อแอลกอฮอล์ทั้งก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และหากป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ กำลังตั้งครรภ์ หรือมีโรคเรื้อรังประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคไตวาย ภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ควรปฏิบัติงานกับผู้ป่วยสงสัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
นอกจากนี้ ยังให้สถานพยาบาลทุกแห่งจัดอบรมความรู้เรื่องไข้หวัดใหญ่ การดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ และการป้องกันการติดเชื้อแก่บุคลากร เพื่อให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ
Update 30-07-52
อัพเดทเนื้อหาโดย : กันทิมา ลีจันทึก
อ่านเนื้อหาทั้งหมดในคอลัมน์คลิกที่นี่