จุดพลังสื่อคนรุ่นใหม่ คิดดี สำนึกดี

          /data/content/24872/cms/e_fhoqstyz4589.jpg


         ภายใต้ปัญหาในยุคปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความวุ่นวายทั้งทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง การเอารัดเอาเปรียบ คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ขาดจิตสาธารณะ เพื่อสะท้อนถึงปัญหาและเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมในอนาคตให้ดีขึ้น จึงเป็นที่มาของ “โครงการพลังสื่อพลเมืองเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง” (Active Citizen and Media for Change) ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


          หลังจากเปิดโอกาสให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่มีอายุตั้งแต่ 15-25 ปี ทีมละ 3-5 คน ส่งแนวคิดในการสื่อสารเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในชุมชนตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2557 ที่ผ่านมา ทาง สสส.ได้คัดเลือกทีมที่ผ่านการคัดเลือกทั้งสิ้น 80 ทีม จำนวน 153 คน เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพลังสื่อพลเมืองฯ ณ บ้านผู้หว่าน อ.สามพราน จ.นครปฐม เพื่อพัฒนาศักยภาพร่วมกับนักผลิตสื่อมืออาชีพ


          รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ สำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม (สำนัก 5) สสส. กล่าวว่า การส่งเสริมคุณภาพของเยาวชน จริงๆ แล้วไม่ใช่งานใหม่ของ สสส. เพราะถึง สสส.จะขับเคลื่อนประเด็นเกี่ยวกับสุขภาพ เหล้า บุหรี่มาโดยตลอด แต่ทุกเรื่องที่สุดแล้วก็กลับมาประเด็นของเยาวชนทั้งนั้น ดังนั้นการสร้างคนให้เป็น “พลเมืองที่มีคุณภาพ” (Active Citizen) เป็นงานพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของ สสส.


          งานสร้างคนครั้งนี้จึงเป็นงานใหญ่ที่ทางเราจะทำกันอย่างต่อเนื่อง พลังของเยาวชนจะมีบทบาทสำคัญในการ/data/content/24872/cms/e_deijkopstx48.jpgสร้างสรรค์สื่อ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม ตลอดจนความเชื่อของผู้รับสาร นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของชุมชนและสังคมในทิศทางสุขภาวะ และบ่มเพาะพลเมืองคุณภาพ (Active citizen) เพราะไม่เพียงแต่เขาจะได้สื่อสารกับสังคมเท่านั้น การทำงานตรงนี้จะทำให้พวกเขาเกิดกระบวนการเรียนรู้ในตัวเองด้วย


          ด้าน อาจารย์ดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า เด็กและเยาวชนระดับมัธยมและอุดมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ พวกเขาเหล่านี้ตระหนักถึงความสนใจและปัญหาในสังคมตามสภาพแวดล้อมที่เขาอยู่ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน สถานศึกษา และในชุมชนต่างๆ โดยใช้ประเด็นปัญหาที่เกิดเป็นแรงบันดาลใจโดยใช้สื่อเพื่อสร้างความสนใจในการเปลี่ยนแปลง


         โดยน้องๆ ที่ผ่านการคัดเลือกจากทั่วประเทศทั้งสิ้น 80 ทีมนี้ มีการนำเสนอสื่อเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงใน 6 กลุ่มสื่อหลักๆ คือ 1.ประเภทละครและดนตรี 2.ประเภทงานเขียนและการ์ตูน 3.ประเภทกระบวนการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม การออกแบบชุมชนและสถาปัตยกรรมชุมชน 4.ประเภทหนังสั้น สารคดี มิวสิกวิดีโอ รายการ วิทยุ ถ่ายภาพ 5.ประเภทโฆษณา โปสเตอร์ ป้าย สื่อรณรงค์ โซเชียลเน็ตเวิร์ก และ 6.ประเภทการฝึกอบรม ค่ายอาสา สร้างอาสาสมัครในชุมชน


          ซึ่งทั้ง 6 กลุ่มนี้จะเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ จะเติมเต็มในสิ่งที่ทาง สสส.อยากเห็นพลังของพลเมืองมีองค์ประกอบในเรื่องพลังของสื่อ รู้เท่าทันสื่อ การเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ในการรับผิดชอบต่อตัวเองและผู้อื่น ผ่านนักผลิตสื่อมืออาชีพแต่ละประเภท เพื่อตอบโจทย์สร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนให้มากที่สุดในการลงพื้นที่ทำจริงในแต่ละท้องที่ ซึ่งพลังพลเมืองเป็นสิ่งที่ทางสำนักรณรงค์สื่อสารสังคม และสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรมของ สสส. มีเจตนาที่สร้างคนรุ่นใหม่ให้เป็นต้นแบบเพื่อสร้างแรงกระเพื่อมให้กับสังคมต่อๆ ไปในอนาคต


          1 โครงการ สู่การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชุมชน


          กลุ่มเยาวชนจากชายแดนภาคใต้ น้องเปิ้ล-สุวรรณา ดงเล๊าะมะ อายุ 21 ปี นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จ.ยะลา เผยว่า รู้สึกดีใจที่ทีมผ่านการคัดเลือก ซึ่งการอบรมครั้งนี้จะช่วยให้พวกเรานำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ในการใช้สื่อกับโครงการที่ทำขึ้น โดยโครงการของพวกหนูชื่อ “สื่อศิลป์สร้างสรรค์ สานตำนาน คนหน้าถ้ำ” เนื่องจากชุมชนหน้าถ้ำเป็นแหล่งชุมชนโบราณมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ที่ควรได้รับการสืบสานและรักษาไว้


          แต่เนื่องจากปัญหาความรุนแรงทาง 3 จังหวัดภาคใต้ ทำให้สถานที่แห่งนี้ได้รับผลกระทบ ไม่มีใครเดินทางมา การท่องเที่ยวซบเซา พวกเราจึงอยากร่วมทำการฟื้นฟู โดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ทั้งภาพถ่ายและรายการวิทยุต่างๆ แสดง/data/content/24872/cms/e_aekmorsuz368.jpgให้เห็นถึงความสวยงาม ให้ทุกคนตระหนักถึงคุณค่าด้านประวัติศาสตร์ให้คงอยู่คู่ชุมชนต่อไปอย่างยั่งยืน และเชิญชวนประชาชนในบริเวณ 3 จังหวัด และขยายสู่จังหวัดอื่นๆ ให้กลับมาท่องเที่ยวยังสถานที่แห่งนี้ เพราะภาคใต้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่ทุกคนคิดค่ะ


          ด้านน้องวัยใสระดับมัธยม น้องแฟรง-ธนวิชญ์ พรหมโชติ อายุ 16 ปี นักเรียนโรงเรียนโคกกระท้อน จ.สระบุรี เล่าว่า ดีใจที่มีกิจกรรมดีๆ เพื่อพัฒนาคนและสังคมให้ดีขึ้น โดยโครงการของเราชื่อว่า “ผู้นำน้อย ม่วงงาม” นั่นคือการนำเด็กๆ มาฝึกเป็นสารวัตร เพื่อสอดส่องปัญหาเด็กและเยาวชนในชุมชน เนื่องจากชุมชนม่วงงามมีปัญหาเกี่ยวกับยาเสพติดเข้ามาในชุมชน ทำให้กำนัน-ผู้ใหญ่บ้านเล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกัน จึงตั้งโครงการผู้นำน้อยขึ้นมาเพื่ออบรมให้เยาวชนสามารถสอดส่อง ดูแล และแก้ปัญหาเบื้องต้นของชุมชนได้ นอกจากนี้ยังดึงเยาวชนที่ติดยาให้เลิกแล้วกลายมาเป็นกลุ่มผู้นำน้อยด้วย ซึ่งประเภทของสื่อที่นำมาใช้คือประเภทฝึกอบรมเยาวชนเป็นผู้นำน้อย และสื่อวิทยุ เสียงตามสาย สื่อสิ่งพิมพ์ท้องถิ่นครับ


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์

Shares:
QR Code :
QR Code