จับ Food Truck มาปั้น Good Life

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ 


จับ Food Truck มาปั้น Good Life thaihealthจับ Food Truck มาปั้น Good Life thaihealth


จับ Food Truck มาปั้น Good Life thaihealthจับ Food Truck มาปั้น Good Life thaihealth


แฟ้มภาพ


จัดคาราวานอาหารปลอดสารเคมี ส่งมอบวิถีสุขภาพดีสู่คนเมือง พร้อมสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพ


Trust Food Good Truck  ฟู้ดทรัคขบวนนี้ ไม่ได้มีดีแค่อาหารมีสไตล์ แต่เป็นก้าวใหม่ของการรวมตัวบรรดาเจ้าของธุรกิจติดล้อที่ตั้งใจอยาก ส่งมอบอาหารดีๆ เพื่อชีวิตดีๆ ให้คนซื้อได้ คนขาย ภายใต้โครงการที่ใช้ชื่อว่า อาหารปลอดสารเคมี"  ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกโดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จุดเริ่มต้นของตลาดนัดติดล้อแนวใหม่ เกิดจากความคิดริเริ่มของผู้ประกอบการ ฟู้ดทรัคกลุ่มเล็กๆ ที่รวมตัวกันเขียนโปรเจค ขอรับทุนจาก สสส.


นำโดยคู่สามีภรรยาอารมณ์ดี ยุทธนา-กรรณิกา เจริญชัย  แห่ง "Shortcut Organic" รถโมบายขายกาแฟอินทรีย์ ผุดไอเดียชักชวนเพื่อนพ้องน้องพี่ในแวดวงธุรกิจติดล้อที่มีอุดมการณ์เดียวกัน รวมกันเป็นเครือข่ายให้บริการอาหารเพื่อสุขภาพเคลื่อนที่ สอดคล้องกับแนวทางของ สสส. ที่มุ่งรณรงค์ให้คนเมืองหันมาปรับเปลี่ยนวิถีการกินที่ใส่ใจสุขภาพ ในรูปแบบของการจัดตลาดนัดพร้อมนิทรรศการให้ความรู้คู่ขายของ


 จับ Food Truck มาปั้น Good Life thaihealth"ตลาดเคลื่อนที่ ถือเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ให้สามารถเข้าถึงอาหารสุขภาพได้ในราคาที่ไม่แพง เมื่อเทียบกับอาหารจังก์ฟู้ดที่เป็นคู่แข่ง  ที่สำคัญยังเป็นการส่งเสริมให้เกิด ผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีจิตสำนึกในการเลือกใช้วัตถุดิบจากแหล่งอาหารที่ปลอดภัย และสนับสนุนสินค้าเกษตรอินทรีย์ในอีก มิติหนึ่งด้วย" นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม  ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิถีชีวิต สุขภาวะ สสส. เล่าถึงการให้สนับสนุน ของสสส.ที่นำมาสู่ก้าวแรกของเครือข่ายผู้ประกอบการธุรกิจอาหาร Trust Food Good Truck เฟสแรก 11 ราย 


ซึ่งหลายคนเริ่มต้นธุรกิจจากแรงบันดาลใจของการเป็น "ผู้บริโภค" มาก่อน หนึ่งในนั้น คือ พี่ใหญ่ของคาราวานอย่าง กรรณิกา เจริญชัย เจ้าของรถกาแฟ "Shortcut Organic"  "อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับสุขภาพ"  มือชงกาแฟอินทรีย์ไม่ใส่ครีมเทียม ไม่ใส่นมข้นหวาน เล่าถึงแง่คิดที่ผ่านเข้ามาในใจ  หลังการจากไปของรุ่นพี่ในวงการอย่าง "ย.โย่ง" เอกชัย นพจินดา อาการหอบหืดเรื้อรัง แพ้ทั้งอากาศ สารเคมี อาหารทะเล เป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้อดีตนักข่าวหญิงสายกีฬาอย่างเธอ เริ่มหันมาดูแลสุขภาพตัวเอง ปรับเปลี่ยนวิถีการกินเพื่อสุขภาพ กระทั่งห่างไกลจากโรคหอบหืดเรื้อรัง  ชีวิตดีๆ ที่เปลี่ยนไปจากการอบรม สวนผักคนเมือง และเครือข่ายกัลยาณมิตรธุรกิจสีเขียว ทำให้ กรรณิกา และยุทธนา สามีตัดสินใจก้าวจากผู้บริโภค ผันตัวมาบุกเบิกรถกาแฟเคลื่อนที่ "Shortcut Organic" อย่างจริงจังเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ด้วยความตั้งใจอยากทำกาแฟดีๆ  เธอจึงพิถีพิถันตลอดทุกกระบวนการ ตั้งแต่เมล็ดกาแฟโรบัสต้าจากระนองที่ปลูกด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ ตากด้วยวิธีธรรมชาติ คั่วให้พอเหมาะจนหอมกรุ่น  ไม่ใส่ครีมเทียม ไม่ใส่นมข้นหวาน  แต่ใช้นมสดจากแม่วัวที่ถูกปล่อยให้ กินหญ้าอย่างอิสระในทุ่งหญ้าเขียวขจี ส่งตรงจากแดรี่ โฮม ที่จับ Food Truck มาปั้น Good Life thaihealthปากช่อง  ใช้น้ำตาลอ้อยไม่ฟอกสี แม้จะใส่ใจในทุกขั้นตอนขนาดนี้  แต่เรื่องราวในชีวิตจริงที่ทั้งคู่และบรรดา ผู้ประกอบการอาหารอินทรีย์หลายคน กลับต้องเผชิญ คือ อาหารที่มาจากสำนึกดีๆ ของการผลิตตั้งแต่ต้นทางจากฟาร์มถึง ฟู้ดทรัค กลับขายได้อย่างยากเย็น เพราะมีผู้บริโภคอีกมากที่ยังไม่เข้าใจถึงความแตกต่าง


ระหว่างวิถีอาหารอินทรีย์กับเคมี


ปัญหาการตระหนักถึงคุณค่าของ การผลิตที่มีจิตสำนึกกับราคาที่เหมาะสม สะท้อนผ่านคำถามนานาจิตตังของลูกค้า "ทำไมแพงกว่า? ดีต่อสุขภาพ..แล้วจะอร่อยไหม?  "บางคนไม่คิดที่จะซื้อตั้งแต่แรกที่เห็นป้ายว่า ร้านเราไม่ใส่นมข้นหวาน" กรรณิกา หรือ "พี่กรรณ์" หัวเรือใหญ่ของคาราวานอาหารปลอดภัย เล่าถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาเยอะ เจ็บมาแล้วก็ไม่น้อย จนได้คำตอบว่าธุรกิจฟู้ดทรัคส์เพื่อสุขภาพแนวนี้จะไปรอด และอยู่ได้ ต้องหาจุดเด่นของตัวเองต้องเจอ ต้องหาตลาดที่ใช่ เจาะกลุ่มลูกค้าที่พร้อมจะ เปิดใจ จึงเป็นที่มาของการสร้างเครือข่าย Trust Food Good Truck เกาะกลุ่มคาราวานไปด้วยกัน รวมตัวกันจัดซื้อวัตถุดิบ ออร์แกนิกส่งตรงจากเครือข่ายเกษตรกร ลดต้นทุน และค่าขนส่ง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำธุรกิจร่วมกันด้วยความเอื้ออาทรแบบ พี่ช่วยน้อง 


"คอนเซปต์คาราวานฟู้ดทรัคของเรา ทุกร้านที่เข้าร่วมต้องเป็นอาหารปลอดสารเคมี เลือกใช้วัตถุดิบจากเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้ สารปรุงรสสังเคราะห์ วัตถุดิบที่ใช้มาจากไหน ต้องมีป้ายบอกที่มา ให้ความรู้คู่ขายของ รณรงค์ลดขยะ ชวนพกถุงผ้า หิ้วปิ่นโต  พกภาชนะมาเอง มีส่วนลดให้" ยุทธนา ผู้รับผิดชอบโครงการ Trust Food Good Truck เล่าถึงคอนเซปต์อาหารแห่งความไว้วางใจ


ซึ่งแรกๆไอเดียนี้มีผู้ประกอบการ ฟู้ดทรัคส์เป็นร้อยที่สนใจสมัครเข้ามา  แต่เอาเข้าจริงเหลือคนที่มีใจจริงๆ พร้อมจะไปต่อด้วยกันแค่หลักสิบ  "ฟู้ดทรัคส่วนใหญ่จะมุ่งหวังกำไรสูงสุด ซื้อของอะไรก็ได้ที่ง่าย ที่ไว และต้นทุนต่ำ แต่แนวทางของเราเดินคนละอย่าง คุณต้อง มีใจที่เป็นเกษตรอินทรีย์ กินอย่างไร ขายอย่างนั้น เพราะถ้าคุณไม่ได้เริ่มต้นจาก ตัวเองเป็นผู้บริโภคอาหารอินทรีย์ ใจคุณ ก็จะไม่มา มันง่ายต่อการที่จะอ่อนแอ  หยิบอะไรมาขายก็ได้โดยที่ไม่แคร์"  นิศาชล จับ Food Truck มาปั้น Good Life thaihealth  ลิ่มวงศ์สุวรรณ เจ้าของรถ "ตู้กับข้าว" เป็นหนึ่งในเจ้าของฟู้ดทรัคคนรุ่นใหม่ในคาราวาน Trust Food Good Truck ที่หันมา ปรับเปลี่ยนจากการขายโรตีแบบธรรมดา มาเป็นโรตีที่มีคุณค่า และประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น


เจ้าตัวเล่าว่า ก่อนหน้านี้ เป็นฟู้ดทรัค ที่ขายโรตีอยู่แล้ว แม้จะมีความสนใจ เรื่องสุขภาพ แต่ติดปัญหาไม่รู้จะหาวัถตุดิบ จากไหน พอมีโครงการนี้ ทำให้ได้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยน และหาแหล่งวัตถุดิบออร์แกนิกร่วมกัน รถตู้กับข้าวนับเป็นตัวอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่หันมาปรับเปลี่ยนสู่การขายโรตีในรูปแบบออร์แกนิกที่ทำจากแป้งชาโคล ปลอดสารเคมี นอกจากนี้  ยังปรับเปลี่ยนจากการใช้นมข้นหวานกระป๋องที่มีแต่ไขมันทรานส์ มาเป็น นมข้นหวานโฮมเมดที่ทำเองจาก นมออร์แกนิกไร้สารปรุงแต่ง นอกจากนี้ ยังมีเมนูข้าวหมูหลุมย่าง จากหมูหลุมที่เลี้ยงด้วยวิถีธรรมชาติของกลุ่มหมูหลุมอินทรีย์ ดอนแร่ ราชบุรี เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มแจ่ว และข้าวกล้องอินทรีย์  "ข้อดีของการรวมกลุ่มกันเพื่อตระเวนออกร้านแบบนี้ จึงถือเป็นการค่อยๆ สะสมฐานลูกค้า และทำให้คนเมืองได้เข้าถึง แหล่งอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น โดยเฉพาะ


กลุ่มลูกค้าที่มองหาอาหารปลอดสารเคมี หลายคนจะเข้ามาพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องอาหาร และสุขภาพ จนกลายเป็นลูกค้าประจำที่ติดตามผ่านเฟซบุ๊ค ไป

Shares:
QR Code :
QR Code