จับมือแก้วิกฤติหลังพบคนเจ็บป่วยฉุกเฉินพุ่ง
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
แฟ้มภาพ
สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยจัด "โครงการส่งเสริม และป้องกัน คนไทยไม่ให้เจ็บป่วยฉุกเฉิน" ผนึกกำลังบุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล หน่วยกู้ชีพ ร่วมระดมสมองพัฒนา ศักยภาพบุคลากรในการปฏิบัติงาน "เร็ว ถูกวิธี ครอบคลุมทุกพื้นที่" หลังพบสถาณการณ์คนไทยเจ็บป่วยฉุกเฉินเข้า โรงพยาบาลกว่า 25 ล้านคนต่อปี และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้เจ็บป่วยสามารถได้รับการดูแลรักษาที่ทันต่อเหตุการณ์ตามมาตรฐานที่เสมือนแพทย์ได้ดูแลเอง และได้รับการนำส่งไปยังสถานพยาบาลที่เหมาะสม ในการประชุมมี สมาคมความดัน โลหิตสูงแห่งประเทศไทย สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สถาบันประสาทวิทยา และสมาคม นักกำหนดอาหาร ร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
พญ.วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่าประชากรผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มีมากกว่า ร้อยละ 15 ของจำนวนประชากรทั้งหมด หรือประมาณ 9 แสนคน ซึ่งกรุงเทพมหานครให้ความสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตประชาชน เรามีทีม แพทย์พยาบาลลงพื้นที่ในชุมชนดูแล สุขภาวะอนามัยตลอดจนสุขภาพของ ผู้สูงอายุทั้งการดูแลตนเอง แนะนำการ ออกกำลังกายและอาหารการกิน นอกจากนี้ ยังดูแลผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ที่มีอยู่ 4-5 หมื่นราย โดยได้จัดอบรม ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (caregiver) มาแล้ว 2 ปี รวม 2,400 คน รวมทั้งมีพยาบาลประจำศูนย์สาธารณสุข 68 แห่งที่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ เป็นผู้จัดการดูแลผู้สูงอายุ และให้คำแนะนำแก่ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่จะเข้าไปดูผู้ป่วยในชุมชนของตน
ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้ร่วมในคณะอนุกรรมการบูรณาการจัดทำมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุ ตามมติคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันและสอดคล้องกับรูปแบบการอยู่ อาศัยของคนไทยในสภาวะปัจจุบัน อีกทั้ง ยังช่วยป้องกันการเจ็บป่วยฉุกเฉินด้วย