จัดการปัญหามลพิษ สู่สังคมอากาศสะอาด

เรื่องโดย เทียนทิพย์ เดียวกี่ Team Content www.thaihealth.or.th


ข้อมูลบางส่วนจาก กรมอนามัย


ภาพโดย  ปารมี ขันธ์แก้ว  Team Content www.thaihealth.or.th และแฟ้มภาพ


จัดการปัญหามลพิษ สู่สังคมอากาศสะอาด  thaihealth


“เมืองหลวงควันและฝุ่นมากมาย พี่สูดดมเข้าไปร่างกายก็เป็นภูมิแพ้”  ส่วนหนึ่งของเพลง ภูมิแพ้กรุงเทพ ที่ต้องบอกว่าฮิตติดหูอยู่ทุกช่วงเวลา ยิ่งเฉพาะช่วงนี้ที่ชาวกรุงเทพมหานคร ต้องเผชิญกับสถานการณ์ค่าฝุ่น PM2.5 ที่เกินมาตรฐานด้วยแล้วนั้น เนื้อเพลงท่อนดังกล่าวยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบทางสุขภาพที่ตามมาอีกด้วย


PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เล็กประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผมมนุษย์ ขนจมูกไม่สามารถกรองได้ สามารถแพร่กระจายสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมกระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง


จัดการปัญหามลพิษ สู่สังคมอากาศสะอาด  thaihealth


เพื่อสร้างความร่วมมือพัฒนา แนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อฟื้นฟูอากาศสะอาดกลับคืนสู่พื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักงานเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร (กทม.) กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จัดพิธีเปิดโครงการอากาศสะอาดเขตปทุมวัน พร้อมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศเขตปทุมวันตามโครงการอากาศสะอาดเขตปทุมวัน ร่วมกับ 18 หน่วยงาน ได้แก่ กรมการขนส่งทางบก กองบังคับการตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลปทุมวัน องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สมาคมราชกรีฑาสโมสร บริษัท เออร์เบินโมบิลิตี้ เทค จำกัด บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด บริษัท เอ็มบีเค จำกัด (มหาชน) บริษัท ลิโด้ คอนเน็คท์ จำกัด โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์ บริษัท เฟรเซอร์ พร็อพเพอร์ตี้ (ประเทศไทย) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศ ไทย และศูนย์วิชาการ


จัดการปัญหามลพิษ สู่สังคมอากาศสะอาด  thaihealth


นายชาตรี วัฒนเขจร รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยตามมา  โดยเฉพาะปัญหามลพิษที่เกิดขึ้น ซึ่งอากาศถือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต โดยที่ผ่านมาได้เฝ้าระวังและสร้างนวัตกรรมมากมายเพื่อรองรับปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ที่เป็นตัวช่วยวัดค่าฝุ่น แต่ก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ดังนั้น จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการช่วยกันแก้ปัญหาฟื้นฟูอากาศสะอาดกลับคืนสู่พื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร


จัดการปัญหามลพิษ สู่สังคมอากาศสะอาด  thaihealth


“ที่ผ่านมา ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ทั้งมาตรการระยะสั้น ได้แก่ ขอความร่วมมือประชาชนใช้รถสาธารณะแทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว ดูแลรถไม่ให้มีควันดำ งดเผาในที่แจ้ง และควบคุมการเผา  รวมทั้งมาตรการระยะยาว ได้แก่ ปรับปรุงมาตรฐานการระบายไอเสียรถยนต์ใหม่ จัดหาพื้นที่จอดแล้วจรให้เพียงพอ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนแทนรถยนต์ส่วนตัว รวมทั้งเพิ่มพื้นที่สีเขียวมากขึ้น”  นายชาตรี กล่าว


จัดการปัญหามลพิษ สู่สังคมอากาศสะอาด  thaihealth


เป็นที่รู้กันดีว่า PM2.5 อันตรายและส่งผลให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพตามมา เช่น ระคายเคืองจมูก แสบจมูก ไอ มีเสมหะ โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง หัวใจขาดเลือด รวมทั้งทารกแรกเกิดมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ


จัดการปัญหามลพิษ สู่สังคมอากาศสะอาด  thaihealth


ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา PM2.5 ในไทยและกรุงเทพมหานครสูงขึ้นเรื่อย ๆ  จึงจำเป็นต้องสร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหา สสส.อยากให้เกิดมลพิษทางอากาศที่ลดลง และสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น เพราะนั่นจะนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี ดังนั้น จึงต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา PM2.5 อย่างเร่งด่วน รวมทั้งส่งเสริมให้มีส่วนร่วมแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สสส.จึงได้ร่วมมือกับภาคีแก้ปัญหานี้มาโดยตลอด


จัดการปัญหามลพิษ สู่สังคมอากาศสะอาด  thaihealth


โครงการอากาศสะอาดเขตปทุมวัน มุ่งพัฒนานวัตกรรม 3 ข้อ ได้แก่


 1.ระบบฐานข้อมูลออนไลน์กรุงเทพธุรกิจอากาศสะอาดต้นแบบ (BMA-BLEZ)


2.บริการรถสาธารณะพลังงานไฟฟ้า พร้อมจุดจอดบริการแก่ประชาชนบริเวณศูนย์การค้า สถานประกอบการ และจุดต่าง ๆ ในพื้นที่


 3.ระบบเซ็นเซอร์วัดค่า PM 2.5 เฉพาะจุด


จัดการปัญหามลพิษ สู่สังคมอากาศสะอาด  thaihealth


เหนือสิ่งอื่นใดคือ การป้องกันและดูแลตนเองจาก PM2.5 นั่นคือ สวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละออง ทำความสะอาดบ้านทุกวัน ลดเวลาทำกิจกรรมนอกบ้าน เตรียมยาประจำตัว หากมีอาการผิดปกติ รีบไปพบแพทย์ ติดตามสถานการณ์ฝุ่นจากสื่อต่าง ๆ รวมทั้งการปลูกต้นไม้เพื่อลดฝุ่น


จัดการปัญหามลพิษ สู่สังคมอากาศสะอาด  thaihealth


อย่างไรก็ตามในทศวรรษที่ 3 ของ สสส. หนึ่งในงานสร้างเสริมสุขภาพประเด็นสำคัญที่ขับเคลื่อนนั้น แน่นอนว่ามีงานลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมเป็น 1 ในโจทย์สำคัญที่จะร่วมสานพลังกับภาคีเครือข่ายด้วย เพราะอากาศสะอาดนั้น เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดสุขภาวะที่ดีขึ้น รวมทั้งช่วยลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ต่าง ๆ ด้วย


 

Shares:
QR Code :
QR Code