“ค่าแรง” คุณภาพชีวิตของแรงงานไทย
ช่วยกันขับเคลื่อนกันในทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิด
ในช่วงวันแรงงาน สิ่งที่ทุกฝายจดจ่อคือ การปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำ เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การยกระดับคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยก็พัฒนาขึ้นตามไปด้วย แต่สิ่งที่มากกว่า “ค่าแรง” นั่นคือ คุณภาพชีวิตของแรงงาน และไม่เพียงแต่แรงงานในระบบเท่านั้น แต่ในประเทศไทยมีแรงงานนอกระบบอีกหลายเท่าของแรงงานในระบบ
จากข้อมูลของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม (วปส.) มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัดทำรายงานสุขภาพคนไทย ป, 2553 เรื่อง “วิกฤตทุนนิยม สังคมมีโอกาส” เพื่อเป็นดัชนีชี้วัดทางสุขภาพของแรงงานไทย 12 ด้าน ซึ่งครอบคลุมทั้งสุขภาพ กาย ใจ คุณภาพชีวิต การเงิน
ความปลอดภัย เป็นต้น พบว่าขณะนี้มีแรงงานกว่า 42.6 ล้านคน และคุณภาพชีวิตของแรงงานไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อัตราการว่างงานของแรงงานไทยลดลง และมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้นเป็น 16% จากเดิมเพียง 10% เท่านั้น ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นแต่ก็เป็นหนี้สูงขึ้นตามไปด้วย เฉลี่ยรายได้ครัวเรือนละ 21,139 บาทต่อเดือน แต่มีภาวะหนี้สินรวม 133,328 บาทต่อครัวเรือน
ส่วนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ โดยแบ่งแรงงานไทยเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มอายุ 15-29 ป, พบว่า สาเหตุของการเจ็บปวย คือ อุบัติเหตุ โรคทางจิตเวช และเอดส์ 2. กลุ่มอายุ 30-59 ป, พบว่า ในผู้ชาย อุบัติเหตุและโรคทางจิตเวช จะลดลงเกือบครึ่ง แต่ปวยด้วยโรคมะเร็งมากขึ้น ส่วนแรงงานหญิงปวยด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจมากที่สุด”ปัญหาที่คุกคามสุขภาพแรงงานไทยทั้งชายและหญิง ในทุกช่วงอายุ คือ โรคเอดส์ และเริ่มมีปัญหาสุขภาพจิตมากขึ้น จากผลสำรวจเอแบคโพลล์ที่พบว่า 1 ใน 10 ของแรงงานเคยคิดฆ่าตัวตาย เนื่องมาจากคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี อาชีพรับจ้างทั่วไปจะมีสุขภาพจิตต่ำกว่าอาชีพอื่น เพราะไม่มีความมั่นคงในชีวิต”
ข้อมูลข้างต้นยิ่งเป็นการตอกย้ำสนับสนุนให้การยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานไทย ไม่ใช่แค่เรื่องของค่าแรงเท่านั้นอีกต่อไปแล้ว และไม่เพียงแต่แรงงานที่อยู่ในระบบที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงแรงงานและสำนักงานประกันสังคมที่มีกว่า 9 ล้านคนเท่านั้น เพราะแท้จริงแล้วยังมีแรงงานนอกระบบอีก
โดยนางเบญจมาภรณ์ จันทรพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพและบริการสุขภาพ สสส. ชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้มีแรงงานนอกระบบถึง 2 ใน 3 ของแรงงานทั้งหมด ไม่มีทั้งกฎหมายรองรับ และไม่มีการคุ้มครองสวัสดิการทั้งสุขภาพและรายได้ ซึ่งปัญหาความหาความไม่ปลอดภัยจากการทำงานก็พบว่า บว่าเกิดในกลุ่มแรงงานนอกระบบมากกว่าว่าแรงงานในระบบ ดังนั้นภาครัฐฐจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหาและให้ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่จะนำสู่การพัฒนาให้แรงงานของไทยทั้งในระบบและนอกระบบ รวมถึงแรงงานข้ามชาติได้รับบการตอบแทนที่คุ้มค่ากับทุกหยาดเหงื่อที่สูญเสียไป
คุณอรพิน วิมลภูษิต ผู้จัดการแผนงานพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน อธิบายว่า แรงงานในระบบมีจำนวนกว่า 9 ล้านคนจากแรงงานทั้งหมดที่มีกว่า 36 ล้านคน โดยที่เหลือเป็นแรงงานนอกระบบกว่า 24 ล้านคน และยังเป็นแรงงานนอกระบบที่เป็นแรงงานข้ามชาติด้วยเช่นกันอีกกว่า 2-3 ล้านคน
นอกจากนี้เธอยังเสนอแนวทางในการยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานในไทยว่า ในส่วนของการเพิ่มศักยภาพพทักษะในการทำงานให้มากขึ้นกว่าเดิม ให้เป็นแรงงานที่านที่เชี่ยวชาญ เมื่อเป็นแรงงานที่มีคุณภาพแล้วก็จะทำให้การถูกเลิกจ้างรถกเลิกจ้างที่เป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้ลดลง และสร้างแรงจูงใจในเรื่องค่าตอบแทนที่สมเหตุสมผล
“ขณะที่ด้านสวัสดิการของแรงงาน มีความพยายามผลักดันให้มีการออก พ.ร.บ. สถาบันความปลอดภัยและอาชีวอนามัย รวมถึงแก้ไข พ.ร.บ. ประกันสังคม ให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบที่มีอยู่ในปริมาณมากกว่าครึ่งของแรงงานทั้งหมดด้วยเช่นกัน”นอกจากนี้สิ่งที่เธอร่วมผลักดันคือ มิติของด้านสุขภาพ ควรมีการตั้งกองทุนด้านสุขภาพสำหรับแรงงานนอกระบบ ตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
ที่มีการหักงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวเข้าเป็นกองทุนสำหรับคนพิการ กองทุนสำหรับผู้ปวยเอดส์ ฯลฯ แต่กลับไม่มีการตั้งกองทุนสำหรับแรงงานนอกระบบที่อยู่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเลย ทั้งที่จำนวนคนกลุ่มนี้มีปริมาณหลายสิบล้านคน และหากไม่มีการดูแลสุขภาพของคนกลุ่มนี้ในช่วงวัยแรงงาน ก็ยิ่งทำให้ในระยะยาวสุขภาพมีปัญหาและสิทธิหลักประกันสุขภาพจะต้องรับภาระแรงงานที่ปวยในอนาคตด้วย
ภาพฝันเหล่านี้หลายฝายพยายามช่วยกันขับเคลื่อนกันในทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดขึ้นภายในไม่กี่ปีนี้
ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
Update: 10-05-53
อัพเดทเนื้อหาโดย: ภราดร เดชสาร