“คิดดี เฟสติวัล 2008”

สสส.เปิดพื้นที่ ให้เด็กไทยโชว์ไอเดีย “สื่อสร้างสรรค์”

“คิดดี เฟสติวัล 2008” 

          เพื่อพิสูจน์ว่า “ความคิดเล็กๆ ของเด็กและเยาวชนสามารถสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้สังคมได้” เมื่อวันที่ 28-29 มิถุนายนที่ผ่านมา เยาวชนรุ่นใหม่ได้นำผลงานที่ “สื่อสร้างสรรค์” จากสมองและสองมือของพวกเขาเองมาเปิดสู่สายตาสาธารณชนในงาน “คิดดีเฟสทิวัล 2008″ ซึ่งถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิล์ด

 

          ผลงาน “สื่อสร้างสรรค์” กว่า 119 ชิ้นที่นำมาแสดงมีทั้งในรูปแบบหนังสั้น โฆษณา มิวสิควีดีโอ นิตยสาร การ์ตูน ละคร และกิจกรรมรณรงค์ ที่ได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นภายใน 1 ปีที่ผ่านมา ภายใต้โครงการที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยแผนงานทุนอุปถัมภ์เชิงรุกด้านสื่อและกิจกรรมฯ จับมือเหล่าพันธมิตรทั้งด้านผลิตสื่อสร้างสรรค์ และเครือข่ายสุขภาพ หนุนให้เยาวชนทั้งนักเรียน นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศได้เข้ามาเวิร์กช้อปเพื่อเรียนรู้เทคนิคการผลิตสื่อสร้างสรรค์ และได้รับการสนับสนุนทุนผลิตผลงานสื่อออกมาในหลายรูปแบบเพื่อสะท้อนมุมมองประเด็นสุขภาพออกสู่สังคมในแบบเพื่อนบอกเพื่อน ภายใต้โจทย์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาวะและปัญหาสังคมตามความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง โลกร้อน แอลกอฮอล์ ยาสูบ ออกกำลังกาย เพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมจิตอาสา ทำดีเพื่อพ่อ

 

          ผศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม สสส.กล่าวว่า โครงการนี้เป็น “กระบวนการเชิงรุก” ที่เข้าไปเปิดโจทย์การพัฒนาเยาวชน ด้าน”ปัญญา” คือให้รู้เท่าทันประเด็นสุขภาพด้วยการนำสิ่งที่วัยรุ่นสนใจและไม่มีในห้องเรียนอย่างเช่น การลงมือทำสื่อด้วยตัวเอง ภายใต้คำปรึกษาแนะนำของวิทยากรที่เป็นตัวจริงเสียงจริง ทั้ง”ด้านสุขภาพ” คือแผนงานต่างๆ ของสสส. และเครือข่ายพันธมิตรที่เป็นตัวจริง “ด้านสื่อ” ผลงานที่เยาวชนทำได้สร้างความภาคภูมิใจและคุณค่าให้แก่พวกเขา ในฐานะคนเล็กๆ ที่มีส่วนสร้างสรรค์สิ่งยิ่งใหญ่ให้สังคม

 

          การให้เยาวชนสร้างสรรค์ผลงานเป็นวิธีการทางอ้อมที่จะดึงให้เขาหันมาสนใจ และเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพอย่างถ่องแท้ด้วย”

 

          ผศ.ดร.วิลาสินีกล่าวว่า สสส.ได้เล็งกลุ่มเป้าหมายไว้ 3 กลุ่มคือ เยาวชนที่ “คิดดี รักดี” และมีศักยภาพในการทำสื่อ ซึ่งเยาวชนกลุ่มนี้เมื่อเขาลึกซึ้งกับโจทย์ เช่น จะต้องสื่อออกไปว่าเหล้าบุหรี่เป็นสิ่งไม่ดี เขาก็จะต้องมีความเชื่อและความเข้าใจก่อน ดังนั้นเขาจะมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เยาวชนหลายคนที่เลือกทำละครรณรงค์ไม่ดื่มเหล้าสูบบุหรี่ เขาก็เลิกดื่มเหล้าสูบบุหรี่ไปโดยปริยาย เยาวชนจะช่วยพูดแทนเราและสื่อออกไปถึงเยาวชนด้วยกันได้ดีกว่า เพราะเป็นคนวัยเดียวกัน

 

          กลุ่มที่สองคือเยาวชนและคนในชุมชนต่างๆ ที่ได้รับชมผลงานสื่อสร้างสรรค์เหล่านี้ ซึ่งเมื่อดูแล้วอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม กลุ่มสาม คือมืออาชีพด้านสื่อที่เริ่มได้แนวคิดที่มีความเข้าใจประเด็นสุขภาพมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะสะท้อนออกไปในงานของเขา เป็นการพูดแทนเราอีกแรงเช่นกัน

 

          ในด้านของเครือข่ายพันธมิตรสื่อ ก็มีเสียงตอบรับที่ดียิ่งกับโครงการนี้ เพราะจากที่เคยทำงานอยู่แต่ในภาคธุรกิจ สสส.เปรียบเสมือนตัวกลางที่เข้ามาเปิดโอกาสให้พวกเขามาทำงานดีๆ แบบจิตอาสาเพื่อสังคม และยังสามารถเอาแนวคิดที่ได้จากโครงการไปทำงานในวิชาชีพต่อไป

 

          สุภาพ หริมเทพาธิป บรรณาธิการบริหารนิตยสาร Bioscope กล่าวว่า โครงการนี้เป็นเรื่องดี ในแง่ที่เป็นกุศโลบายเพื่อดึงเยาวชนให้เข้ามาสนใจ ลงลึกเรื่องประเด็นสุขภาพ ในฐานะที่ได้เป็นผู้ผลิตสื่อเอง แทนที่จะดูแค่โฆษณาที่ผ่านๆ ตาแล้วไม่ได้คิดตาม พอเขาต้องทำหน้าที่ผลิตเองเขาต้องเข้าใจกระบวนการนั้นอย่างลึกซึ้งมากกว่า

 

          นอกจากนั้น เด็กกับเด็กคุยกัน ภาษาเดียวกันจะเข้าใจมากกว่าที่จะให้ผู้ใหญ่มาคุยกับเด็ก ทำให้ประเด็นไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีขึ้น แต่ทั้งนี้ยังต้องใช้เวลาทำโครงการอย่างต่อเนื่องไปเพื่อทำให้กระบวนการของเราเข้มแข็งเพื่อผลิตเด็กที่สร้างสรรค์สื่อได้อย่างมีศักยภาพจริงๆ”

 

          ทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการบริหารนิตยสาร a day มองว่า ที่ผ่านมาการสร้างสรรค์สื่อของสสส.มีที่เป็นมืออาชีพดีมากอยู่แล้ว แต่ครั้งนี้เมื่อ สสส.ได้เข้ามาเปิดพื้นที่สำหรับสื่อสร้างสรรค์ที่เป็นของเยาวชน จะเป็นประโยชน์ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ทักษะในการทำสื่อเอง ทำเสร็จแล้วก็มีเวทีใหญ่ๆ ได้เสนอผลงาน และพบว่าหลายผลงานนับว่าเป็นงานที่มีเสน่ห์และมีไอเดียที่น่าสนใจ

 

          ผลงานในรูปแบบต่างๆ จากโครงการ คิดดี จะถูกนำเสนอในเว็บ www.sponsorship-thaihealth.com, www.thathealth.or.th รวมทั้งเว็บไซต์ของเครือข่ายพันธมิตร

 

          โครงการ “คิดดี” รุ่นที่ 2 กำลังจะเปิดอีกครั้งในปีการศึกษาหน้า ซึ่งครั้งนี้จะเน้นทำงานแบบ “ศิลปะสื่อผสม” โดยเริ่มให้เยาวชนได้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างสื่อต่างชนิดกัน เช่น เอาคนที่ทำสื่อโฆษณาไปลงนิตยสารเพื่อสัมภาษณ์ หรือเยาวชนกลุ่มที่เล่นละครก็สามารถไปแสดงร่วมกับกลุ่มที่ทำหนังสั้น เป็นต้น โดยรุ่นที่สอง

 

 

 

 

 

 

เรื่องโดย : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

ภาพประกอบ : อินเตอร์เน็ต

 

 

 

Update:31-07-51

Shares:
QR Code :
QR Code