คาดเปิดเทอม เงินสะพัด 2 หมื่นล้าน

ผู้ปกครองร้อยละ20ยังพึ่งโรงตึ๊ง-เปียแชร์

คาดเปิดเทอม เงินสะพัด 2 หมื่นล้าน

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า ในช่วงเปิดภาคการศึกษาปี 2553 ภาระค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมยังเป็นปัญหาสำหรับบรรดาผู้ปกครอง แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปีที่ช่วยแบ่งเบาภาระผู้ปกครองบางส่วนไปแล้วก็ตาม  บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด สำรวจค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมปี 2553 ในกรุงเทพฯ คาดว่าจะเกิดเงินสะพัดสูงถึง 20,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 2-3 ค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมที่เพิ่มขึ้นไม่มากนัก เนื่องจากบรรดาผู้ปกครองปรับพฤติกรรมการซึ้อเน้นนโยบายประหยัดค่าใช้จ่าย ซื้อเฉพาะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น และการเพิ่มงบประมาณโครงการเรียนฟรี 15 ปี ในปีการศึกษา 2553 เป็น 7.3 หมื่นล้านบาท

 

            อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองที่เป็นกลุ่มตัวอย่างบางรายยังมีค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา โดยเฉพาะในส่วนของค่าใช้จ่ายสมทบและค่าใช้จ่ายอื่นๆ กล่าวคือ สถานศึกษาบางแห่งเรียกเก็บค่าใช้จ่ายสมทบเพิ่มขึ้น และผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยส่งบุตร/หลานเข้าศึกษาในหลักสูตรพิเศษ เช่น หลักสูตรการเรียนสองภาษา หลักสูตรนานาชาติ เป็นต้น โดยยินดีเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายของหลักสูตรเหล่านี้จะสูงกว่าหลักสูตรปกติประมาณ 2-3 เท่าตัว

 

ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เพิ่มขึ้นจะเป็นในส่วนของค่าเรียนพิเศษ ทั้งนี้เพื่อเตรียมพร้อมบุตรหลานเข้าสู่การแข่งขันเพื่อเข้าสู่สถานศึกษาที่มีชื่อเสียง และค่าใช้จ่ายในการซื้อดอมพิวเตอร์/โน้ตบุ๊ค เนื่องจากความจำเป็นที่ต้องใช้ในการค้นหาข้อมูลและจัดทำรายงาน ในขณะที่จำนวนคอมพิวเตอร์ของสถานศึกษาไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน

 

            สำหรับแหล่งที่มาของเงินใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม โดยแม้ว่าบรรดาผู้ปกครองส่วนใหญ่เตรียมความพร้อมสำหรับค่าใช้จ่ายในช่วงเปิดเทอม แต่ก็มีบรรดาผู้ปกครองเกือบร้อยละ 20  ต้องพึ่งพาเงินจากแหล่งต่างๆ โดยเฉพาะการเปียร์แชร์ เงินกู้ยืม และการใช้บริการโรงรับจำนำ ส่งผลให้ธุรกิจสินเชื่อเพื่อการศึกษา และโรงรับจำนำมีเม็ดเงินสะพัดเพิ่มขึ้นในช่วงเปิดเทอมเช่นกัน

 

 

 

 

 

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

 

 

 

Update: 17-05-53

อัพเดตเนื้อหาโดย: คมสัน ไชยองค์การ

Shares:
QR Code :
QR Code