“ความซน” คือธรรมชาติของเด็ก?

ที่มา : “ลูกวัยซน” เลี้ยงไม่ยาก หาก “เข้าใจ” https://goo.gl/F7RTsq


ความซนกับเด็ก ๆ มักเป็นของคู่กันมาแต่ไหนแต่ไร แต่สำหรับพ่อแม่กลับเป็นปัญหาคับอกคับใจมากไม่น้อย


“ความซน” คือธรรมชาติของเด็ก? thaihealth


ดร.วรนาท รักสกุลไทย หรือ “ครูป้าหนู” นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเด็กปฐมวัย และนักจิตวิทยาด้านการพัฒนาศักยภาพเด็ก ให้ข้อมูลว่า วัย 3-5 ขวบ เป็นวัยเซย์โน เด็กวัยนี้จะพยายามเป็นตัวของตัวเอง เริ่มมีความคิด และการแสดงออกตามความต้องการขอตัวเองมากขึ้น


เรื่องซนเป็นเรื่องธรรมชาติ เด็กซนไม่น่ากลัว หากเด็กไม่ซน ไม่ดื้อ ไม่พูดนี่น่ากลัวกว่า เพียงแต่ซนก็ต้องมีขอบเขต ไม่ใช่เห็นอะไรแล้วรื้อ อยากจะหยิบของโดยไม่ขออนุญาติผู้ใหญ่ ก็ทำ พ่อแม่หรือผู้ปกครองจึงควรคุยกับเด็กให้รู้ว่า พวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้าง ส่วนอะไรที่ทำไม่ได้ ไม่ควรทำ พ่อแม่ก็ต้องให้เหตุผลกับเขา ต้องเปลี่ยนความซนของลูกให้เป็นพลังทางบวก เปลี่ยนให้เขาเป็นคนที่อยากรู้ แล้วพ่อแม่ก็ทดลองเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน


ยุคสมัยที่เทคโนโลยีล้ำหน้า หลายครั้งทำให้พ่อแม่ลืมไปว่า การที่เด็กๆ ได้เล่นน้ำ ดิน ทราย สิ่งธรรมชาติ หรือการเล่นจากวัสดุที่สามารถนำมาตัดแปลงได้ เช่น ตุ๊กตาจากผ้าขนหนู ปีกซุปเปอร์แมนจากผ้าขนหนู ซึ่งเป็นการเล่นสร้างสรรค์ เสริมสร้างจินตนาการนั้น เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมแก่ลูกน้อย


การเป็นพ่อแม่นั้นต้องเตรียมตัว และควรรู้เท่าทันในพัฒนาการของลูกแต่ละวัย ของเล่นแพงๆ ทันสมัย ไม่ได้ตอบโจทย์ของเด็กวัย 3-5 ขวบ เพราะเด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของเขา ฉะนั้นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นน้ำ เล่นทราย กับการให้เด็กเล่นน้ำในไอแพดโดยที่เขาไม่มีโอกาสได้ไปสัมผัสของจริง ความสนุกและการสร้างเสริมจินตนาการย่อมต่างกัน  พ่อแม่ควรจะต้องให้ลูกเรียนรู้จากการลงมือทำจริงๆ ให้เห็น เห็นมิติการเรียนรู้ แล้วที่สำคัญเลย เราต้องอยู่ใกล้ลูก ทิ้งไม่ได้ คำว่าใกล้ลูกก็เพื่อที่จะได้ดูว่า ลูกคิดอย่างไร ลูกมีปฏิกิริยาโต้ตอบกับสิ่งต่างๆ อย่างไร เขาได้เรียนรู้ในสิ่งที่เขาต้องเรียนรู้หรือไม่


 


 


 

Shares:
QR Code :
QR Code

ใส่ความเห็น

ระบุข้อความ