คผยจ.ปัตตานี และภาคีเครือข่าย ตั้งเป้าลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่

ที่มาและภาพประกอบจาก : คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดปัตตานี (คผยจ.)


คผยจ.ปัตตานี และภาคีเครือข่าย ตั้งเป้าลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่  thaihealth


คผยจ.ปัตตานี เดินหน้าขับเคลื่อนการทำงานลดการสูบบุหรี่ ตั้งเป้าลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ พร้อมเสริมพลังกลไกการทำงานภาคีเครือข่ายให้เข้มแข็ง


จากผลการสำรวจข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2564 พบว่า อัตราการบริโภคยาสูบของประชากรไทย อายุ 15 ปีขึ้นไป อยู่ที่ ร้อยละ 17.4 โดยจังหวัดที่มีอัตราการบริโภคยาสูบสูงที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ กระบี่ (ร้อยละ 29.4) สตูล (ร้อยละ 25.2) พังงา (ร้อยละ 24.6) นครศรีธรรมราช (ร้อยละ 24.6) และระนอง (ร้อยละ 24.5) ตามลำดับ ขณะที่ข้อมูลสถานการณ์การบริโภคยาสูบจังหวัดปัตตานี พบว่า มีอัตราการสูบบุหรี่อยู่ที่ร้อยละ 21.40 ถือเป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ


คผยจ.ปัตตานี และภาคีเครือข่าย ตั้งเป้าลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่  thaihealth


ว่าที่ร้อยตรีตระกูล โทธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดปัตตานี ครั้งที่ 1/2565 กล่าวว่า ในการขับเคลื่อนงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบระดับจังหวัดนั้น คณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัด (คผยจ.) ที่ประกอบด้วยภาครัฐ ภาคประชาชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ถือเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเชิงนโยบาย รวมถึงกำหนดแนวทางปฎิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกัน ติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบการดำเนินงานเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 แต่การที่จะดำเนินงานให้เกิดความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมได้นั้น ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้และความเข้าใจในเชิงนโยบายซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของผู้ปฏิบัติงานทุกคน เพื่อขับเคลื่อนการทำงานให้ครอบคลุมเกิดผลสัมฤทธิ์ เกิดประสิทธิภาพ และต้องให้ความสำคัญกับการสร้างการรับรู้ เข้าใจ ความเชื่อมั่นในการปฏิบัติงานให้เกิดประโยชน์กับประชาชน


นอกจากนี้ การกำหนดเขตพื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่สูบบุหรี่ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เพื่อไม่ให้รบกวนผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งการดำเนินงานในรูปแบบดังกล่าว เป็นการลดแรงต่อต้านจากผู้ที่สูบบุหรี่ ไม่ได้เป็นการเชิญชวนให้วัยรุ่นหันมาสูบบุหรี่มากขึ้น ซึ่งเป็นแนวคิดที่ คผยจ. ได้มีการหารือร่วมกันไว้แล้ว


รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวด้วยว่า ในการแต่งตั้ง คผยจ. คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานทุกระดับ ได้คัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ เพื่อร่วมปฏิบัติหน้าที่ในการดำเนินงาน อีกทั้งยังคัดเลือกประชาชนที่มีแนวความคิดในมิติของศาสนาในพื้นที่ด้วย เนื่องจากในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลามถึงร้อยละ 80 ดังนั้นการนำความศรัทธาของผู้นำทางความคิดและจิตวิญญาณเข้ามาช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้กับประชาชน จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการทำงาน ลด ละ เลิกยาสูบ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


สำหรับกลไกการขับเคลื่อนของหน่วยงานภาครัฐ ภาคีเครือข่ายจังหวัด และประชาชน เป็นปัจจัยที่ทำให้การขับเคลื่อนงานควบคุมยาสูบของจังหวัดเป็นไปได้ด้วยดี และประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสิ่งที่ยังต้องการหนุนเสริมจากส่วนกลาง คือ การรณรงค์ให้เกิดความยั่งยืน และสามารถบรรลุเป้าหมายได้ จะต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง จริงจัง สม่ำเสมอ และส่งเสริมให้ประชาชนมีความตระหนักถึงโทษ พิษภัย ผลกระทบและความสูญเสีย ทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดจากการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์


“การจะแก้ไขปัญหาได้สำเร็จ เราจะต้องรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้นก่อน จึงจะสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งการดำเนินการให้เกิดผลสำเร็จได้ เราจะต้องเดินไปด้วยกัน เพื่อป้องกันการเกิดนักสูบหน้าใหม่ได้อย่างยั่งยืน” รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวย้ำ


คผยจ.ปัตตานี และภาคีเครือข่าย ตั้งเป้าลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่  thaihealth


ด้านนายแพทย์อนุรักษ์ สารภาพ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปัตตานี ในฐานะกรรมการและเลขานุการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ได้กำหนดมาตรการนโยบายและยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงานควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พร้อมให้คำปรึกษากับคณะทำงานเกี่ยวกับเรื่องของกฎหมาย เพื่อให้คณะทำงานมีความมั่นใจมากขึ้น


สำหรับข้อมูลสถานการณ์การบริโภคยาสูบ จังหวัดปัตตานี พบว่ามีอัตราการสูบบุหรี่อยู่ในอันดับที่ 15 ของประเทศ  ส่วนสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่ในระดับที่น้อยมาก เนื่องจากบริบทของจังหวัดปัตตานีส่วนใหญ่ประชาชนนับถือศาสนาอิสลาม


“จังหวัดปัตตานี มี คผยจ. อนุกรรมการ และคณะทำงาน ที่มีคุณสมบัติและองค์ประกอบที่ครบถ้วน มีความเข้มแข็ง จึงคาดหวังว่า หากทุกภาคส่วนดำเนินการร่วมกันอย่างจริงจัง ทั้งการขับเคลื่อนงานควบคุมยาสูบของจังหวัด รวมถึงการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี จะทำให้การทำงานในระบบต่าง ๆ มีประสิทธิภาพสูงสุด” นายแพทย์อนุรักษ์ กล่าว


คผยจ.ปัตตานี และภาคีเครือข่าย ตั้งเป้าลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่  thaihealth


ด้าน นางสาวศรัณย์พัช ชีระจินต์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์หรือการสาธารณสุข กรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ในฐานะที่ทำงานควบคุมยาสูบมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี 2551 ยอมรับว่าเป็นงานยาก ด้วยบริบทของคนในพื้นที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะคนในชุมชนที่สูบบุหรี่เป็นประจำทุกวัน จึงทำให้การทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐและประชาชนในพื้นที่ในช่วงแรกมีความยากลำบาก อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ได้เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้สนับสนุนจัดตั้งทีมงานในการดำเนินการป้องกัน ควบคุม จัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน ตลอดจนการบังคับใช้กฎหมาย จึงทำให้อัตราการบริโภคยาสูบของประชาชนในพื้นที่ลดลงมาอยู่ในระดับที่น่าพอใจ


สำหรับผลงาน ความสำเร็จของกลไก คผยจ.ปัตตานี คือ การเชิญชวนชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ภายใต้โครงการชุมชนปลอดบุหรี่ โดยให้ผู้นำทางศาสนาเข้ามามีส่วนในการขับเคลื่อน เริ่มต้นจากมัสยิดปลอดบุหรี่ สอดแทรกหลักศาสนาในการให้ความรู้ เพื่อให้ประชาชนเลิกสูบบุหรี่มากขึ้น ทำให้สถานการณ์การบริโภคยาสูบของจังหวัดอยู่ในอันดับที่ดีขึ้น พร้อมคาดหวังว่ากลไก คผยจ. ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และภาคประชาชน จะช่วยให้การทำงานครอบคลุมทุกมิติ ตลอดจนสามารถสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมายได้อย่างตรงจุด เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่ในพื้นที่ได้อย่างยั่งยืน


คผยจ.ปัตตานี และภาคีเครือข่าย ตั้งเป้าลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่  thaihealth


ขณะที่ นางสาวต่วนนุรมา หะมะ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ผู้รับผิดชอบงานป้องกันควบคุมการบริโภคยาสูบ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้สถานการณ์การบริโภคยาสูบของจังหวัดดีขึ้น เกิดจากความเข้มแข็งของกลไกการทำงานที่มีความชัดเจน ทั้งในส่วนของคณะกรรมการระดับจังหวัด ระดับอำเภอ ตลอดจนภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง โดยมีเป้าหมายเพื่อลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่ ทำให้ประชาชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ขณะเดียวกัน การลงพื้นที่สถานศึกษา และศาสนสถานเพื่อรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชน เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้ ซึ่งที่ผ่านมาได้รับการหนุนเสริมจากส่วนกลาง ทั้งกรมควบคุมโรค และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อย่างต่อเนื่อง ส่วนแนวทางการขับเคลื่อนระยะถัดไปนั้น ได้วางแผนการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ในการขยายผลการดำเนินงานลงสู่พื้นที่ต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


คผยจ.ปัตตานี และภาคีเครือข่าย ตั้งเป้าลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่  thaihealth


ส่วนนายชูศักดิ์ โมลิโต นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร. 12 สงขลา) กล่าวว่า สคร. 12 สงขลา มีพื้นที่ความรับผิดชอบ 7 จังหวัด คือ จังหวัดตรัง พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี นราธิวาส และยะลา ซึ่งมีการแต่งตั้ง คผยจ. ทุกจังหวัด ซึ่งพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 ได้มีการกำหนดให้ คผยจ. มีการประชุมปีละ 2 ครั้ง อย่างต่อเนื่องทุกปี


ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา แต่ละจังหวัดได้จัดเวทีเพื่อให้บุคคลที่ทำความดี มาร่วมกันถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน อีกทั้งสถานศึกษาในทุกเขตพื้นที่ ได้ดำเนินการตาม 7 มาตรการโรงเรียนปลอดบุหรี่ ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกจังหวัดต้องปลอดบุหรี่ โดยในปีนี้ได้เริ่มดำเนินการยกระดับสถานพยาบาลปลอดบุหรี่ พร้อมทำหน้าที่คัดกรองผู้ที่สูบบุหรี่เข้ามาบำบัด เพื่อให้ลดการสูบบุหรี่ลง


ทั้งนี้ จากข้อมูลการสำรวจอัตราการสูบบุหรี่ในเขตสุขภาพที่ 12 ปี 2564 พบว่า อัตราการสูบบุหรี่ลดลง โดยจังหวัดสตูล มีอัตราการสูบบุหรี่มากกว่าในเขตพื้นที่อื่น ๆ คือ ร้อยละ 25 ส่วนจังหวัดยะลา มีอัตราการสูบบุหรี่ต่ำสุด ร้อยละ 18 แต่อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การบริโภคยาสูบ จังหวัดปัตตานียังคงอยู่ในอันดับที่ 15 ของประเทศ ดังนั้นทางจังหวัดจึงได้เร่งดำเนินการขับเคลื่อนให้มีคณะทำงานในระดับ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจกับประชาชน พร้อมประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการ งดจำหน่ายบุหรี่ให้กับเยาวชน เพื่อไม่ให้เกิดนักสูบหน้าใหม่เพิ่มขึ้น 


คผยจ.ปัตตานี และภาคีเครือข่าย ตั้งเป้าลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่  thaihealth


คผยจ.ปัตตานี และภาคีเครือข่าย ตั้งเป้าลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่  thaihealth


ในการประชุมครั้งนี้ รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ได้มอบโล่แสดงความยินดีกับรางวัลด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2564 ของเครือข่ายในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 โดยจังหวัดปัตตานี ได้รับรางวัล จำนวน 3 รางวัล คือ รางวัลชนะเลิศ แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านสถานศึกษาปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2564 ได้แก่ โรงเรียนบ้านราวอ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1 แนวปฏิบัติที่ดี ด้านศาสนสถานปลอดบุหรี่ฯ ได้แก่ มัสยิดดารุลอารกอน อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี และรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 แนวปฏิบัติที่ดี ด้านชุมชนปลอดบุหรี่ฯ ได้แก่ ชุมชนตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี


คผยจ.ปัตตานี และภาคีเครือข่าย ตั้งเป้าลดจำนวนนักสูบหน้าใหม่  thaihealth


นายฟารีซัน วามิง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านราวอ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ด้านสถานศึกษาปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิดเผยว่า ได้นำแนวนโยบายในการกำหนดรูปแบบของเขตพื้นที่ 3 G โรงเรียนดี 3 S ในสถานศึกษา รวมถึงสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโทษของยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีกระบวนการทำงานที่เป็นรูปธรรม คือ


1. การกำหนดนโยบาย โดยประกาศเจตนารมย์เรื่องสถานศึกษาปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สร้างแนวปฏิบัติให้กับนักเรียน ผู้ปกครอง ชาวบ้านในชุมชน และบุคลากรในโรงเรียนให้รับทราบ และดำเนินการแผนที่วางไว้ ซึ่งได้กำหนดทิศทางร่วมกันดำเนินการสำรวจ จัดบทบาท ตั้งคณะทำงานที่รับผิดชอบสำรวจข้อมูล เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป


2. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การเป็นสถานศึกษาปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทุกช่องทาง


3. การบูรณาการความรู้สู่ห้องเรียน จัดทำแผนการดำเนินงานในหมวดสาระต่าง ๆ เพื่อให้ครูได้จัดการเรียนรู้สู่ผู้เรียน จัดกิจกรรมเสริมความรู้ให้กับนักเรียน เช่น การอบรม 1 สถานพินิจ 6 สถานศึกษา กิจกรรมอบรมต่อต้านพิษภัยของยาเสพติด


4. การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา เพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน โดยกำหนดสัญลักษณ์ตามจุดต่าง ๆ ให้นักเรียนได้จดจำ


5. การประสานความร่วมมือระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง พร้อมขอความร่วมมือร้านค้าต่าง ๆ ในชุมชน งดจำหน่ายบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้กับเยาวชน


6. การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยจัดกิจกรรมคลินิกเสมารักษ์ และคลินิกวัยใสให้กับนักเรียน เพื่อให้คำปรึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล และช่วยเหลือนักเรียนในทุกด้าน


7. ส่งเสริมให้กับผู้เรียนและแกนนำ นำวิธีการกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ขยายผลต่อให้เกิดพื้นที่ปลอดควันบุหรี่ ไม่ใช่เฉพาะในโรงเรียน แต่เป็นบ้านของนักเรียนเอง  และสถานที่สำคัญต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จ


นายฟารีซัน ย้ำว่า สิ่งสำคัญที่สุด คือ การรับรู้และเข้าใจถึงปัญหา เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยทางโรงเรียนมีการพูดคุยกันระหว่างชุมชน และเครือข่ายอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งความยั่งยืนจะเกิดขึ้นไม่ได้ หากทุกคนไม่ตระหนักและเล็งเห็นหลักปฏิบัติร่วมกัน โดยเจตนารมย์ของทางโรงเรียนบ้านราวอ คือ “ร่วมสร้างสรรค์สิ่งดี เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์”

Shares:
QR Code :
QR Code