“คน..เป็นคนที่มีค่าเสมอทัดเทียมกัน”

ที่มา : ไทยโพสต์


ภาพโดย สสส.



ข้อควรรู้ปัญหาประชากรกลุ่มเฉพาะ "คน..เป็นคนที่มีค่าเสมอทัดเทียมกัน"


ในโลกมีเพียง 4 ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ไทย ที่มี กม.วิชาชีพรับรองหมอนวดพิการทางการเห็นใช้จนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทยให้การรับรองสถาบันการนวดไทยของผู้พิการ 7 สถาบัน ศูนย์พัฒนาสมรรถภาพคนตาบอด ปากเกร็ด  ศูนย์ฝึกอาชีพผู้หญิงตาบอด สามพราน สมาคมส่งเสริมนวดแผนไทยคนตาบอด มูลนิธิคลอฟิลด์เพื่อคนตาบอด สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย มูลนิธิส่งเสริมอาชีพคนตาบอด มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ ด้วยหลักสูตรวิชาชีพการนวดไทย 800 ชั่วโมง (2 ปี) หลักสูตรผู้ชายแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมง


คนพิการ ในประเทศไทยมี 1.8 ล้านคน (ร้อยละ 2.75 ของประชากรทั้งประเทศ)


คนพิการในวัยแรงงานอายุ 15-60 ปี 819,550 คน (ร้อยละ 33.18) ส่วนใหญ่ยังไม่มีงานทำ 330,339 คน (ร้อยละ 40.31) มีงานทำแล้ว 271,916 คน (ร้อยละ 26.51) ไม่สามารถทำงานได้ 217,295 คน (ร้อยละ 26.51) อุปสรรคสำคัญคือ ข้อจำกัดในการเดินทาง มายาคติความเชื่อ ฯลฯ


คนพิการ 1.8 ล้านคน มีจำนวน 836,304 คน พิการมากกว่า 1 ประเภท พิการทางการเคลื่อนไหว 957,401 คน ทางการได้ยิน 362,846 คน ทางการมองเห็น 193,121 คน ทางสติปัญญา 133,545 คน ทางออทิสติก 12,512 คน ทางการเรียนรู้ 10,215 คน ทางจิตใจ 14,198 คน พิการมากกว่า 1 ประเภท 121,909 คน


ปี 2559 ผู้สูงอายุในเมืองไทย 10.9 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 16 ต่อสัดส่วนประชากรทั้งประเทศ ผู้สูงอายุ 1 ล้านคน เป็นกลุ่มที่ต้องพึ่งพาบางส่วนหรือพึ่งพาทั้งหมดและต้องการผู้ดูแล ดูแลตัวเองได้ 87% พึ่งพาบ้าง (ติดบ้าน) 11.3% พึ่งพา 100% (ติดเตียง) 1.3% ผู้สูงอายุประสบปัญหาหลายด้าน 95% ด้านสุขภาพ โรคเรื้อรังต่าง ๆ 34.3% ด้านเศรษฐกิจ มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจน วันละ 3 คน ด้านสังคม ผู้สูงอายุเสียชีวิตจากการพลัดตกหกล้มเฉลี่ยวันละ 3 คน


ผู้หญิงไทยมีชีวิตยืนยาวกว่าผู้ชายด้วยคุณภาพชีวิตที่ด้อยกว่า เสี่ยงต่อการตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า โรคเรื้อรัง พิการ ยาวนาน ความรุนแรงร้อยละ 34.6 ประสบปัญหาความรุนแรง ร้อยละ 82.6 เลือกที่จะเผชิญปัญหาด้วยตนเองเพราะเป็น "เรื่องส่วนตัว"


ผลสำรวจปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงโดยองค์การอนามัยโลก 7 คน/วัน คือจำนวนผู้หญิงถูกละเมิดทางเพศ กระทำรุนแรงทางร่างกาย หรือ 30,00 0คน/ปี คือสถิติผู้หญิงที่แจ้งความร้องทุกข์



สถานการณ์ความรุนแรงทางเพศในไทย เด็กและเยาวชนอายุ 5-20 ปี 60.6% รองลงมาอายุ 41- 60 ปี 30.9% อายุมากที่สุด 90 ปี อายุน้อยที่สุด 5 ปี ที่น่าเศร้าใจมีผู้เสียชีวิต 20 ราย กลุ่มอาชีพที่ถูกกระทำ เป็นนักเรียน นักศึกษา 30.9% ลูกจ้าง 30.9% ค้าขาย 30.9% กลุ่มเด็กเล็ก 30.9% ผลกระทบต่อผู้ถูกกระทำ หวาดผวา ระแวง และกลัว 26.1% ถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์หลายครั้ง 12.8% ถูกขู่ฆ่า ข่มขู่ ห้ามบอกใคร 12.7% ถูกทำร้ายร่างกายสาหัส 12%


ผู้กระทำความรุนแรง เป็นคนรู้จักคุ้นเคย หรือบุคคลในครอบครัว 53%  คนแปลกหน้าไม่รู้จักกัน 38.2% คนที่รู้จักกันผ่านโซเชียล 8.8% ผู้กระทำอายุน้อยที่สุด 12 ปี


ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงทางเพศ 31.1% เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 28% อ้างว่ามีอารมณ์ทางเพศ 16.3% การใช้สารเสพติด 11.7% ต้องการชิงทรัพย์


ผู้ต้องขังหญิงของไทยมีจำนวน 45,141 คน คิดเป็นร้อยละ 14.6 มีอัตราสูงที่สุดในโลกเมื่อเทียบกับสัดส่วนผู้ต้องขังหญิงต่อประชากรแสนคน อยู่ที่ 73.4 คน สูงกว่าสหรัฐที่เป็นลำดับสองเกือบ 10 จุด (63.9)


มีปัญหาคนล้นคุก มีความคับแคบแออัดของพื้นที่ เกินความจุมาตรฐาน ปัญหาอนามัยแม่และเด็กทารก การเฝ้าระวังมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ปัญหาสุขภาพช่องปาก ผู้ต้องขังร้อยละ 80 มีปัญหาด้านทันตกรรม ปัญหาผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจ เป็นวัณโรคสูงมาก เนื่องจากความเป็นอยู่แออัด ปัญหาสุขภาพจิต ภาวะซึมเศร้า จิตตก ปัญหาโรคติดต่อทางเดินอาหาร ท้องเสีย เพราะการปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม



มุสลิมไทยมีจำนวน 3,250,000 คน หรือร้อยละ 4.6 ของประชากรทั้งหมด


มีอัตราการบริโภคยาสูบและค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคยาสูบสูงกว่าประชากรทั่วไป บริโภคบุหรี่ร้อยละ 0.56/เดือน ในขณะที่ประชากรทั่วไปสูบบุหรี่ร้อยละ 0.43/เดือน มีผู้ได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้านร้อยละ 43.7% ในขณะที่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของมุสลิมไทยต่ำกว่าคนทั่วไปร้อยละ 10 เยาวชนใน 3 จังหวัดภาคใต้มีผลสัมฤทธิ์การศึกษาต่ำกว่าเยาวชนในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ


ผู้มีปัญหาสถานะบุคคลและประชากรข้ามชาติ 4 ล้านคน ผู้มีปัญหาสถานะบุคคลจำนวนกว่า 150,000 คน ไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานด้านสาธารณสุขจากกองทุนให้สิทธิ และจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ จึงต้องเสียค่ารักษาพยาบาลเองเต็มจำนวนเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง



แรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียน 1,100,000 คน


ชาติพันธุ์ที่ได้รับการจัดทำทะเบียนประวัติและบุตรหลาน 280,840 คน คนไทยพลัดถิ่นที่ยังไม่ได้รับการพิสูจน์สถานะ 33,580 คน ผู้มีปัญหาสถานะทางทะเบียนที่ตกสำรวจ 40,000 คน แรงงานข้ามชาติ 3,153,156 คน ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน 23,669 คน ผู้ติดตามแรงงานข้ามชาติ 23,669 คน ผู้มีปัญหาทางสถานะทางทะเบียนอื่น ๆ นักเรียนรหัส G และคนจีนโพ้นทะเล 122,317 คน รวมทั้งหมด 1,947,213 คน


แรงงาน 38.1 ล้านคน ผู้ชาย 20.8 ล้านคน ผู้หญิง 17.3 ล้านคน เป็นแรงงานในระบบร้อยละ 48 แรงงานนอกระบบร้อยละ 52 ไม่มีหลักประกันจากการทำงานและระบบสวัสดิการสังคมรองรับ เข้าไม่ถึงสิทธิด้านแรงงาน กม.คุ้มครองแรงงาน กม.แรงงานสัมพันธ์ เจ็บป่วยแล้วไม่ค่อยไปรับการรักษาพยาบาลที่หน่วยบริการ ส่วนหนึ่งใช้สิทธิบัตรทองจำนวนมากไม่รู้ว่ามีสิทธิ์


แรงงานนอกระบบจำนวน 21.3 ล้านคน ร้อยละ 2.75 ของวัยแรงงานทั้งหมด ประสบปัญหาจากความไม่ปลอดภัยในการทำงาน ปัญหาสภาพแวดล้อมจากการทำงาน



คนไร้บ้าน สำรวจ 3 จังหวัดในเมืองใหญ่ กทม. เชียงใหม่ ขอนแก่น พบผู้ไร้บ้าน 3,000 คน


คนไร้บ้านมีสาเหตุมาจากความเหลื่อมล้ำในสังคมทางเศรษฐกิจ ทางการเมือง เข้าไม่ถึงบริการสุขภาพและสวัสดิการทางสังคม ส่งผลให้มีอายุขัยเฉลี่ยต่ำกว่าประชากรทั่วไปถึง 20 ปี มีปัญหาสุขภาพจิตและสุขภาพช่องปากและฟัน สาเหตุหลักของคนไร้บ้าน ปัจจัยด้านครอบครัวและเศรษฐกิจ 28% ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ 25.9% ปัจจัยด้านครอบครัว 25.6%.

Shares:
QR Code :
QR Code