คนยุโรป แอฟริกาเป็นโสดสูง กลุ่มลาตินอเมริกาและกลุ่มแคริบเบียนเลือกอยู่กันเองไม่สมรส

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์


ภาพประกอบจาก สสส.


คนยุโรป แอฟริกาเป็นโสดสูง กลุ่มลาตินอเมริกาและกลุ่มแคริบเบียนเลือกอยู่กันเองไม่สมรส thaihealth


179 ประเทศทั่วโลก คนยุโรป แอฟริกาเป็นโสดสูงกลุ่มลาตินอเมริกาและกลุ่มแคริบเบียนเลือกอยู่กันเองไม่สมรส


สสส.จัดการประชุมระดับชาติ สุขภาวะทางเพศครั้งที่ 3 เรื่องการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จากยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติที่ยั่งยืน ที่ รร.เซ็นทรา บาย เซ็นทารา ศูนย์ราชการฯ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) เปิดตัวเลขสุขภาวะทางเพศน่าสนใจ แนวโน้มคนยุโรป แอฟริกากลางเป็นโสดสูง ไม่มีกิจกรรมทางเพศ ในขณะที่กลุ่มลาตินอเมริกาและกลุ่มประเทศแคริบเบียนอยู่กินกันเองโดยไม่สมรสสูงอันดับหนึ่ง กลุ่มที่สมรสเปิดเผยในกลุ่มแอฟริกากลางและตะวันตก 179 ประเทศ เห็นพ้องรับแผนปฏิบัติการด้านประชากรและการพัฒนาใช้ทำงาน 20 ปีร่วมกัน


Dr.Josephine Sauvarin UNFPA Technical Advisor on Youth Development บรรยายพิเศษเรื่อง Healthy Sexuality:Reproductive Health for All from ICPD to SDGs  สุขภาพทางเพศที่ดีของวัยรุ่น สุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์เพื่อทุกคนจาก ICPD สู่ SDGs เพศวิถีของวัยรุ่น ความซับซ้อนของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ยุทธวิธีการทำงาน หรือเพศวิถีรอบด้าน งานที่รวบรวมข้อมูลจาก UNICEF UNESCO UNFPA ICPD25


Dr.Josephine Sauvarin กล่าวว่า ในการประชุมนานาชาติเรื่องประชากรและการพัฒนา ณ กรุงไคโร พ.ศ.2537 ได้ข้อสรุปว่า 179 ประเทศเห็นพ้องต้องกันว่า เรื่องประชากรและการพัฒนามีความเชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ได้ ลงมติรับแผนปฏิบัติการด้านประชากรและการพัฒนาระยะเวลา 20 ปีร่วมกัน มีฉันทามติระดับโลกที่ให้ศักดิ์ศรีของแต่ละบุคคลและสิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงสิทธิ์ในการวางแผนครอบครัว สิทธิ์และสุขภาพอนามัยการเจริญพันธุ์ และความเท่าเทียมกันทางเพศเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา ครอบคลุมความยากจน โครงสร้างครอบครัว การเติบโตของประชากร ความเป็นเมือง การย้ายถิ่น ประชากรพื้นเมือง ประชาชนที่มีความพิการ เอชไอวี เอดส์ สิทธิ์การเจริญพันธุ์และอนามัยการเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น สร้างศักยภาพวัยรุ่นให้สามารถจัดการเพศวิถีของตัวเองได้ในเชิงบวกและมีความรับผิดชอบ


คนยุโรป แอฟริกาเป็นโสดสูง กลุ่มลาตินอเมริกาและกลุ่มแคริบเบียนเลือกอยู่กันเองไม่สมรส thaihealth


SDGs มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งเข้าถึงคนที่ถูกทิ้งไว้อยู่เบื้องหลังในสังคม แผนปฏิบัติการ ICPD 2014 นอกเหนือจากประสบการณ์การถูกเลือกปฏิบัติที่ผู้หญิงและเด็กผู้หญิงต้องประสบแล้ว ยังมีสิ่งที่ประชากรผู้พิการ ประชากรชนพื้นถิ่น ประชากรชนกลุ่มน้อยทางเชื้อชาติและชาติพันธุ์ กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศและอัตลักษณ์ทางเพศสภาพ คนพลัดถิ่น และชุมชนในชนบทและยากจนต้องเผชิญ คือความไม่เสมอภาคกันอย่างถาวร


สถานภาพสมรสและกิจกรรมทางเพศวิถีของวัยรุ่นหญิงอายุ 15-19 ปี คนที่ไม่สมรสและไม่มีกิจกรรมทางเพศในยุโรปและแอฟริกากลาง 89% เป็นอันดับ 1 อันดับ 2 คือเอเชียและแปซิฟิก 76% อันดับ 3 ข้อมูลจากทั่วโลก UNFPA แอฟริกาใต้และตะวันออก ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 74% อันดับ 4 ประเทศในแถบอาหรับ 73% ร้อยละของคนที่มีกิจกรรมทางเพศ แต่ไม่ได้สมรส อันดับ 1 ลาตินอเมริกาและและแคริบเบียน 11% อันดับ 2 แอฟริกากลางและตะวันตก 7% อันดับ 3 แอฟริกาใต้และตะวันออก 5% อันดับ 4 ข้อมูลทั่วโลกจาก UNFPA 3% อันดับ 5 เอเชียและแปซิฟิก 0.2% ร้อยละของคนที่สมรสหรืออยู่กินด้วยกัน อันดับ 1 แอฟริกากลางและตะวันตก 29% อันดับ 2 ประเทศในแถบอาหรับ 27% อันดับ 3 เอเชียและแปซิฟิก 24% อันดับ 4 ข้อมูลทั่วโลกจาก UNFPA 23% อันดับ 5 แอฟริกาใต้และตะวันออก 20% อันดับ 6 ลาติน อเมริกาและแคริบเบียน 15% อันดับ 7 ยุโรปและแอฟริกากลาง 7%


เพศวิถีของวัยรุ่น ทัศนคติที่เปลี่ยนไปในเรื่องเพศวิถี การแต่งงานเมื่ออายุมากในบริบทการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน สองมาตรฐานเรื่องเพศวิถีระหว่างวัยรุ่นชาย-วัยรุ่นหญิง และบรรทัดฐานเรื่องเพศ กฎหมายและบรรทัดฐานเรื่องเพศจำกัดวัยรุ่น โดยเฉพาะวัยรุ่นหญิงในการเข้าถึงและการใช้การคุมกำเนิดได้อย่างเหมาะสม Peer pressure แรงกดดันจากเพื่อน เพราะต้องการเป็นส่วนหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้เกิดการเป็นเมืองที่มากขึ้น  สื่อและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว


แนวโน้มของอัตราการคลอดในวัยรุ่น อัตราการคลอดในวัยรุ่น 2560 ทั้งโลกประชากรหญิง 15-19 ปี 50:1000 คน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 47:1000 คน เอเชียใต้ 35:1000 คน เอเชียตะวันออก 7:1000 ความต้องการที่ไม่ได้รับการตอบสนองด้านการคุมกำเนิดในเอเชียและแปซิฟิก วัยรุ่นหญิง 15-19 ปี จำนวน 7.6 ล้านคน ไม่ได้รับการตอบสนองตามความต้องการคุมกำเนิดด้วยวิธีสมัยใหม่  ในจำนวนนั้นร้อยละ 24 เป็นวัยรุ่นหญิง 15-19 ปีที่แต่งงานแล้ว ร้อยละ 50 เป็นวัยรุ่นหญิง (15-19 ปี) ที่มีกิจกรรมที่เกี่ยวกับทางเพศและยังไม่แต่งงาน ไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการคุมกำเนิด (เป็นภูมิภาคที่สูงที่สุด) ร้อยละ 43 ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ มีการยุติการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยในผู้หญิง 15-24 ปีจำนวน 3.6 ล้านครั้ง


ข้อที่น่าสังเกตอัตราการสมรส/อยู่กันฉันสามีภริยาในเด็กในเอเชีย-แปซิฟิก ร้อยละของผู้หญิงอายุ 20-24 ปีที่เคยสมรสหรืออยู่กินฉันสามีภรรยาก่อนอายุ 15 และ 18 ปี มีดังนี้ประเทศบังกลาเทศเป็นอันดับ 1 ประเทศเนปาลอันดับ 2 ลาวและอัฟกานิสถานอันดับ 3 อินเดียอันดับ 4 มาร์แชล ภูฏานอันดับ 5 ไทยอันดับ 6 ส่วนอันดับสุดท้ายคือมัลดีฟส์ ฯลฯ


คนยุโรป แอฟริกาเป็นโสดสูง กลุ่มลาตินอเมริกาและกลุ่มแคริบเบียนเลือกอยู่กันเองไม่สมรส thaihealth


การมีเพศสัมพันธ์อันเนื่องมาจากความไม่เสมอภาคกันทางเพศและอำนาจและลักษณะของการยินยอม ความรุนแรงทางเพศ ความพร้อมทางกายภาพเกี่ยวกับเรื่องเพศ เกิดการมีเพศสัมพันธ์ มีการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การสมรส/การอยู่กินตั้งแต่อายุน้อย มีแรงกดดันทางสังคมวัฒนธรรมให้สมรสเมื่อมีอายุน้อย ทัศนคติของชุมชนเกี่ยวกับเพศก่อนการสมรสและแม่ที่ยังไม่ได้สมรส


ข้อมูลเชิงยุทธศาสตร์เรื่องเพศและการตั้งครรภ์ การแต่งงานแบบคลุมถุงชน มีการตั้งครรภ์ที่วางแผนและไม่วางแผน การสมรส/อยู่ร่วมกันจากแรงกดดันในหมู่เพื่อน การแต่งงานจากการตั้งครรภ์ก่อนการสมรส การตั้งครรภ์ที่วางแผนไม่ได้วางแผน กรณีที่ไม่ได้สมรส เพศสัมพันธ์ที่ถูกบังคับ/ไม่ได้วางแผนหรือวางแผนไว้ การตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผน


วิธีการที่อยู่บนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน กำหนดอายุที่ยินยอมเกี่ยวกับเรื่องเพศ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำให้วัยรุ่นที่มีอายุใกล้เคียงกันกระทำอาชญากรรมจากกิจกรรมทางเพศที่ได้รับการยินยอมและที่ไม่ใช่การแสวงประโยชน์ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก กำจัดการตีตราเพศวิถีเพศเดียวกันว่าเป็นอาชญากรรม ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับบริการด้านสุขภาวะทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ แต่ว่าบริการดังกล่าวจะต้องเป็นบริการที่มีคุณภาพ หาง่ายมีอยู่ทั่วไป  เข้าถึงได้ เป็นที่ยอมรับได้ของคนทุกกลุ่ม ขณะนี้ประเทศไทยมี พ.ร.บ.การป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (2559) เน้นสิทธิ์ของวัยรุ่น และการบูรณาการในการดำเนินงาน 5 กระทรวงบูรณาการทำงานด้วยกัน วัยรุ่นมีสิทธิ์ตัดสินใจด้วยตนเอง และมีสิทธิ์ได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ ได้รับการบริการอนามัยการเจริญพันธุ์ ได้รับการรักษาความลับและความเป็นส่วนตัว ได้รับการจัดสวัสดิการสังคมอย่างเสมอภาคและไม่ถูกเลือกปฏิบัติ และได้รับสิทธิ์อื่นใดที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ คณะกรรมการระดับสูงเพื่อสนองนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทาง การปฏิรูปทางกฎหมาย และการจัดการกับข้อจำกัดในการดำเนินมาตรการ


หลักฐานการศึกษาเพศวิถีศึกษารอบด้าน ชะลอการเริ่มมีเพศสัมพันธ์ การใช้ถุงยางเพิ่มขึ้น มีการคุมกำเนิดเพิ่มขึ้น มีความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับเพศวิถี ความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ การติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ มีบรรทัดฐานเกี่ยวกับความเท่าเทียมทางเพศเพิ่มมากขึ้น ทัศนคติเกี่ยวกับสุขภาวะและพฤติกรรมทางเพศและอนามัยการเจริญพันธุ์ที่ดีขึ้น มีการสื่อสารกับพ่อแม่เกี่ยวกับเรื่องเพศและความสัมพันธ์ต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ป้องกันและลดความรุนแรงที่เกิดจากเพศสภาพ มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิ์ของแต่ละบุคคลภายใต้ความสัมพันธ์ทางเพศมากขึ้น CSE มีประสิทธิภาพในการป้องกันและลดการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจในบริบทต่างๆ

Shares:
QR Code :
QR Code