คนปลอดเหล้า ถนนปลอดภัย ชุมชนน่าอยู่

           จากผลสำรวจขององค์การอนามัยโลก เผยรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลก พ.ศ. 2556 พบว่า ประเทศไทยมีอัตราส่วน ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นที่ 3 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉลี่ยทุกๆ 1 ชั่วโมงมีคนเจ็บและเสียชีวิต 2 คน โดยพฤติกรรมอันดับหนึ่งมาจากเมาแล้วขับ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายที่สุด รองลงมาคือ ขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กำหนด'


คนปลอดเหล้า ถนนปลอดภัย ชุมชนน่าอยู่ thaihealth


          จากสถานการณ์ดังกล่าว เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงจัดเวทีบรรยายเรื่อง "คนปลอดเหล้า ถนนปลอดภัย" เพื่อให้ชุมชนตระหนักถึงการขับขี่รถ ปลอดภัยขึ้นในงาน "เวทีฟื้นพลังชุมชนท้องถิ่นสู่การอภิวัฒน์ประเทศไทยครั้งที่ 5 ประจำปี 2558" ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุม ไบเทค บางนา


          นพ.วิทยา ชาติบัญชาชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านป้องกันอุบัติเหตุ แนะนำวิธีการที่ชุมชนสามารถนำไปปฏิบัติ เพื่อช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนว่า


    คนปลอดเหล้า ถนนปลอดภัย ชุมชนน่าอยู่ thaihealth      "ในปี พ.ศ. 2554-2563 ทางองค์การอนามัยโลกมีนโยบายเรื่องถนนปลอดภัย สสส.จึงสนับสนุนจังหวัดพื้นที่นำร่อง ร่วมมือกับภาคีเครือข่ายรณรงค์เรื่องขับขี่ปลอดภัย และเรื่องเมาไม่ขับ โดยชู 'ยุทธวิธี 5ช + 5ส. ประกอบด้วย 1) ชงข้อมูล คือการรวบรวมและจัดเตรียมข้อมูลที่สำคัญเข้าสู่กระบวนการพิจารณา 2) ชักชวน/ เชื่อม คือการออกไปค้นหาภาคี คนทำงานที่เกี่ยวข้อง 3) ชื่นชมเชียร์ และ จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้คนทำงาน 4) ช้อนแผนงาน โครงการที่ภาคีเข้ามาร่วมผลักดันและ 5) เช็ค โดยมีระบบติดตามกำกับ สำหรับบทเรียนเคลื่อนงานชุมชนปลอดภัยด้วย 5 ส ประกอบด้วย 1) สารสนเทศ 2) สุดเสี่ยง ระบุปัญหาที่สำคัญ3) สหสาขาวิชาชีพ 4) สุดคุ้ม เลือกมาตรการดำเนินงานที่คุ้มค่าและเป็นไปได้ 5) ส่วนร่วม ชุมชนและภาคีได้เข้ามามีส่วนร่วมทุกกระบวนการทำงาน"


          นพ.วิทยาบอกเพิ่มว่า ในส่วนของบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มาตรการองค์กรเพื่อการป้องกันอุบัติเหตุ มีความสำคัญยิ่ง ดังนี้ 1) ตัวเราเองต้องเป็นแบบอย่าง 2) ชวนคนในครอบครัวมาร่วมทำให้เกิดความปลอดภัยบน ท้องถนน 3) ชวนบุคคลในสถานประกอบการของเรามาร่วมทำให้ถนนปลอดภัย4) ออกระเบียบปฏิบัติภายในพื้นที่ของเรา 5) เข้าร่วมรณรงค์ป้องกันอุบัติเหตุของจังหวัด และจัดให้มีมาตรการองค์กรเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนที่ต้องบังคับใช้ คือ 1) ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล ขี่มอเตอร์ไซค์ต้องเปิดไฟ ใส่หมวก 2) เมาไม่ขับ 3) ไม่ขับเร็ว 4) คาดเข็มขัดนิรภัย 5) ง่วงไม่ขับ 6) ปฏิบัติตาม กฎจราจรอย่างเคร่งครัด 7) เดินทางเป็นหมู่คณะ  ไม่ใช้รถสองชั้น 8) ติดตั้งเข็มขัดนิรภัยในรถตู้ของสถานประกอบการ"


          ด้าน ผศ.ดร.วิชุดา เสถียรนาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า อุบัติเหตุไม่ใช่เรื่องของโชคชะตา แต่สามารถอธิบายและป้องกันได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ย่อมมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด เช่น เมาแล้วขับ ขับรถเร็วคนปลอดเหล้า ถนนปลอดภัย ชุมชนน่าอยู่ thaihealthเกินกว่าอัตราที่กำหนด ถนนลื่น หรือไม่ชำนาญ ฯลฯ


          "ปัจจัยดังกล่าวนั้น ชุมชนท้องถิ่นสามารถกำหนดมาตรการด้านวิศวกรรมจราจรได้ คือ 1) ควบคุมทางลัดผ่าน จัดเวรยาม ติดตั้งไฟกระพริบ 2) ตัดกิ่งไม้ริมถนน 3) ติดตั้งไฟตรงทางแยก 4) ทำรั้วตรงทางโค้งเกาะกลางถนน 5) จัดสายตรวจ 6) คอยควบคุมรถบรรทุกสินค้า ส่วนการควบคุมความเร็วรถอย่างสมเหตุสมผลอย่างเช่น ขับรถตามความเร็วที่กำหนดตามรูปแบบของถนน ประเภทรถ และพื้นที่ ทำให้ผู้ขับขี่มีระยะรับรู้  และระยะการตัดสินใจเพิ่มมากขึ้น"ผศ.ดร.วิชุดา  กล่าว


          สมหมาย จินจัน เหยื่ออุบัติเหตุเมาแล้วขับ เล่าถึงเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า โดนกลุ่มเด็กวัยรุ่นที่เมาแล้วขี่รถจักรยานยนต์มาชนในช่วงกลางดึก ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ตนส่งผู้โดยสารเสร็จ เหตุการณ์นี้ทำให้ร่างกายถูกกระทบกระเทือน  ขาหัก และฟันร่วงเกือบหมดทั้งปาก โดนเย็บแผลเป็นเวลาเกือบสองเดือนไม่สามารถขับขี่รถจักรยานยนต์เพื่อประกอบอาชีพได้หลังจากหายเป็นปกติแล้ว จึงเป็นวินมอเตอร์ไซต์อาสาช่วยรณรงค์ลดอุบัติเหตุ เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการเมาแล้วขับให้แก่เยาวชน


          "อุบัติเหตุครั้งนั้นทำให้เจ็บทั้งร่างกาย และไม่สามารถทำงานได้ จากการเมาแล้วขับของกลุ่ม วัยรุ่นการกินเหล้านั้นทำให้เสียสุขภาพ และ ยังทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนอีกด้วย" สมหมายทิ้งท้าย


 


 


          ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด

Shares:
QR Code :
QR Code